เดือนเมษายน ปีงบประมาณ 2564
| 151 |
|
| 131 |
|
| 20 |
|
| 1. กรมอนามัย มอบหมายให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) เป้าหมายร้อยละ 75 โดยสามารถพิจารณาปรับเพิ่มลดเป้าหมายได้ตามความเหมาะสมและภารกิจจำเป็นเร่งด่วนของหน่วยงาน ทั้งนี้ ให้ทุกหน่วยงานส่งรายงานผลการดำเนินการตามมาตรการข้างต้นให้กับกองการเจ้าหน้าที่ เพื่อเก็บรวบรวมและติดตามตรวจสอบ ผลการดำเนินของแต่ละหน่วยงานต่อไป | ทุกหน่วยงาน กองการเจ้าหน้าที่ | |
| |
2. จากการนำเสนออนามัยโพล มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 2.1 วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้สึกไม่ต้องการฉีดวัคซีนและเหตุผลที่ตัดสินใจฉีดในประชาชนกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อนำมา สื่อสาร สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) กระตุ้นให้ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น 2.2 สัมมนาวิชาการเพื่อถอดบทเรียนปัจจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโรคโควิด 19 ในประชาชนกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร่วมกับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการประชุมออนไลน์ | สำนักอนามัยผู้สูงอายุ/ ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | |
| ||
3. จากการนำเสนอรูปแบบการจัดการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพใน Cohort Ward ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี มีมติการประชุม ดังนี้ 3.1 ควรส่งเสริม Health Promotion ให้เกิดเป็นความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยอาจใช้แบบทำให้กลัว การได้ประโยชน์ จัดกิจกรรมกลุ่มสร้างสัมพันธ์ในแต่ละรุ่นเนื่องจากอยู่รวมกันนาน 14 วัน และมีกิจกรรมลดความเครียดด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ นอกจากนี้ส่งเสริมให้มีการใช้แอปพลิเคชันก้าวท้าใจ เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) 3.2 จากปัญหาเจ้าหน้าที่มีภาระงานในการดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก ควรจัดกิจกรรมสร้างกลุ่มผู้ติดเชื้อเป็นจิตอาสาร่วมทำงานใน Cohort Ward | คลัสเตอร์วัยทำงาน กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง | |
| ||
4. จัดทำข้อเสนอในการยกระดับมาตรการสำหรับร้านอาหารตามระดับพื้นที่สถานการณ์ โดยแยกเป็นจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุมตามลำดับ ทั้งนี้ให้พิจารณา 2 ประเด็นคือ 1)ร้านอาหารใน 6 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดไม่ให้ทานที่ร้าน จะทำอย่างไร 2.)ร้านอาหารที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุมตามลำดับ ถ้าสถานการณ์ไม่ดีขึ้นจะเสนอมาตรการอย่างไร ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นจะเสนอมาตรการอะไร ให้เสนอในการประชุมคลัสเตอร์อนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณา ก่อนเสนอต่อศูนย์บริการสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) ต่อไป | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | |
| ||
| 1.สรุปสถานการณ์โควิด 19 จาก PHEOC กระทรวงสาธารณสข - ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อมูลสถานการณ์ระบาดฯ ของ PHEOC กระทรวงสาธารณสุข. ในประเด็นการติดเชื้อใน Setting ต่างๆ ว่าเกิดจากปัจจัยการให้บริการของ Setting จริงหรือไม่ หรือเกิดจากการติดต่อระหว่างพนักงานด้วยกันเอง จึงมีข้อสั่งการดังนี้ - วิเคราะห์ปัจจัยการระบาดในเชิงการจัดการ การประเมินความเสี่ยงทั้งคนและสถานที่ และการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังของ Setting ตลาด/ร้านอาหาร และให้นำเสนอ Setting ตลาด/ร้านอาหาร แผงลอย ขยะติดเชื้อ ใน EOC กระทรวงสาธารณสุขและ ศบค.เล็กต่อไป | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | | รับทราบ ดำเนินการวิเคราะห์และจัดทำมาตรการเรียบร้อยแล้ว โดยรายงานที่ประชุม EOC กรมอนามัย เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 64 | |
2. ข้อสั่งจากการประชุม PHEOC กสธ. -ตามที่กรมอนามัยได้นำเสนอการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในที่ประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุข มีมติให้กรมอนามัยดำเนินการทบทวนข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับนิยามของขยะติดเชื้อใหม่อีกครั้งนั้น ที่ประชุมEOC กรมอนามัยขอให้ทำหน้าที่เสนอมาตรการป้องกันที่เข้มข้น ส่วนการตัดสินใจว่าจะลดความเข้มข้นลงหรือไม่ เป็นหน้าที่ของ PHEOC สาธารณสุข | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม | | | รับทราบข้อสั่งการ | |
3. Anamai poll มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 3.1 จากการนำเสนอ Anamai Poll ขอให้พิจารณา ดังนี้ 1) การทดสอบว่าจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส ทำอย่างไร? 2) สัดส่วนการใช้ Application ประเมินความเสี่ยงมีน้อย แสดงให้เห็นว่าคนยังเข้าไม่ถึง Application ของกรมอนามัย 3) นำผลมาขยายความเพื่อสื่อสาร Thai Save Thai ประชาสัมพันธ์และสำรวจต่อเนื่องในประเด็นที่น่าสนใจ 3.2 สำหรับเรื่องที่ชุมชนแออัด คนไม่สามารถเว้นระยะได้ ควรเน้นการประเมินตนเอง กรมควรลงไปประเมินในพื้นที่ต้องใช้ Event เป็นตัวขยายผล สื่อสารโดยใช้ประเด็นนำและ Product ตาม การสื่อสารใช้วิธีแบบ Marketing และขอให้มีการติดตามประเมินผลประมาณ 1 เดือน | นพ.บัญชา รองอธิบดี/สำนักส่งเสริมสุขภาพ/สำนักสื่อสารสาธารณะ/HL/ คณะอนามัยโพล | | |
1) สำนักส่งเสริมฯ อยู่ระหว่างดำเนินการตามข้อสั่งการ
2) ศูนย์สื่อสารฯดำเนินการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว | |
4. รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน Thai Stop Covid มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 4.1 ควรวิเคราะห์เพิ่มถึงผลลัพธ์ โดย Matching ผลผลิตเข้ากับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้มี Confounding สามารถไปชี้นำใน ศบค. ชุดเล็กได้ 4..2 ช่วงโควิดถือเป็นโอกาสที่กรมอนามัย จะไปสื่อสารให้ผู้ที่ยังไม่ลงทะเบียนในระบบต่างๆ ได้เร่งดำเนินการมาลงทะเบียน โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย 4.3 Setting ที่มีโครงสร้างแน่นอนและมีพรบ.สาธารณสุขฯ ควบคุม เช่น ตลาด ร้านอาหาร ควรมีข้อมูลลงใน Thai Stop Covid Plus ได้ครบทั้งประเทศ 4.4 ครั้งต่อไปควรพิจารณาวิเคราะห์แยกราย Setting โดยสำนัก/กอง ศูนย์อนามัยร่วมรับผิดชอบ และคืนข้อมูลไปที่ DASH Broad | ทีม Thai Stop Service สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ทีม Thai Stop Service | | |
อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวม หน่วยงานรับทราบ | |
4.5 ขอให้นำเรื่อง ตลาด มาพิจารณาเสนอในที่ประชุม EOC กรมอนามัย ในวันที่ 30 เมษายน 2564 | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | | |
| |
5. รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานทีม Operation - จากการเตรียมความพร้อมของศูนย์แรกรับและส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ณ อาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร.นั้น จึงขอให้ทำ mapping ผังเส้นทาง และหารือรายละเอียดนอกรอบ แล้วนำมาเสนอในที่ประชุม EOC กรมอีกครั้ง | สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม | | | หน่วยงานรับทราบ | |
6. มาตรการความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมอนามัย ในสถานการณ์ COVID-19 มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 6.1 ขอให้จัดทำแผนกรณีบุคลากรกรมอนามัยติดเชื้อว่าควรมี 2 แผน คือ 1) แผน A ดูแลให้ทุกคนที่ติดเชื้อได้อยู่ในระบบจัดการเตียงของ กสธ. และ แผน B คือไม่สามารถหาเตียงได้ ให้วางแผนเรื่องจัดระบบส่งต่อคนของกรม อ. ได้เข้าไปสถานบริการในจังหวัดใกล้เคียง 6.2 นำรายละเอียดของบุคลากรกรมอนามัย 2 ราย ที่ติดเชื้อจากที่ทำงานสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง มาวิเคราะห์ข้อมูลให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการมาตรการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น |
กองการเจ้าหน้าที่ นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ / สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง | | รับทราบ ดำเนินการแล้ว | ||
7. แนวปฏิบัติประชาชนในการสวมหน้ากากอนามัย / หน้ากากผ้า มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 7.1 ขอให้แก้ไขข้อความ “เมื่ออยู่ในบ้านกับผู้ป่วยโควิด-19” โดยขยายความให้เข้าใจว่าเป็นผู้ป่วยระหว่างรอเตียงหรือรอไปสถานพยาบาล ส่วนข้อความ “สัมผัสใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง” ให้ขยายความเพิ่มว่าคนที่ไปสัมผัสใกล้ชิดกับคนติดเชื้อ ไปยังสถานที่เสี่ยง ณ เวลาที่มีผู้ติดเชื้อ 7.2 ให้ข้อเสนอแนะเรื่องการจัดทำ Infographic สื่อสารเรื่องการสวมหน้ากาก ควรจัดทำเป็นชุด (Serie) เพื่อย่อยเนื้อหาไม่ให้แน่นเกินไปใน 1 แผ่น เช่น อยู่ในร้านอาหาร อยู่ในสวนสาธารณะ 7.3 จัดทำข้อมูลนำเสนอ PHEOC กระทรวงสาธารณสุข. ในวันจันทร์ที่ 3 พ.ค. 64 มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ปรับ Power point สั้นกระชับ สมบูรณ์ เสนอมุมมองบริหาร 2) ร่างคำแนะนำ และ Q&A ที่พร้อมปรับตามคำแนะนำของ PHEOC กระทรวงสาธารณสุข. 3) ร่าง Infographic แบบชุด ทยอยส่งเข้าไลน์ผู้บริหารในวันเสาร์และวันอาทิตย์ 7.4 HL ต้องออกคำแนะนำในครอบครัว ส่งเสริมมาตรการองค์กรรอบรู้ ( HL Organize ) | กองประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพ, ศูนย์สื่อสารสาธารณะ/HL | | | 1) กองประเมินฯ อยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขตามข้อแนะนำ 2) ศูนย์สื่อสารฯรับทราบข้อมูลและอยู่ระหว่างดำเนินการ | |
8. ข้อเสนอการบริหารงาน EOC กรมอนามัย มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 8.1 ให้ข้อเสนอแนะว่า Response Time คือเวลาในการตอบสนองและส่งงานกลับคืน ไม่ใช่แค่รับทราบ และควรจัดลำดับเวลาของความเร่งด่วน เช่น เร่งด่วนมาก : ภายในไม่กี่ ชม. , เร่งด่วน : ภายใน 1-2 วัน และ ไม่เร่งด่วน : 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ อาจเลือกบางประเด็นของ Response Time มาเขียนแยก Flow ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 8.2ปรับแก้ Flow EOC กรม และนำเสนอในวันที่ 30 เม.ย. หรือ 1 พ.ค. 64 | ทีม STAG กองแผนงาน | | | รับทราบ ดำเนินการตามข้อสั่งการ | |
9. เรื่องอื่นๆ : โครงการยกระดับหน่วยบริการฯ (งบเงินกู้) 146.831 ล้านบาท โดยมีข้อสั่งการกรมอนามัย ดังนี้ 1) หน่วยงานที่ของบประมาณจำนวนมาก ต้องจัดทำข้อมูลประกอบการ Defend ด้วย 2) ทบทวนคำขอจัดซื้อรถ Ambulance ให้กับ ศอ. รวมทั้งสิ้น 7 คัน (ศอ. 1, 3, 4, 7, 9, 11 และ 12) | หน่วยงานที่ของบเงินกู้ กองแผนงาน | | หน่วยงานรับทราบ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 64 | ||
| 1.สรุปข้อสั่งการจากประชุม EOC กรมอนามัย ในประเด็นสำคัญ เช่น ให้กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพหารือดำเนินการกำหนดมาตรการการสวมหน้ากากอนามัย | รับทราบ | | | รับทราบ |
2.สรุปสถานการณ์โควิด 19 จาก PHEOC กระทรวง จำนวนผู้ป่วยวันนี้ 2,012 ราย และมีข้อสั่งการจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้ - ให้จัดประชุมเพื่อเร่งสร้างความร่วมมือและวางแผนการฉีดวัคซีนให้ประชาชนตามเป้าหมายที่กำหนดตามความต้องการ ครอบคลุมทุก Setting และ Area - ให้กรมอนามัยเร่งจัดทำข้อกำหนดมาตรการการสวมหน้ากากอนามัย | รับทราบ | | | รับทราบ | |
3.1 ผลสำรวจ “ช่องทางที่ได้รับสื่อความรู้และความพึงพอใจของประชาชนต่อสื่อความรู้ของกรมอนามัยต่อการป้องกันโรค COVID – 19” (17 – 27 เม.ย.64) จากผู้ตอบ 5,000 คน พบว่า ประชาชนได้สื่อความรู้ของกรมอนามัยในการป้องกันโรค COVID – 19 จากสื่อ Infographic ผ่าน Line / Facebook มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 20.6% ลองลงมา ได้แก่ อสม. และบุคลากรทางการแพทย์ และที่น้อยที่สุดคือ สื่อโปสเตอร์ และมีความพึงพอใจต่อสื่อความรู้นั้น มากที่สุด ร้อยละ 49% ลองลงมา พึงพอใจมากร้อยละ 39% และพึงพอใจน้อยที่สุด ร้อยละ 0.3% ดังนั้น ที่ประชุมเห็นควรให้วิเคราะห์แยกประเภทสื่อให้ชัดมากขึ้นด้วย และเสนอให้มีการสื่อสารความรู้ของกรมอนามัยผ่านช่องทางสื่อที่ประชาชนเข้าถึงมากที่สุดและพึงพอใจมากที่สุด และศูนย์สื่อสารสาธารณะจะต้องนำไปวางแผนการสื่อสาร 3.2 ตรวจจับประเด็น COVID – 19 (IWD) พบว่า วัดปฏิเสธการรับศพผู้ติดเชื้อ COVID – 19 ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เร่งสร้างความเข้าใจและไม่ให้ปฏิเสธการประกอบพิธีทางศาสนา แต่ให้ระมัดระวังเป็นกรณีพิเศษและปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | | | ศส.ดำเนินการให้มีการสื่อสารความรู้ของกรมอนามัยผ่านช่องทางสื่อที่ประชาชนเข้าถึงมากที่สุด และพึงพอใจมากที่สุด พร้อมทั้งนำไปวางแผนการสื่อสาร | |
4. ถอดบทเรียนการเยี่ยมชมโรงพยาบาลสนามในเขตกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตบางแค และโรงพยาบาลสนามกองทัพอากาศ เขตดอนเมือง ทั้ง 2 แห่ง มีความพร้อมในการรองรับผู้ป่วยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการจัดระบบการดูแลรักษา บริการ ความสะอาด อาหาร การกำจัดขยะและน้ำเสีย เป็นอย่างดี และยังมีการสอดแทรกมาตรการ 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ควบคู่กับการดูแลสุขภาพจิตของกรมสุขภาพ ในการลงพื้นที่โรงพยาบาลสนามดังกล่าวด้วย โรงพยาบาลสนามในเขตสุขภาพที่ 1 มีโรงพยาบาลสนาม 12 แห่ง เขตสุขภาพที่ 4 มีโรงพยาบาลสนาม 9 แห่ง เขตสุขภาพที่ 6 มีโรงพยาบาลสนาม 16 แห่ง และมีการเตรียมความพร้อมร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ และมีข้อเสนอให้จัดหาชุดตรวจภาคสนามอย่างง่าย (Package) ที่สามารถตรวจหาเชื้อ COVID – 19 และอื่นๆ ได้ด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้จัดทำเป็นตารางกิจกรรมประจำวันให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม ส่วนชุดตรวจภาคสนามให้ใช้งบลงทุนเหลือจ่ายโดยให้สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมดำเนินการร่วมกับศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย และให้รายงานความก้าวหน้าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง | สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ สำนักโภชนาการ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย เขตสุขภาพที่ 1, 4, 6 | | | ได้มีการดำเนินการลงพื้นที่ รพ.สนาม (สนามกีฬาศุภชลาสัย) ในวันที่ 29 เมษายน 2564 | |
5. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมนำเสนอ การขับเคลื่อนเพื่อยกระดับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19 เพื่อนำเข้าเป็นวาระการประชุมสรุปการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ณ กระทรวงสาธารณสุข ประจำวันที่ 29 เมษายน 2564 ซึ่งที่ประชุมมีการอภิปรายรูปแบบ เนื้อหา การลำดับเนื้อหา และวิธีการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวให้ประธานหรือที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอของกรมอนามัย และให้นำ PPT กลับไปปรับปรุงใหม่อีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งให้หาข้อมูลตัวเลขขยะติดเชื้อรายวัน ที่สอดคล้องกับการผลิตหน้ากากอนามัย | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม | | | | |
| 1. มอบทีมวิชาการโดยกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและทีมหารือและร่วมดำเนินการประเด็นการสวมหน้ากาก การยกระดับบังคับใช้โดยกฎหมาย | กองประเมินฯ และ ทีมวิชาการ | | | |
2. มอบทีมอนามัยโพลเพิ่มข้อคำถามประเด็นพฤติกรรมการป้องกันโรคในครอบครัว และหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ ผู้เชี่ยวชาญในการร่วมจัดทำคำถามในอนามัยโพล | ทีมอนามัยโพล | | | | |
3. มาตรการป้องกันความเสี่ยงและลดผลกระทบทางสุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะโรคอ้วน 3.1 ศึกษาการนำไป implement ให้ขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำเป็น Model ที่พร้อม implement 3.2 ศึกษาวิธีการทำให้ปอดทำงานมีประสิทธิภาพ อาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและการพักผ่อนนอนหลับที่ดี 3.3 การทำ protocol สำหรับประชาชน ต้องเป็น Massage ง่าย มีประสิทธิภาพ ต้องสกัดความรู้ออกมาให้ได้ เหมือนตอนที่กรมทำเรื่องหน้ากากผ้า | สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักโภชนาการ กองกิจกรรมทางกายฯ | | | | |
4. มาตรการป้องกันความเสี่ยงและลดผลกระทบทางสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ 4.1 จัดการระบบสื่อสารถึง CM,CG ให้ได้ทันท่วงที โดยเฉพาะประเด็นการป้องกันคนติดบ้าน ติดเตียงไม่ให้ติดเชื้อ 4.2 ควรมีการสืบสวน วิเคราะห์ ว่าคนติดบ้าน ติดเตียง ที่เสียชีวิต เพราะติดมาจากญาติมาเยี่ยม หรือ มีญาติเป็น CM/CG หรือไม่ ลูกหลานที่ดูแลแต่ไม่ได้ผ่านการอบรมเป็นเหตุให้ติดเชื้อหรือไม่ 4.3 รวบรวมข้อมูลการประเมินความเสี่ยง และข้อมูลจำนวน CM,CG ที่ติดเชื้อ และอัตราการติดเชื้อ 4.4 ชี้แจงในการประชุมทางไกลกับส่วนภูมิภาค ในวันที่5 พ.ค. นี้ด้วย รวมถึงมาตรการกำกับติดตาม | สำนักอนามัยผู้สูงอายุ | | | ||
5. ศูนย์อนามัยตรวจสอบ รวบรวมข้อมูลจำนวนและระดับ capacity รพ.สนามในพื้นที่ จัดทำรายละเอียดสิ่งของที่ต้องการสนับสนุน ประสานทางสอน. และทีม Logistic รวบรวม | ศูนย์อนามัย | | | | |
| 1.สรุปข้อสั่งการ PHEOC กระทรวงฯ จากประเด็นการกระจายกลุ่มก้อนการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่พบใหม่จาก Cluster งานบวช จึงต้องมีการเน้นย้ำมาตรการหรือข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และเน้นย้ำมาตรการเรื่อการจัดงานศพ สำหรับผู้ป่วย/ติดเชื้อตายกับการติดเชื้อธรรมดา โดยเชิญสำนักพระพุทธศาสนาหรือภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาหารือมาตรการหรือแนวทางดังกล่าว | สำนักอนามัยผู้สูงอายุ | | | รับทราบ และอยู่ระหว่างประสานการจัดประชุม สำนักพุทธศาสนาและกรมการศาสนา พร้อมมีข้อมูลการดำเนินการร่วมกับเครือข่าย |
2.จากผลสำรวจ Anamai Poll ประเด็น “ความกังวลของประชาชนต่อการติดเชื้อโควิด 19 ในครอบครัว” (22 – 26 เม.ย.64) มีข้อเสนอ ดังนี้ - เสนอให้มีการสื่อสารเรื่องการป้องกันการติดเชื้อในครอบครัว โดยเฉพาะการดูแลและป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มเสี่ยงที่หากมีการติดเชื้ออาจเกิดอาการรุนแรง เช่น ผู้มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ เป็นต้น รวมทั้งจัดทำ Key message คำแนะนำการดูแลสุขภาพในช่วงสถานการณ์โควิด สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงของตนเองผ่าน platform Thai Save Thai | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ/HL สำนักอนามัยผู้สูงอายุ | | | รับทราบ ได้ประสานงานกับ ศอ. ทุกแห่ง เรียบร้อยแล้ว | |
3.แผนปฏิบัติการและการดำเนินงานในรพ.สนาม ณ อินดอร์สเตเดี้ยม และ รพ.สนามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีข้อสั่งการดังนี้ 3.1จัดทำแผนปฏิบัติการในการสนับสนุนสุขาภิบาลอนามัยสิ่งแวดล้อมจัดทำเป็นปฏิทิน สอน. กับ สสม. ร่วมทีม Operation เพื่อจัดทำและการตรวจแผนปฏิบัติการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม และมูลฝอยติดเชื้อ 3.2ประสานกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ในการดูโครงสร้างระบบ Airflow ระบบการส่งต่อ ของ รพ.สนาม และเน้นปฏิบัติตามแนวทาง 8 ด้าน เพื่อการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและถูกต้อง ดังนี้ 1) ด้านการจัดการอาคารสถานที่ 2) ด้านสุขาภิบาลอาหาร 3) ด้านการจัดการน้ำดื่มน้ำใช้ 4) ด้านสุขาภิบาลและความปลอดภัยในการซักฟอก 5) ด้านการจัดการส้วมและสิ่งปฏิกูล 6) ด้านการควบคุมสัตว์และแมลงพาหะนำโรค 7) ด้านการจัดการน้ำเสีย และ 8) ด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ | ทีม Operation/ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | | | 1) รพ. ณ อินดอร์สเตเดี้ยม ได้มีการลงสำรวจ ณ วันที่ 26 เม.ย. 64 ร่วมกับอธิบดีกรมพลศึกษาแล้ว 2) วันที่ 27 เม.ย. 64 เวลา 14.00 น. จะมีการประชุมเตรียมความพร้อม 4 กรม คือ กรมแพทย์/สบส./คร. และกรมอนามัย โดยมีท่านรองดนัย และ สว.เข้าร่วม ณ ศุภชลาศัย 3) สว. ได้จัดเตรียมทีมและแผนฯ รพ.สนาม ร่วมกับ สสม. แล้ว | |
3.3 ศูนย์อนามัยทุกแห่งต้องมีข้อมูลรพ.สนาม มีการตรวจสอบด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน | ศูนย์อนามัยทุกแห่ง /สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง | | | รับทราบและดำเนินการตาม ข้อสั่งการ | |
3.4 พัฒนารูปแบบมาตรการและและแนวทางปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มติดเชื้อที่ไม่มีอาการ | คลัสเตอร์วัยทำงาน | | | รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | |
3.5เสนอรูปแบบการสื่อสารเป็นรูปธรรมที่ปฏิบัติการจริงเกิดเป็นภาพลักษณ์ขององค์กร พร้อมแนบคำแนะนำหรือแนวทางปฏิบัติ ในการลงพื้นที่ปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ควรใส่ชุดฟอร์มเดียวกันเพื่อบันทึกภาพเผยแพร่เป็นภาพลักษณ์ของกรม | ศูนย์สื่อสารสาธารณะและ HL/ทีมOperation | | | รับทราบ ได้ประสานงานกับ ศอ. ทุกแห่ง เรียบร้อยแล้ว | |
4. ยกระดับการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 4.1 ข้อเสนอแนะ 3 ข้อ ดังนี้ (1) ให้ดำเนินงานโดยใช้ โควิดเป็นการExercise (2) ปรับ พัฒนาองค์กร การวางแผนบุคลากร พัฒนาระบบงาน ให้มีเข็มมุ่ง พัฒนาเครื่องมือมาใช้ในการประเมินและการคาดการณ์ (3) ประสานกองการเจ้าหน้าเพื่อหาตำแหน่งข้าราชการ พนักงานราชการที่ยังว่าง และต้องประสานกับภาคีเครือข่ายภายนอก มหาวิทยาลัย 4.2 เปิดโอกาสสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมพิจารณาตำแหน่งที่ขาดแคลนเช่นวิศวกร โดยหาตำแหน่งที่ว่าง 4.3 การเตรียมทีมปฏิบัติการ SEhRT ให้เป็นรูปธรรม โดยให้ปฏิบัติการเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและลงพื้นที่สอบสวนด้วยเพื่อ response ในการปฏิบัติร่วมกับทีมอื่นๆ | รองดนัย กองประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพ กองการเจ้าหน้าที่สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม/ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | | | รับทราบ ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ
รับทราบ ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ | |
5. วาระอื่น ๆ 5.1จากการรายงานการของบกลาง มีข้อเสนอแนะดังนี้ (1) วิเคราะห์การจัดทำโดยพิจารณาหลักการ 3 ประเด็น 1)การของบประมาณเผื่อสำหรับสำนักงบประมาณตัดหรือไม่ 2)จำนวนที่ขอไปเพียงพอหรือไม่ 3)การตรียมข้อมูลในการ Defend ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับกรมอื่น (2) งบการผลิตสื่อควรเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนและพิจารณาถึงความจำเป็นให้ชัดเจนโดยเขียนภายใต้กิจกรรมหลัก และเน้นให้ประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรง เพิ่มประเด็นการประเมินการรับรู้ของประชาชนโดยใช้อนามัยโพล 5.2ติดตามเรื่องที่ต้องเสนอในศบค.เล็ก มีประเด็นดังนี้ (1) มาตรการแนวทางการปฏิบัติตามกลุ่มวัยแต่ละ Setting (2) การรายงานผลการดำเนินงานตาม Thai Stop Covid (3) Anamai Poll นำเสนอ Poll ในประเด็นที่สำคัญและมีผลที่สำคัญ 5.3ประเด็นการประชุม EOC กระทรวง ด้านความรอบรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น รพ.สนาม สุขาภิบาลอาหารและน้ำ และอนามัยสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำปฏิทินการดำเนินงาน | ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง | | | ทุกหน่วยงานรับทราบ | |
| 1. ยุทธการครอบครัวไทยรู้สู้โควิด 1.1 เห็นชอบในหลักการ และมีข้อเสนอแนะ จำนวน 3 ข้อ ดังนี้ 1) บุคลากรสามารถ Rotation คนในกรมอนามัยทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และประสาน Out source ภาคีเครือข่ายมาร่วมงาน 2) เคลื่อนงานได้เลย โดยทีมงานหลักในการขับเคลื่อนงานต้องเป็นทีมเดียวกัน 3) งบประมาณ ให้สำนักส่งเสริมสุขภาพร่วมกับกองแผนงานในการดำเนินการของบกลาง 1.2) การดำเนินงานให้ปรับงบประมาณกิจกรรมในปัจจุบันแต่มีเป้าหมายในเรื่องของ COVID-19 การดำเนินงานให้เลือกประเด็นสำคัญตาม Priority จากการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยา | สำนักส่งเสริมสุขภาพ | | | |
2. คำแนะนำการปฏิบัติงาน WFH จากการนำเสนอมีข้อสั่งการและคำแนะนำ ดังนี้ 2.1 คำแนะนำทางวิชาการที่ออกมา ไม่มีข้อขัดข้อง 2.2 คำแนะนำทางวิชาการให้ดำเนินการ 2 ส่วน คือ 1) สื่อสารโดยมีเป้าประสงค์ให้คนนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน WFH แปลงคำให้ง่ายและดึงให้คนเข้าใจและนำไปปฏิบัติ 2) จัดทำคำแนะนำวิชาการแปลงให้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือเพื่อดำเนินกิจกรรม WFH ที่จะปฏิบัติตามวิถีชีวิตและคำแนะนำวิชาการ | สส.ศูนย์สื่อฯและ HL สส. กผ. TSC | | | | |
3. มาตรการในผู้สูงอายุ จากการนำเสนอมีข้อสั่งการและคำแนะนำ ดังนี้ 3.1 ให้ประมวลและเรียบเรียงมาตรการและคำแนะนำที่กรมอนามัยเคยทำมาแล้วให้ตรงกับสถานการณ์ และเผยแพร่สู่เครือข่าย โดยระบบหนังสือราชการ ระบบdigital ระบบTeleconference 3.2 พิจารณาฐานข้อมูลของ Care Manager Care Giver พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของ Care Manager Care Giver จากสถานการณ์โควิด-19 3.3 ให้ขับเคลื่อนไปสู่ปฏิบัติการผ่านภาคีเครือข่ายมากกว่าผ่านจังหวัด ทั้งนี้ขอให้สำนักอนามัยผู้สูงอายุปรับแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจนแล้วมานำเสนอในที่ประชุม EOC กรมอนามัยในวันที่ 26 เมษายน 65 | รองอรรถพล สอส. | | | | |
4. มาตรการความเสี่ยงและลดผลกระทบโรคอ้วน สำนักโภชนาการและกองกิจกรรมทางกาย 4.1 การกำหนดเกณฑ์ระดับความอ้วนที่มีความเสี่ยงให้ชัดเจน โดย Reviews เอกสารวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ 4.2 กำหนดเป้าหมายคนอ้วน 3 กลุ่มคือ (1) คนอ้วนที่ติดเชื้ออยู่ในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม Hospitel (2) คนอ้วนที่เป็นกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่งอยู่ในสถานกักกัน (3) คนอ้วนที่อยู่ในสถานที่เสี่ยง พื้นที่เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง เมื่อแยกแล้วต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติที่มีความจำเพาะในแต่ละกลุ่ม 4.3 จัดหาบุคลากรกรมอนามัยที่เคยได้รับการอบรมนำมาช่วยในการ Reviews และประสานความร่วมมือราชวิทยาลัยอายุรศาสตร์ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วม | คลัสเตอร์วัยทำงาน /สำนักส่งเสริมสุขภาพ /กองกิจกรรมทางกาย /สำนักโภชนาการ | | | รับทราบดำเนินการ นำเสนอในที่ประชุม ในวันที่ 27 เม.ย. 2564 | |
5. อื่น ๆ 5.1 การประชุม EOC การมอบหมายประเด็นให้ใช้กลไกกลุ่มภารกิจ ให้รองอธิบดีและผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาก่อนนำเข้าที่ประชุมเพื่อให้กระชับตรงประเด็นและสามารถมอบหมายงานได้ง่าย และจัดการให้เวลาการประชุมกระชับ 5.2 ติดตามแผนของบกลางและแผนเงินกู้ให้ทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือกับกองแผนงาน | ทุกคลัสเตอร์ กองแผนงาน/ทุกหน่วยงาน | | | | |
| จากข้อสั่งการประชุม EOC กรมอนามามัย 23/4/64 1.1 ประชาสัมพันธ์การทำแบบสำรวจ Anamai Event Poll ในประเด็น “ความกังวลและความต้องการฉีดวัคซีนหลังจากเห็น/ได้ยินข่าวอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน" ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่กรมอนามัย 1.2 จัดระบบการตอบคำถามใน Anamai Poll อย่างเป็นระบบ โดยกำหนดเป้าหมายให้แต่ละศูนย์อนามัย ต้องมีผู้ตอบ อย่างน้อย จำนวน 1,000 คน กระจายตามจังหวัดในพื้นที่เขต | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ | | | 1.1 ได้มีการปชส.และรายงานแล้ว
|
2. วิเคราะห์ข้อมูลการระบาดใน setting ร้านอาหาร (ช่วงเดือนเมษายน) เพื่อหาความเสี่ยงและกำหนดมาตรการให้เหมาะสม พร้อมประสานหารือกับสมาคม/ชมรมผู้ประกอบการร้านอาหาร/ภัตตาคาร | สำนักสุขาภิบาลอาหาร และน้ำ | | รับทราบและดำเนินการ ตามข้อเสนอ | ||
3. ยุทธการครอบครัวไทยรอบรู้สู้โควิด 3.1 ทำรายละเอียดเพิ่มเติม ปรับการนำเสนอให้ simplify ชัดเจน ตรงประเด็นเพื่อสื่อสารให้หน่วยงานภายนอกได้เข้าใจง่ายขึ้น 3.2 วางแผนการดำเนินงานเป็นขั้นบันได ขับเคลื่อนการดำเนินงานได้เลย 3.3 ต้องมี Infrastructure รองรับจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ขอให้มีที่ปรึกษาร่วมพิจารณา และนำเสนอ OC เป็นวาระสืบเนื่อง | นพ.บัญชา ค้าของ สำนักส่งเสริมสุขภาพ | | | ||
4. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ขอให้ประชุมภายนอกเพื่อปรับภารกิจของการสร้างความรอบรู้ให้ชัดเจนแล้วนำเข้าที่ประชุม EOC ต่อไป | HL | | | ดำเนินการตามข้อเสนอ และจะรายงานที่ประชุมต่อไป | |
5. มอบสำนักส่งเสริมสุขภาพดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการเด็กปฐมวัย โดยพิจารณาข้อมูลในระยะ 1 ระยะ2 ระยะ 3 ให้ชัดเจน การนำเสนอต้องพิจารณาทั้งการป้องกันและการตรวจพบซึ่งสามารถนำไปสื่อสารแสดงรายละเอียดในการปฏิบัติในเชิงSeries ได้ | สำนักส่งเสริมสุขภาพ, สพด. | | | รับทราบและดำเนินการ ตามข้อเสนอ | |
| 1. สรุปสถานการณ์โควิด 19 จาก PHEOC วันที 23 เม.ย.64 และประเด็นเกี่ยวเนื่อง- จัดทำคำแนะนำมาตรการสำหรับสถานที่ดูแลผู้สูงอายุและศูนย์เด็กเล็ก และให้นำเสนอในการประชุม OC วันพรุ่งนี้ | สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ | | | |
2 อนามัยโพล2.1 ให้เจ้าหน้าที่กรมอนามัยร่วมทำ Anamai Event Poll ในประเด็น “ความกังวลและความต้องการฉีดวัคซีนหลังจากเห็น/ได้ยินข่าวอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน และนำเสนอในที่ประชุม ศบค.เล็ก ภายในสัปดาห์หน้า | ทีมอนามัยโพลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | | | | |
2.2 ให้จัดระบบการตอบคำถามใน Anamai Poll สามารถตั้งคำถามแล้วได้คำตอบทั้งในส่วนของตนเองที่เป็นผู้ตอบและส่วนที่ให้ประเมินจากผู้อื่นรอบตัว โดยกำหนดเป้าหมายให้แต่ละศูนย์อนามัย ต้องมีผู้ตอบจำนวน 1,000 คน กระจายตามจังหวัดในพื้นที่เขต | ทีมอนามัยโพลและศูนย์อนามัย สสม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | | | อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยได้ประชุมหารือกับผู้รับผิดชอบของศูนย์อนามัย เมื่อวันที่ 26 เม.ย.64 ซึ่งได้กำหนดประเด็น เป้าหมายที่จะดำเนินการ | |
3. รายงานความก้าวหน้าการฉีดวัคซีน COVID-19 ของบุคลากรกรมอนามัย และมาตรการ WFH3.1 ประเด็นการฉีดวัคซีน COVID – 19 ให้จัดกลุ่มเจ้าหน้าที่เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงให้ได้รับการฉีดวัคซีนก่อน สำหรับกลุ่ม Back Office ให้ทยอยฉีดวัคซีนตามลำดับ | กองการเจ้าหน้าที่ | | | จัดทำแผนการฉีดวันละ 30 คนตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย.64 เป็นต้นไป และส่งรายชื่อแจ้งสถาบันบำราศฯและหน่วยงานผเข้ารับวัคซีนแล้ว | |
3.2 กำชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด สำหรับมาตรการ WFH ขอให้แต่ละหน่วยงานส่งแผน และรายงานผลการ Monitor ในกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ติดเชื้อให้ดำเนินการ 2 แนวทาง คือ (1) ช่วยประสานให้รักษาในโรงพยาบาล (2) จัดทีมสอบสวนโรคโดยมีนักระบาดวิทยาของกรมอนามัยร่วมสอบถามไทม์ไลน์เจ้าหน้าที่ติดเชื้อ เพื่อคัดแยกกลุ่มเสี่ยงมากและเสี่ยงน้อย | กองการเจ้าหน้าที่ | | | แจ้งมาตการ WFH ให้ทุกหน่วยทราบและปฏิบัติแล้ว | |
4. การจัดการโภชนาการในโรงพยาบาลสนาม 4.1 ให้เริ่มทดลองดำเนินการใน Cohort Ward/โรงพยาบาลสนามของศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี เพื่อทดสอบระบบกลไกการจัดการที่วางไว้ โดยให้เริ่มดำเนินการในวันจันทร์นี้ และให้พิจารณาดำเนินการใน Cohort Ward/โรงพยาบาลสนาม (สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวง) ที่สมัครใจและเต็มใจเข้าร่วมอีก 1 แห่ง ดำเนินการสัก 1 สัปดาห์ แล้วประเมินผลจากนั้น ถ้าได้ผลสำเร็จดีให้นำเสนอรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขยายผลต่อไป | สำนักโภชนาการ และศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี | | | ||
4.2 สำหรับสถานกักตัวในกลุ่มเฝ้าระวัง ควรจัดระบบเหมือนกับ State Quarantine ให้จัดโปรแกรมโภชนาการ จัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้กักตัว สำหรับกลุ่มที่ Stay at Home ให้สื่อสารคำแนะนำในการปฏิบัติตนตามมาตรการ | สำนักโภชนาการ กองกิจกรรมทางกายฯ | | กกส. อยู่ระหว่างดำเนินการตัดต่อ | ||
5. มาตรการสำหรับทันตสุขภาพและทันตสาธารณสุขในสถานการณ์ COVID – 19 - เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สื่อมาตรการสำหรับทันตสุขภาพและทันตสาธารณสุขในสถานการณ์ COVID-19 โดยอ้างอิงทันตแพทยสภา ราชวิทยาลัยทันตแพทย์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | สำนักทันตสาธารณสุข | | ประชาสัมพันธ์แล้ว 1 ข่าวแจกกรมอนามัย หัวข้อการปรับรูปแบบการแปรงฟันในสถานพัฒนาเด็กเล็ก ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 2. สื่อสารผ่าน FB live กรมอนามัย #คุยให้รู้(เรื่อง)covid ep.14 ในวันที่ 29 เมษายน หัวข้อ COVID-19 กำลังระบาด สามารถไปทำฟันได้หรือไม่ โดยเนื้อหาในสื่อทั้ง 2 ชิ้น อ้างอิงจากประกาศของทันตแพทยสภา | ||
6. การบริหารแผนงานและงบประมาณภายใต้สถานการณ์ระบาด COVID – 19 - ให้ดำเนินการบริหารงบประมาณของแต่ละหน่วยให้ได้ตามเป้าหมายและผลผลิตที่กำหนด ทั้งนี้ ไม่ให้อ้างเหตุผลจากสถานการณ์ COVID – 19 รวมถึงให้ปรับรูปแบบวิธีการดำเนินงานของกรมฯ ให้เป็นรูปแบบ online หรือระบบ hybrid เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ | กองแผนงาน ทุกหน่วยงาน | | รับทราบ | ||
7. การจัดประชุมวิชาการกรมฯ - ให้คงรูปแบบเดิม (Onsite 450 คน + Online) และเลื่อนการประชุมวิชาการกรมฯ เป็นช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2564 | สำนักทันตสาธารณสุข | | เสนอวันอธิบดี | ||
| 1. จากกรณีการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด 19 จำนวน 7 ราย จึงให้มีการสื่อสารผ่านการแถลงข่าวกระทรวงสาธารณสุข ในการป้องกันการติดเชื้อในครอบครัว ได้แก่ การดูแลผู้สูงอายุ การดูแลเด็ก/ผู้ดูแลเด็กตามบ้าน เป็นต้น | สำนักส่งเสริมสุขภาพ สถาบันเด็กแห่งชาติ | | | |
2. อนามัยโพล 2.1 ให้จัดทำโพลตามสถานการณ์ เช่น ความกังวลต่อการฉีดวัคซีน และย่อยคำถาม (in-detail) ในประเด็นความกังวลต่อสถานการณ์โควิด 19 เพื่อให้ได้ผลการสำรวจที่มีความลึกมากยิ่งขึ้น เช่น ใครคือคนที่เขากังวลมากที่สุด ใครที่เขากังวลเรื่องปกปิดไทม์ไลน์ เป็นต้น 2.2 ให้ประสานกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการนำ AI MASK มาใช้ประโยชน์ในกระทรวงสาธารณสุข และนำข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสำรวจอนามัยโพล และข้อมูลเชิงคุณภาพจาก AI MASK มาสังเคราะห์และคืนข้อมูลให้จังหวัดต่อไป 2.3ให้จัดหาทีมเพื่อช่วยคิดประเด็นสำหรับการจัดทำคำถามอนามัยโพล (Think Thank Team) 2.4จากการรายงานผลการนำเสนอใน ศบค.เล็กขอให้ประสานงานขับเคลื่อนการดำเนินงานอนามัยโพลผ่านทางกระทรวงมหาดไทย | ทีมอนามัยโพล
| | | ||
3. รายงานความก้าวหน้ามาตรการบุคลากรกรมอนามัยในการป้องกันการระบาด 3.1 ให้หัวหน้าหน่วยงานในกรมอนามัยกำชับบุคลากรให้ปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 3.2 สืบค้น รวบรวม เทคโนโลยีสำหรับติดตาม ตรวจสอบการ Work From Home เพื่อนำมาใช้กับบุคลากรของกรมอนามัย | กองการเจ้าหน้าที่/ ทุกหน่วยงาน นพ.บัญชา ค้าของ กองแผนงาน | | | ||
4. มาตรการสำหรับขนส่งสาธารณะ 4.1 ประสานกระทรวงคมนาคม เพื่อนำข้อมูลมาตรการสำหรับขนส่งสาธารณะ เสนอในการประชุม ศบค. เล็ก 4.2 ประสานกรมควบคุมโรค (นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา) เพื่อขอข้อมูลการสอบสวนโรคที่ผ่านมาว่ามีผู้ติดเชื้อจากการใช้บริการยานพาหนะสาธารณะหรือไม่ เพื่อทราบสถานการณ์และนำมาคุมเข้มเรื่องมาตรการหลักและมาตรการเสริมต่อไป | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม | | |||
5. รายงานความพร้อมของหน่วยบริการกรมอนามัยในการรองรับผู้ติดเชื้อ COVID-19 ให้นำรายงานทรัพยากรหน่วยบริการกรมอนามัยเบื้องต้นในการรองรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 หารือกับศูนย์อนามัยต่อไป | กองแผนงาน | | | ||
| 1.ข้อสั่งการจากการประชุม PHEOC กสธ. - ไม่มีข้อสั่งการถึงกรมอนามัยโดยตรง - นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย นำเสนอในที่ประชุม ผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในการป้องกันโรคโควิด-19 ครั้งที่ 1-9 (สำรวจวันที่ 9 พ.ย.63.-16 เม.ย.64 )และจังหวัดที่มีผู้ตอบอนามัยโพล น้อยที่สุด 5 จังหวัด มติที่ประชุม : พิจารณาเห็นชอบต่อความก้าวหน้าของอนามัยโพล เพื่อเสนอใน ศบค.เล็ก (วันที่ 22 เมษายน 2564) | คณะทำงาน STAG ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | | หน่วยงานรับทราบ | |
| 2.จากการนำของอนามัยโพล : เครื่องมือเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในการป้องกันโรคโควิด-19 ของ Anamai Poll มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 1) ประสานภาคีเครือข่าย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับนวัตกรรม AI สู้โควิด โดยวิเคราะห์และรายงานการใช้หน้ากากอนามัยเป็นรายพื้นที่แบบทันท่วงที (Real Time) สแกนพื้นที่เสี่ยง 2) การจัดทำสไลด์เสนอศบค.เล็ก ในวันที่ 22 เมษายน 2564 ขอให้ปรับรูปถ่ายที่มีผู้บริหารกระทรวงและหน่วยงานอื่นเพิ่มขึ้น การนำเสนอกราฟแสดงมาตรการต่างๆ และSetting การเก็บข้อมูลควรกระจายถึงองค์กร อำเภอ การกำหนดข้อเสนอให้พิจารณาขอให้หน่วยงานระดับเขต/จังหวัด และภาคีนอกภาคสาธารณสุขในจังหวัดต่างๆ ใช้เครื่องมืออนามัยโพล ช่วยในการติดตามสถานการณ์พฤติกรรมการป้องกันตนเองของประชาชนภาพประเทศ | คณะทำงานอนามัยโพล กองประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพ | | รับทราบและดำเนินการตามข้อสั่งการ | |
3. รายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการยกระดับสถานประกอบการ กิจการ กิจกรรม เพื่อป้องกันการระบาดของ COVID-19 ผ่าน TSC Plus มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 1) ประสานติดตามการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการยกระดับสถานประกอบการฯ ผ่านศปก.ศบค ในวันที่ 22 เมษายน 2564 (ตามมติที่ประชุมศปก.ศบค ในวันที่ 20 เมษายน 2564) 2) ดำเนินการจัดทำคำสั่ง(เพิ่มเติม)คณะทำงานในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน TSC Plus ให้ครอบคลุมกลุ่มงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 3) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการ เพื่อบริหารจัดการ TSC Plus ตามข้อสั่งการ เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 64 | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะทำงาน TSC กองแผนงาน | | รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำคำสั่ง | ||
4. มาตรการป้องกันโรค และการขับเคลื่อนภารกิจส่งเสริมสุขภาพในวัยรุ่นและอนามัยเจริญพันธุ์ การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย การให้บริการวางแผนครอบครัวและคุมกำเนิดพร้อมวิธีคุมกำเนิดที่แนะนำภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19 มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 1) ให้ประสานภาคีเครือข่ายทางวิชาการและหน่วยงานNGO แบบ On Line เพื่อสนับสนุนข้อมูลวิชาการ คำแนะนำภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19 มอบให้ศูนย์สื่อสารสาธารณะเร่งสื่อสารมาตรการกับกลุ่มเป้าหมาย 2) สืบค้นข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการติดเชื้อโรคโควิด – 19 เพิ่มในเลือด | สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ และภาคีเครือข่าย สำนักสื่อสารสาธารณะ | | รับทราบ ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ และนำข้อมูลมาสื่อสารแล้วทั้งในรูปแบบ info และข่าวแจก | ||
5. ผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในสถานศึกษา ตาม 6 มาตรการหลัก (DMHTT-RC) & 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ภาคเรียนที่ 2 / 2563 (เดือนกุมภาพันธ์ – 9 เมษายน 2564) มีข้อสั่งการเร่งดำเนินการ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) ประสานกระทรวงศึกษาธิการให้ความตระหนักในการคัดกรอง สังเกตอาการ วัดไข้ ก่อนเข้าสถานศึกษา และส่งเสริมการใช้ Application 2) พิจารณาจัดทำแนวทางคู่มือ แผนเผชิญเหตุให้มีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ 3) ประสานและจัดทำเครื่องมือให้กับกระทรวงศึกษาธิการ ในการจัดกลุ่มความเสี่ยงของโรงเรียน เพื่อจัดมาตรการให้สอดคล้องกับในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 นอกจากนี้ยังให้ข้อเสนอแนะให้เด็กนักเรียนไปคัดกรองครอบครัวตนเอง เรียนรู้ความเสี่ยง ลองปฏิบัติตามมาตรการ เพื่อให้เกิดการสร้างความรอบรู้ให้ตนเอง | สำนักส่งเสริมสุขภาพ และภาคีเครือข่าย | | รับทราบและอยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
6. การจัดกิจกรรม Kick Off 4 ภาค โครงการขับเคลื่อนก้าวท้าใจ 3 อ. และ TSC ในสถานประกอบการ โดยนำเสนอผลการประชุมภาคีเครือข่าย 7 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 และมีข้อแนะนำดังนี้ 1) รูปแบบการจัดงาน ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19 ควรหลีกเลี่ยงการจัดงาน/กิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนไม่เกิน 50 คน หรือการบริหารจัดงานในรูปแบบ Hybride 2) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในการสนับสนุนการดำเนินงานและรูปแบบการขับเคลื่อนในพื้นที่ภายใต้ Platform 3 อ. และ TSC | สำนักส่งเสริมสุขภาพ กองกิจกรรมทางกาย เพื่อสุขภาพ และภาคีเครือข่าย | | รับทราบและดำเนินการตามข้อแนะนำ | ||
7. 7.1 การจัดทำแผนงบกลางควบคุมป้องกันการระบาด COVID-19 เพื่อส่งให้ ครม.พิจารณา ภายในวันอังคารที่ 27 เม.ย. 64 โดยหลักการเขียนของบกลางต้องเอากิจกรรมโรคโควิด -19 เป็นตัวตั้ง และจัดการทำแผนงบเงินกู้ งบลงทุน ให้จัดทำรายละเอียดข้อมูลประกอบ เพื่อให้กองแผนงานรวบรวม นำเสนอต่อไป ภายในสิ้นเดือนเมษายน 2564 โดยขอให้ทุกหน่วยงานเร่งพิจารณาจัดทำของบประมาณดังกล่าว สำหรับงบลงทุนต้องมีหลักฐานเอกสารพร้อม 7.2 จากการนำเสนอแนวทางการป้องกันและลดการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ด้วยมาตรการ HL เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพประชาชน เพื่อให้สามารถจัดการสุขภาพได้ด้วยตนเอง มีข้อสั่งการดังนี้ 1) ปรับข้อมูลการนำเสนอให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ปัจจุบัน พร้อมจัดลำดับความสำคัญเชื่อมโยงข้อมูลให้มีความสัมพันธ์ 2) จัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมนำเสนอภายในวันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2564 ในการประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุข | กองแผนงาน/หน่วยงาน ทุกงาน | | | ||
| 1. วิเคราะห์ความสัมพันธ์การตอบแบบสำรวจ Anamai Poll กับสถานการณ์ระบาด สะท้อนผลลัพธ์ที่อาจส่งผลต่อการระบาดของโรคในพื้นที่ เสนอให้จังหวัดนำเครื่องมือการสำรวจนี้ไปดำเนินการในทุกหน่วยงาน โดยกรมอนามัยจะดำเนินการส่งคืนข้อมูลดังกล่าวกลับไปยังจังหวัด นำเสนอ ศปก.ศบค. วันที่ 22 เม.ย. 64 | กองประเมินฯ, | | | |
2. สรุปผลสำรวจและเตรียมข้อมูล TSC Plus เพื่อให้นพ.ทวีศิลป์(โฆษกฯ ศบค.) นำเสนอในแถลงสถานการณ์ วันที่ 22 เม.ย. 64 | | | |||
3. มอบศูนย์อนามัยเตรียมการ Cohort Ward รองรับสถานการณ์การระบาดโรคโควิด 19 ที่มีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น | ศูนย์อนามัย | | | ||
4. มอบกลุ่มแม่และเด็ก และทุกกลุ่มวัย ติดตามสถานการณ์ วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง เพื่อออกแนวทางป้องกันและคำแนะนำ | สำนักส่งเสริมสุขภาพ, | | | ||
5. คำของปม. งบกลาง เงินกู้ โครงการพัฒนาสุขอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อมฯ มอบรองอธิบดีที่ดูแลแต่ละกลุ่มวัยพิจารณา และรองฯบัญชา, กองแผนงานดำเนินการภาพรวม เพื่อเตรียมนำเสนอคำของปม. ตามกระบวนการ | รองอธิบดี, | | | ||
| 1. ข้อสั่งจากการประชุม PHEOC กสธ. - ไม่มีข้อสั่งการถึงกรมอนามัย ที่ประชุมมีข้อสั่งการ ดังนี้ 1. รวบรวมสื่ออินโฟกราฟิกของกรมที่ดำเนินการตามข้อสั่งการหรือข้อเสนอแนะของ PHEOC เพื่อไปนำเสนอใน PHEOC กระทรวงสาธารณสุข 2. ศูนย์อนามัยต้องเตรียมความพร้อมหากต้องปรับเป็น รพ.สนาม ที่เบ็ดเสร็จในตัว พิจารณาระยะเวลาในการเตรียมสิ่งสนับสนุน และ รพ. เครือข่ายที่จะมีระบบส่งต่อ และมอบให้สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ศูนย์อนามัยที่ 6 นำเสนอรูปแบบการเตรียมความพร้อมเป็น Cohort Word ในที่ประชุม EOC กรมอนามัย นำเสนอวันที่ 20 เมษายน 2564 | นพ.สราวุฒิ บุญสุข (รองอธิบดีกรมอนามัย) /HLศูนย์อนามัยทุกแห่ง สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง | | รับทราบ | |
3. สื่อสารเรื่อง WFH และการคัดกรองพนักงานในสถานประกอบการ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี เน้นทำในทุกกลุ่ม ไม่ใช่แค่เฉพาะผู้ป่วยหรือเสี่ยง | สำนักส่งเสริมสุขภาพ | | ดำเนินการแล้ว โดยจะมีการจัดประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนผ่าน Teleconference ในวันที่ 23 เมษายน 2564 | ||
4. ขอให้ศูนย์อนามัยทุกแห่งประสานโรงงาน รพ.สนาม ให้พนักงานและผู้ติดเชื้อเข้าร่วมกิจกรรมก้าวท้าใจ โดยศูนย์อนามัยสามารถดาวน์โหลด poster ก้าวท้าใจ ประชาสัมพันธ์ และสื่อสารให้พื้นที่รับทราบเกี่ยวกับการ live stream โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 23 เมษายน 2564 | ศูนย์อนามัยทุกแห่ง สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง | | ทุกแห่งดำเนินการแล้ว | ||
2. Anamai poll 1. ให้ข้อเสนอแนะเรื่อง Anamai Poll ว่า ควรปรับการดำเนินงาน จัดทำเครื่องมือ วางกลุ่มจัดตั้งกระจายตามหลักวิชาการ กำหนดลักษณะของประเด็นที่น่าสนใจ และเปลี่ยนเป็นผู้กำกับประเด็นการสำรวจ และ Out Source การออกเก็บข้อมูล | ทีม Anamai Poll | | | ||
2. มอบ นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย พิจารณาปรับเปลี่ยนภารกิจงานของกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ให้รับผิดชอบ Anamai Poll และ TSC ส่วนสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบงาน MICE กิจกรรมการรวมกลุ่ม เป็นต้น | นพ.ดนัย ธีวันดา (รองอธิบดีกรมอนามัย) กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม | | รับทราบ | ||
3. STAG จากการนำเสนอแผนปฏิบัติการ “สุขภาพดี ปลอดโควิด เริ่มที่ครอบครัว” โดยปฏิบัติการผ่าน Setting ครอบครัว (วัยทำงาน/แม่และเด็ก) มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 1. ทบทวนเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นเช่น การวิเคราะห์ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และวิชาการอื่นๆ โดยฝึกบุคลากรรุ่นใหม่ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาทางสังคมและเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบโดยรวม รายพื้นที่ และกลุ่มวัย ช่วยทำให้คาดการณ์ได้แม่นยำขึ้น และจัดทำแผนปฏิบัติการ 1-3 เดือน 2. การกำหนดกลยุทธ์ มาตรการ ต้องอยู่ใน 3 ประเด็นยุทธศาสตร์คือ 1) การดำเนินงานที่ทำให้สถานการณ์สงบ ไม่กลับมาเป็นซ้ำ 2) การดำเนินงานในการยกระดับภารกิจกรมอนามัยจากโอกาสการระบาดของ COVID–19 3) การดำเนินงานในการพัฒนาองค์กร 3. การจัดทำกลยุทธ์ใน 2 ระยะเวลา 1) ในช่วง 14 วันแรก จำนวนผู้ติดเชื้อจะคงที่ มีการสะสมของผู้ติดเชื้อส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางการแพทย์ เช่นบุคลากรที่ป่วย จำนวนเตียง เป็นต้น ควรนำมาตรการ Green & Clean Hospital ไปส่งเสริมให้โรงพยาบาล นอกจากนี้ ยังควรมีมาตรการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่อยู่ระหว่างรอผลตรวจที่บ้าน ควรจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เช่น กิจกรรมทางกาย โภชนาการ การคัดกรองอาการของตนเอง เป็นต้น 2) ภายใน 1-2 เดือน คนในครอบครัวติดเชื้อเพิ่มขึ้น ต้องมีการคัดกรองที่บ้านที่ทำงานต้องมีแน่นอน WFH มากขึ้น พิจารณาการดำเนินงานในโรงงานขนาดใหญ่ การเปิดโรงเรียน ตลาด ประชาชนจะเริ่มมีความทุกข์ ควรสงเสริมสร้างความรอบรู้ในด้านอารมณ์ การให้กำลังใจ ประสานความต้องการ การบริจาค การช่วยเหลือผู้ถูกผลกระทบจากการระบาด | STAG
| | รับทราบ รับไปดำเนินการ | ||
- มอบสำนักส่งเสริมสุขภาพนำเสนอการจัดกิจกรรม Kick off 4 ภาค โครงการขับเคลื่อนก้าวท้าใจ 3อ. และ TSC ในสถานประกอบการ ในที่ประชุม EOC กรมอนามัย วันที่ 20 เมษายน 2564 | สำนักส่งเสริมสุขภาพ | | | ||
4. แผนงบกลางควบคุมป้องกันการระบาด COVID–19 มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 1. หลักการเขียนของบกลาง ต้องเอากิจกรรม COVID–19 เป็นตัวตั้ง เช่น โควิดทำอะไรให้แม่เสี่ยงหรือตาย ฯลฯ ผลกระทบต่อโควิดทำให้เกิดการขอวัสดุ ครุภัณฑ์ พิจารณาส่วนไหนใช้งบกลาง ส่วนไหนใช้เงินกู้ สำหรับงบลงทุนต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ปี 2. ขอให้ปรับแก้ (ร่าง) คำของบประมาณฯ แต่ละหน่วยงาน โดยให้ผู้อำนวยการร่วมกับผู้รับผิดชอบงานยุทธศาสตร์และแผนงาน หรือนักวิชาการ ปรับแก้ให้เรียบร้อยโดยด่วน | ทุกหน่วยงาน | | ดำเนินการแล้ว โดยมีการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 20 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมกองแผนงาน | ||
5. มาตรการในการยกระดับสถานออกกำลังกาย (ฟิตเนส/สวนสาธารณะ/สถานที่จัดแข่งขัน) มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ - ตรวจสอบข้อมูลในประกาศข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 20 เรื่องเวลาในการให้บริการไม่เกิน 21.00 น. ว่าใช้กับเฉพาะพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือใช้ในพื้นที่ควบคุมด้วย พร้อมทั้งตรวจสอบข้อกำหนดฯ ฉบับก่อนหน้านี้ว่าควบคุมกิจการประเภทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ (สวนน้ำ สระว่ายน้ำ ลานกีฬาพื้นบ้าน สนามตีไก่ ฯลฯ) หากไม่มี กรมอนามัย ควรเสนอคำแนะนำของกิจการดังกล่าวเข้าที่ประชุมสบค.เล็ก เพื่อให้จังหวัดนำไปออกประกาศควบคุม | กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ | | ผอ.กกส.ขอให้ตัด "ให้เขียนวิธีวัดการระบายอากาศด้วยเครื่องมือลงไปในข้อกำหนดฯ ด้วย เพื่อใช้อ้างอิงในการของบประมาณกลางและงบเงินกู้" เนื่องจากเห็นว่าเป็นของ สวล.เพราะวัดใน setting อื่นด้วยเช่น สถานประกอบการ โรงเรียนกวดวิชา ศพด และยกระดับ setting ระบบปิด | ||
6. เรื่องอื่นๆ - เรียนเชิญเลขาฯ ของทุกคลัสเตอร์ ประชุมหารือเรื่อง MOU ขับเคลื่อนงานร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในวันที่ 21 เมษายน 2564 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพโดยมี นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย เป็นประธาน - กรมอนามัย ได้กำหนดมาตรการในระบบการขนส่งร่วมกับกระทรวงคมนาคม โดยเสนอมาตรการ 13 ส่วน (มาตรการหลักและมาตรการเฉพาะ) โดยมีประเด็นที่อาจเป็นข้อจำกัดในการดำเนินงานของการขนส่ง คือ การจำกัดจำนวนผู้โดยสารที่วัดความแออัด 70% ซึ่งมีข้อเสนอแนะกรมอนามัย ต้องเสนอมาตรการที่เข้มข้น (Load Factor 70%) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมา แต่หากไม่ปฏิบัติตาม เจ้าของกิจการก็ต้องรับผิดชอบ | รับทราบ | | รับทราบ | ||
1. จากรายงานความก้าวหน้าการเตรียมการจัดประชุมการพัฒนามาตรการและแนวทางการยกระดับมาตรฐานด้านสุขอนามัยสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมสาหรับสถานบันเทิง และสถานบริการทำนองเดียวกัน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID–19 โดยสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการและดำเนินการต่อไป ข้อเสนอแนะประกอบการพิจารณาดำเนินการ และข้อสั่งการ ดังนี้ 1. เมื่อสถานบันเทิงจะเปิดต้องคุมเข้มมาตรการและคำนึงถึงข้อจำกัดต่าง ๆ ของสถานที่ 2. เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ เชิญผู้เกี่ยวข้องให้ครบทุกมิติ | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมพิจารณาตามข้อเสนอแนะ | | รับทราบข้อสั่งการและดำเนินการ นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสาธารณสุข ในวันที่ 20 เม.ย. 64 | ||
2. ร่างข้อเสนอการกำหนดมาตรการยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาด COVID–19 ในสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อาบ อบ นวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน มีการกำหนดมาตรการหลัก มาตรการเฉพาะและมาตรการเสริม โดยแยกเป็น ระยะผ่อนคลาย 1 คือ 14 วันแรก และระยะผ่อนคลาย 2 คือหลัง 14 วัน ข้อเสนอแนะประกอบการพิจารณาดำเนินการและข้อสั่งการ ดังนี้ 1. กิจกรรมที่ยังมีความเสี่ยงที่คุมไม่ได้ควรแยกเป็นกลุ่มกิจกรรมให้ชัดเจน เช่น การเล่นดนตรี การเสริฟ การใช้แก้วเดียวกัน กลุ่มกิจกรรมในห้องคาราโอเกะ ห้องสูท การนั่งดริ้ง เป็นต้น ควรกำหนดมาตรการให้ชัดเจน เช่น เน้นย้ำการใส่หน้ากาก แก้วเครื่องดื่มไม่ให้ใช้ร่วมกันและกำหนดระยะเวลา การเสิร์ฟอาหาร การกำจัดจำนวน เป็นต้น 2. สถานบริการที่มีความคับแคบ สถานบริการที่แฝงมีการบริการไม่ทำตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID–19 3. ปรับมาตรการ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญพิจารณา และรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมพิจารณาตามข้อเสนอแนะ | | รับทราบข้อสั่งการและดำเนินการ นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสาสุข ในวันที่ 20 เม.ย. 64 | ||
3. มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID–19 ใน 1) ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ 2) กิจกรรมการจัดประชุม สัมมนา ในห้องประชุมในโรงแรมหรือศูนย์ประชุม และสถานที่ประชุมต่างๆ 3) กิจกรรมที่มีคนมารวมตัวกันทางประเพณี กิจกรรมในชุมชน (เช่น งานเลี้ยงฉลอง งานบวช งานแต่งงาน กิจกรรมทางศาสนา เป็นต้น) ข้อเสนอแนะประกอบการพิจารณาดำเนินการและข้อสั่งการ ดังนี้ 1. มิติคนที่เข้าร่วมงาน (งานสังสรรค์ งานเลี้ยง) ต่ำกว่า 50 คน ควรพิจารณาปัจจัยเสี่ยง เช่น คนร่วมงานมาจากพื้นที่เสี่ยง ถ้าเป็นการจัดในอำเภอเป็นคนในเครือญาติไม่มีเสี่ยง อาจยังจัดได้ หรือการจัดงานในพื้นที่เสี่ยงควรงดหรือเลื่อนไปก่อน เป็นต้น 2. การจัดประชุมไม่เกิน 50 คน ถ้าเป็นการจัดประชุมย่อยห้องไม่เกิน 50 คน แต่จัดหลายห้อง โดยผู้จัดประชุมคนเดียวกัน สามารถจัดได้หรือไม่ ควรมีมาตรการจำเฉพาะ มาตรการเสริมให้ดี เพื่อคัดแยกจังหวัดที่สามารถจัดได้หรือไม่ได้ | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ | | | ||
4. มอบกองแผนงานบริหารจัดการการนำประเด็นเข้าพิจารณาในที่ประชุม ศบค.เล็ก บางครั้งประเด็นที่มีเรื่องเกี่ยวข้องกับภาคีเครือข่ายอาจเชิญภาคีเครือข่ายเข้าประชุม ศบค.เล็ก และในทุกประเด็นขอให้รองอธิบดีที่กำกับหน่วยงานหรือคลัสเตอร์ที่เกี่ยวข้องพิจารณา | กองแผนงาน รองอธิบดีทุกท่าน | | | ||
5. แนวทางการสวมหน้ากากเพื่อป้องกันการติดต่อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ วันที่ 18 เมษายน 2564โดยกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพได้ข้อสรุป คือ การสวมใส่หน้ากาก 1 อัน มีประสิทธิภาพเพียงพอ สวมให้พอดีกระชับกับใบหน้าและร่วมกับเน้นมาตรการ DMHTTA ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
แนวทางการสื่อสาร “การสวมใส่หน้ากาก 1 อันมีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยสวมให้ถูกวิธี ปัจจุบันไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าการใส่หน้ากาก 2 ชั้นจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับข้อด้อยจากการใส่หน้ากาก 2 ชั้น ซึ่งจะอึดอัดและใส่ได้ไม่นาน และทำให้มีโอกาสสัมผัสใบหน้ามากขึ้น” ข้อสั่งการ 1. สรุปความคิดเห็นจากผู้เชียวชาญในที่ประชุมปรับคำพูดมอบศูนย์สื่อสารสาธารณะสื่อสารต่อ โดยหาคนที่สามารถอธิบายได้ดี มีความสนุก ใช้ระยะเวลาสั้น มีอินโฟกราฟฟิคประกอบ 2. มอบผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพนำประเด็นไปประกอบการประชาสัมพันธ์ | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สำนักส่งเสริมสุขภาพ | | |||
6. รายการเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ สิ่งที่จำเป็น kit set วัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้กักตัวหรือผู้ติดเชื้อและวัสดุอุปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล และครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในสถานที่สำหรับกักตัว ข้อสั่งการ 1. ครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในสถานที่สำหรับกักตัวตามรายงานให้ศูนย์อนามัยที่จัดทำห้องแยกกักกัน ต้องมีการสนับสนุนเวชภัณฑ์วัสดุอุปกรณ์ดังกล่าว จึงควรพิจารณาข้อมูลประกอบการของบเงินกู้ 2. ควรเพิ่มคำแนะนำทางด้านการแพทย์แบบง่าย 3. ทำ kit set ไว้จำนวนหนึ่งไว้เป็นตัวอย่าง มีคำแนะนำวิธีปฏิบัติการแพทย์ ชีวิตประจำวัน และของใช้ในชีวิตประจำวัน โดยขอสนับสนุนภายใต้งบกลาง | สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง สำนักเลขานุการกรม Logistics | | | ||
7. การกำหนดมาตรการแนวทางสำหรับสถานประกอบการ/โรงงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID–19 ข้อเสนอแนะ 1. จำแนก มาตรการหลัก มาตรการเสริม มาตรการจำเพาะให้ชัดเจน 2. ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาในกิจกรรมต่างๆ โดยสายการผลิตจะทำงานระยะเวลานาน ควรมีการกำหนดระยะเวลาในการพักช่วง หรือกำหนดระยะเวลาในการทำงาน | นพ.บัญชา ค้าของ (รองอธิบดีกรมอนามัย) สำนักส่งเสริมสุขภาพ | | | ||
8. วาระอื่นๆ 1. มอบกองแผนงานและสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ นำเรื่องปรับให้เข้าทันที่ประชุม ศปก.ศบค.เพื่อทราบเช้า 2. ประสานกองการเจ้าหน้าที่เรื่องมาตรการลดความเสี่ยงองค์กรและมาตรการ WFH รายงานผลหลังดำเนินการช่วงหนึ่งพร้อมปัญหาอุปสรรค 3. การของบกลางก่อนนำเข้าที่ประชุม EOC ขอให้พิจารณารายละเอียดจนชัดเจนและสรุปผลเสนอรายงานในที่ประชุม และประสานเรื่องการจัดสาธารณสุขสัญจร 4. STAG การวางแผนการดำเนินงานรอบ 3 เดือนต่อไป 5. การเปิดโรงเรียนประสานกระทรวงศึกษาธิการแล้วจะมีการจัดประชุมในวันอังคารที่ 20 เมษายน 2564 และนำเรียนในที่ประชุม EOC ต่อไป | กองแผนงาน สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองการเจ้าหน้าที่ STAG หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | | | ||
1. จากการสรุปสถานการณ์โรค COVID–19 จาก PHEOC กระทรวงสาธารณสุข มีข้อสั่งการจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้กำหนดมาตรการสำหรับสถานประกอบการ ประเภทรถโดยสารหรือขนส่งสาธารณะ เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) เช่น ระบบระบายอากาศในรถโดยสารหรือขนส่งสารสาธารณะ และการจำกัดจำนวนผู้โดยสารในแต่ละรอบการเดินทาง และให้กำหนดมาตรการสำหรับสายการบิน เช่น การงดรับประทานอาหารบนเครื่องบิน โดยออกข้อกำหนดมาตรการภายในวันจันทร์นี้ ข้อสั่งการ ให้ประสานกับหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย ในด้านสายบิน และขนส่งสาธารณะ เช่น CATT กรมการขนส่งทางบก ออกอนุบัญญัติตามอำนาจหน้าที่ พร้อมทั้งจัดทำแนวทางปฏิบัติหรือข้อแนะนำโดยปรับจากแนวทางปฏิบัติเดิมสนับสนุนไปยังหน่วยงานดังกล่าวและประสานไป ทางศบค.เล็กด้วย | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์กฎหมายสาธารณสุข | | | ||
2. จากการนำเสนอผลสำรวจ Anamai Poll ประเด็น “ความกังวลและพฤติกรรมการป้องกันโรคของประชาชนด้วยหลัก DMHTT ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง วันที่ 1–16 เมษายน 2564 ได้มีข้อเสนอให้เพิ่มประเด็นสถานการณ์ที่สังคม หรือประชาชนส่วนใหญ่สนใจ และการตรวจจับประเด็นสถานการณ์ที่ถูกยกระดับให้สูงขึ้นหรือในกลุ่มที่มีความความกังวลในการเดินทาง | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ | | | ||
3. มาตรการขนส่งสาธารณะ มีข้อสั่งการดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะกรณีรถโดยสารประเภท รถยนต์ รถตู้ ผู้ติดเชื้อรู้ตนเองป่วยแต่ยังโดยสาร จะคัดกรองที่ป่วยได้อย่างไร คนที่ไม่ป่วยต้องไม่ถอดหน้ากาก ล้างมือก่อนขึ้น แนะนำใส่หน้ากากผ้า สำหรับกรณีโดยสารโดยใช้รถไฟฟ้าขอให้ประสานกับ BTS หรือ รฟม.ในการกำหนดมาตรการเพื่อลดการแพร่เชื้อ 2. เพิ่มพิจารณาในรถโดยสารประเภท รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง และเพิ่มมาตรการในการทำความสะอาดในจุดสัมผัสร่วม 3. การขับเคลื่อนมาตรการดังกล่าวมี 3 ช่องทาง 1. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศในการออกอนุบัญญัติ 2. มีเจ้าหน้าที่ของกรมอนามัยประสานศบค. เป็นประจำอาจจะอยู่ที่ประชุม ศบค.หรือประชุมออนไลน์ เพื่อเสนอประเด็นเพื่อทราบ 3. สื่อสารกับประชาชนได้รับทราบ | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม/สำนักส่งเสริมสุขภาพ/ ศูนย์กฎหมายสาธารณสุข /คณะทำงานสื่อสาร ฯ คณะทำงาน Thai Stop COVID /กองแผนงาน/และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | | | ||
4. มาตรการในสถานที่จำหน่ายอาหาร: ร้านอาหาร ตลาด มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 1. ปรับคำใช้มาตรการหลัก มาตรการเสริม มาตรการจำเพาะ เพื่อให้เป็นคำเดียวกัน ประชาชนจะได้ไม่สับสน และพิจารณามาตรการอะไรเป็นมาตรการหลัก มาตรการเสริมที่เหมาะสม 2. เพิ่มมาตรการในเรื่องระยะเวลาการรับประทาน มาตรการจำเพาะประเภทลักษณะการรับประทาน 3. รวมกับสมาคมร้านอาหาร ตลาด แผงลอย ทำอย่างไรที่ทำให้คนที่มีความเสี่ยงน้อยเข้าร้าน และกันคนที่มีความเสี่ยงมากไม่ให้เข้าร้าน 4. ประชุมปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการกับเครือข่ายทางการแพทย์ สาธารณสุข หน่วยงานท้องถิ่น และผู้ประกอบการ พิจารณามาตรการที่เหมาะสม 5. ศูนย์อนามัยทุกแห่งดำเนินการตรวจสอบตลาด ร้านอาหาร ตามมาตรการอย่างเคร่งครัด สถานที่ใดไม่ผ่านมาตรการที่กำหนดให้แจ้งไปยังจังหวัด ท้องถิ่น และรวบรวมรายงานไปที่ ศบค.เป็นลำดับต่อไป | นพ.ดนัย ธีวันดา (รองอธิบดีกรมอนามัย)/ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยทุกแห่ง | | | ||
5. มาตรการในสถานประกอบการหรือโรงงานมีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี้ 1. ควรเร่งหารือ กับสมาคม ผู้ประกอบการ นิคมอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณามาตรการลดการแพร่เชื้อในโรงงาน จุดสำคัญคือการคัดกรองคนทำงานซึ่งอาจมีความเสี่ยงจากการเดินทางไปสถานที่เสี่ยง หรือสัมผัสกลุ่มเสี่ยง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะโรงงานใหญ่ที่ส่งสินค้าไปต่างประเทศ 2. พิจารณาแอพพลิเคชั่น THAI SAFE THAI ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาด โดยให้ความสำคัญในการคัดแยกความเสี่ยงของโรงงาน และคืนข้อมูลให้กับนิคมอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ 3. ประชุมบูรณาการ 7 หน่วยงานเพื่อพิจารณาจัดทำเอกสารวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับโควิด19 ในโรงงานอุตสาหกรรม 4. ศูนย์อนามัยที่พื้นที่มีโรงงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่ขอให้ขับเคลื่อนงานผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดไปถึงสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ประสานงานผ่านผู้ตรวจราชการ และรวบรวมข้อมูลเสนอ ศบค.เล็ก | นายแพทย์บัญชา ค้าของ (รองอธิบดีกรมอนามัย) สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองแผนงาน และศูนย์อนามัยที่เกี่ยวข้อง | | | ||
1. ขอให้จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียนโดยจัดทำแยกกันเนื่องจากมีลักษณะของการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน | ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ | ได้ดำเนินการประสานกับ 4 กระทรวง (ศธ. มท. พม. สธ.) โดยแจ้งมาตรการป้องกันโควิด19 ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล | |||
2. จากผลสำรวจอนามัยโพลในประเด็น “ความกังวลต่อการแพร่ระบาดโรคโควิด 19” มีข้อสั่งการ ดังนี้ 2.1พิจารณานำผลมาวิเคราะห์ช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อเปรียบเทียบระดับความกังวลและจัดกลุ่มประชากรต่อความกังวลอีกครั้งหนึ่ง | กองประเมินผลกระทบเพื่อสุขภาพ ศูนย์อนามัยทุกแห่ง |
|
| | |
3. สำหรับมาตรการและการขับเคลื่อนด้านโภชนาการและกิจกรรมทางกายในกลุ่มเฝ้าระวังและผู้ติดเชื้อในสถานที่กักกันและโรงพยาบาลสนาม มีข้อแนะนำและข้อสั่งการ ดังนี่ 3.1พิจารณาหากเป็นไปได้ให้นำดารา นักแสดงที่พบว่าติดเชื้อ เชิญชวนทำกิจกรรมทางกายเพื่อเป็นจุดขายสินค้ากรมอนามัย 3.2ให้ประสานกับศูนย์อนามัยทุกแห่ง และผู้จัดการสถานที่กักกัน โรงพยาบาลสนาม ในการให้คำแนะนำ ให้การอบรมคุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัย สำหรับสื่อคำแนะนำเมนูอาหารขอให้จัดเป็นลักษณะอาหารกล่องรายบุคคลเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ นอกจากนี้ขอให้เร่งจัดการประชุมปรึกษาหารือเรื่องนี้กับกรมที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นต้น | กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ
สำนักโภชนาการ |
|
| | |
4. ในการจัดระดับความเสี่ยง และมาตรการของร้านอาหาร ขอให้นำเกณฑ์การอบรมผู้ประกอบการ/ผู้สัมผัสอาหาร และการเมิน TSC ออกจากเกณฑ์พิจารณาเนื่องจากไม่มีนัยสำคัญต่อต่อการแพร่ระบาด เพิ่มเกณฑ์ในเรื่องของเวลาที่รับประทานอาหาร(ระยะเวลา ช่วงเวลา)และให้นิยามเกณฑ์ระบบปิดหรือเปิดให้ชัดเจน เช่น ระบบการไหลเวียนอากาศ | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | | |||
ุ5. เกณฑ์การเข้าพัก เฉพาะบุคลากรกรมอนามัยส่วนกลางและสถาบันสุขภาวะเขตเมือง ที่เป็นผู้มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูงอยู่ระหว่างรอผลการตรวจหาเชื้อและสามารถดูแลตนเองได้ และเป็นผู้มีความจำเป็นต้องกักตัวแต่มีข้อจำกัดของที่พักอาศัยในการกักตัว ส่วนข้อห้ามในการเข้าพัก คือ ดูแลตนเองไม่ได้ มีภาวะพึ่งพิง มีผลตรวจหาเชื้อเป็นบวก ขอให้แจ้งทุกหน่วยงานได้รับทราบ | กองการเจ้าหน้าที่ | | |||
1. ให้หน่วยงานที่ได้รับข้อสั่งการ ดำเนินการและนำมารายงานในการประชุม EOC กรมอนามัย | หน่วยงานที่ได้รับข้อสั่งการจากการประชุม EOC | รับทราบ | |||
2. ที่ประชุม ศปค.สธ. และ PHEOC วันนี้ ได้พิจารณาการเสนอปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร โดยแบ่งเป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด (สีแดง) และพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 59 จังหวัด และเสนอยกระดับมาตรการตามระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ทั้งนี้จะนำเสนอในการประชุม ศบค.ต่อไป | รับทราบ | ||||
3.1 จากผลการสำรวจอนามัยโพล และการตรวจจับข่าว ประเด็นขนส่งสาธารณะ จึงให้ดำเนินการสื่อสาร สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรค COVID– 19 เมื่อใช้บริการขนส่งสาธารณะ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค | คณะทำงานสื่อสารฯ | | ดำเนินการผลิตและเผยแพร่เรียบร้อยแล้ว | ||
3.2 ให้พิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการลงพื้นที่ปฏิบัติการคุมเข้มมาตรการป้องกันโรคในระบบขนส่งสาธารณะ | คณะทำงานปฏิบัติการ | รับทราบ | |||
4. ให้จัดลำดับความสำคัญของมาตรการ/กลยุทธ์ตามความเสี่ยงของพื้นที่และความสนใจของสังคม รวมทั้งให้เตรียมพร้อมกลยุทธ์หลังระยะควบคุมเข้มข้น 14 วัน หรือระยะผ่อนคลาย | คณะทำงาน Thai Stop COVID Plus | อยู่ระหว่างดำเนินการหารือ | |||
5. ให้ประสานกรมควบคุมโรค (นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา พญ.วลัยรัตน์ ไชยฟู นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป) ส่งข้อมูลการจัดระดับความเสี่ยงของตลาด ร้านอาหาร และสถานประกอบการอื่นๆ และจัดทำข้อกำหนด หลักเกณฑ์ หรือมาตรการที่สามารถดำเนินการได้จริง และหน่วยงานระดับพื้นที่สามารถควบคุมกำกับได้แนบท้ายประกาศ ศบค. โดยปรับจากของเดิมที่เคยทำไว้แล้ว | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ คณะทำงาน STAG ศูนย์อนามัย และหน่วยที่เกี่ยวข้อง | | | ||
6.1 แจ้งเวียนแนวทางการดำเนินงานและมาตรการดูแลสตรีและเด็กปฐมวัย ให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกระดับรับทราบ พร้อมทั้งกลั่นกรองมาตรการให้สามารถเลือกและปรับใช้ได้ รวมทั้งให้ความสำคัญในการกำกับติดตามได้จริง และให้ถือแนวทางและมาตรการดังกล่าวข้างต้นไปปฏิบัติต่อไป | สำนักส่งเสริมสุขภาพ | | | ||
6.2 ให้ใช้ประเด็นโควิดเป็นโอกาสในการยกระดับงานสตรีและเด็กปฐมวัย และจัดทำข้อเสนอการยกระดับงานอนามัยสตรีและเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ ให้เสนอในการประชุมกลุ่มภารกิจหลักหรือคณะกรรมการพัฒนาวิชาการกรมอนามัย หรือ การประชุมกรมอนามัยต่อไป | สำนักส่งเสริมสุขภาพ | | พร้อมนำเสนอในการประชุมกรมอนามัย ครั้งที่ 8/2564 | ||
7.1 การจัดทำข้อเสนอขอรับการจัดสรรงบกลางและงบเงินกู้ ให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประธานที่ประชุมให้พิจารณาปรับชื่อแผนการจัดการด้านสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกกลุ่มวัยเป็นแผนลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย ทั้งนี้ ให้หน่วยงานเจ้าภาพหลักตามประเด็นที่กำหนดส่งรายละเอียดข้อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ ให้กองแผนงาน ดังนี้ – งบดำเนินงาน ส่งภายในวันที่ 19 เมษายน 2564 ก่อนเวลา 12.00 น. – งบลงทุน ส่งภายในวันที่ 23 เมษายน 2564 ทั้งนี้ ข้อเสนองบลงทุน ให้แนบรายละเอียดแสดงความพร้อมในการดำเนินการ (ใบเสนอราคา, รายละเอียด (Spec), แบบแปลน (Lay Out)) 7.2 ประสานทุกหน่วยงานพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานที่ต้องมีการประชุม ลงพื้นที่ และงบประมาณ ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2564 ภายใต้ช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19 | กองแผนงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | | | ||
8. ให้เตรียมการเรื่องการลงทะเบียนวัคซีนของบุคลากรกรมอนามัย และวิเคราะห์แบ่งกลุ่มหน่วยงานสำหรับการพิจารณา Work From Home โดยให้ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างจังหวัดประเมินความเสี่ยงของตนเองผ่าน Thai Save Thai | กองการเจ้าหน้าที่ | | 1.กองการเจ้าหน้าที่ลงทะเบียนผู้สมัครใจฉีดวัคซีน กลุ่มที่ 1 สำหรับผู้ให้บริการทางการแพทย์/สาธารณสุข และกลุ่ม 2 สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ส่ง รพ.บำราศฯเรียบร้อยแล้ว 2.มาตรการ WFH กองการเจ้าหน้าที่จัดทำมาตรการ และอยู่ระหว่างดำเนินการแจ้งเวียนหน่วยงาน | ||
9. จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID–19 จึงให้เตรียมแผนการจัดงานวิชาการกรมอนามัย และทางเลือกในการจัดงาน ภายใต้ช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค COVID–19 | สำนักทันตสาธารณสุข กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ | จัดทำแผนและทางเลือกแล้ว จำนวน 3 รูปแบบ รอการตัดสินใจของอธิบดีกรมอนามัย และจะมีการประชุมคณะทำงานฯ ในวันที่ 22 เมษายน 2564 | |||
1. เร่งรัดดำเนินงานตาม 5 ยุทธศาสตร์การควบคุมโรคโควิด-19 โดยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจกรมอนามัย คือ การควบคุมปัจจัยเสี่ยง ติดตาม กำกับ และประเมินผลตามมาตรการในสถานที่เสี่ยง ได้แก่ ร้านอาหาร และสถานประกอบการประเภทโรงงาน | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ สำนักส่งเสริมสุขภาพ และคณะทำงาน STAG | | | ||
2.1 จากการเสนอผลการสำรวจอนามัยโพล ให้มีการดำเนินการสื่อสารเชิงบวกเรื่องการรับรู้และความต้องการรับวัคซีนของประชาชน และประเด็นการเว้นระยะห่าง เพื่อให้สอดรับกับเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะกลุ่ม 15-24 ปี ที่ปฏิบัติตนตามมาตรการน้อยที่สุด 2.2 สื่อสารในเชิงวิชาการเรื่องการฉีดพ่นทำลายเชื้อ เพื่อสร้างความยอมรับในทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้น | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ, กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ | | | ||
3. จากการนำเสนอมาตรการและแผนการขับเคลื่อนความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีข้อเสนอเกี่ยวกับการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ดำเนินการจัดหาช่องทางการสื่อสารใหม่ (Tiktok/Clubhouse/Facebook live) ของกรมอนามัยควบคู่ไปกับการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุข โดย ใช้เวลาออกอากาศ ประมาณ 15 – 30 นาที ออกอากาศอย่างสม่ำเสมอ | คทง. HL ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | | | ||
4.1 เร่งรัดประสานความร่วมมือระหว่างกรมอนามัยและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจัดทำหนังสือราชการไปยังท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด และกรมอนามัยจัดทำหนังสือไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อให้หน่วยงานพื้นที่ได้รับทราบวิธีการปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกัน 4.2 ประสานความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึงภาคีเครือข่ายผู้สูงอายุ ในการจัดระบบช่วยเหลือเมื่อผู้สูงอายุบางส่วนที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือติดบ้านต้องแปรสภาพมาเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังจะมีคนประสานงานดูแลหรือไม่ หรือผู้สูงอายุติดเตียงที่ผู้ดูแลกลายเป็นคนต้องถูกกักกันจะมีระบบดูแลผู้สูงอายุติดเตียงหรือไม่ 4.3 ขอให้ตรวจสอบฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุใน 3 กลุ่มคือผู้สูงอายุติดเตียง ผู้สูงอายุติดบ้าน ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ที่ขาดหายไปโดยเฉพาะในเขตเมือง | สำนักอนามัยผู้สูงอายุ, สสม., ศูนย์อนามัย | | | ||
5. จากการรายงานการเตรียมพื้นที่สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองรองรับการกักตัวของบุคลากรกรมอนามัยกรณีมีความเสี่ยงต่อการติด COVID-19 ให้กองการเจ้าหน้าที่ประสานงานกับสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองหากมีความจำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่กรมอนามัยใช้บริการในพื้นที่กักกันระหว่างรอรับการรักษาจากสถานพยาบาล | กองการเจ้าหน้าที่, สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง | | | ||
6. เรื่องสืบเนื่องซึ่งต้องนำเข้าในการปะชุม OC กรมอนามัยครั้งถัดไป
| สำนักโภชนาการ, กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ คลัสเตอร์สตรีและเด็กปฐมวัย คทง. TSC+, STAG ทุกศูนย์อนามัย
| | | ||
1. จากสไลด์ที่แสดงแผนที่ประเทศไทย 3 สไลด์ ให้นำไปใช้วิเคราะห์ในการจัดทำกลยุทธ์กำหนดมาตรการในแต่ละพื้นที่ วิเคราะห์จังหวัดออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อกำหนดการใช้ TSC ในแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกัน | คณะทำงาน Thai Stop COVID Plus คณะทำงาน STAG และ HL คณะทำงาน STAG | | | ||
2. ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงจากรอบที่ผ่านมา จึงควรปรับการวางแผน การวางมาตรการ การดำเนินงานของกรมอนามัยทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ COVID–19 และที่ไม่เกี่ยวข้องกับ COVID–19 โดยกลยุทธ์ไม่ควรทำเหมือนกันทั้งประเทศ ให้มานำเสนอใน EOC ภายในวันที่ 16 เมษายน 2564 | | | |||
3. มาตรการด้านบุคคลสำนักส่งเสริมสุขภาพรับผิดชอบในการ Review แนวทางปฏิบัติในแต่ละกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และให้ศูนย์สื่อสารสาธารณะและHL นำการดำเนินงาน RRHL มาใช้ในการกรองข้อมูลและตอบคำถามให้กับประชาชนผู้สอบถาม | สำนักส่งเสริมสุขภาพ/ ศูนย์สื่อสารสาธารณะและHL Liaison/ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | | | ||
4. ในการประชุม EOC กรมอนามัย โดยผ่านระบบ Video Conference ขอให้ระดับผู้อำนวยการทุกคนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม EOC ให้ได้มากที่สุด หรือเชิญภาคีเครือข่ายมาร่วมนำเสนอในการประชุมได้ | | | |||
5.จากการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฯ กระทรวงสาธารณสุข (PHEOC) วันที่ 13 เมษายน 2564 แจ้งมติการประชุม ศบค.เล็ก ขอให้ส่วนราชการทุกหน่วยงานดำเนินการตาม Work From Home เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อในหน่วยงาน และเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างไรก็ตาม ให้รอเอกสารเป็นทางการจาก ศบค. อีกครั้ง | ทุกคณะทำงาน | | | ||
6. ให้มีการนำเสนอผลการสำรวจเรื่องการรับรู้และความต้องการรับวัคซีนของประชาชนอีกครั้ง โดยให้พิจารณาโพลจากแหล่งอื่นๆ นำมาวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอในการประชุม EOC กรมอนามัยในวันที่ 14 เมษายน 2564 | คณะทำงานอนามัยโพล | | | ||
7. ให้ทีมสื่อสารสาธารณะและHL สื่อสารสร้างความรอบรู้แนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชนที่กังวลแต่ไม่ยอมไปตรวจเชื้อ COVID-19 ประชาชนที่ตรวจพบติดเชื้อ COVID–19 แต่ไม่ไปรักษาที่โรงพยาบาล แลtประชาชนที่ยังสอบสวนไม่ทัน | ศูนย์สื่อสารสาธารณะและ HL | | | ||
8. ให้สำนักส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพ (คลัสเตอร์สตรีและเด็กปฐมวัย) ให้นำชุดความรู้และ Massage อ้างอิงจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย มาสังเคราะห์ข้อมูล ความเสี่ยง และแนวทางปฏิบัติมาสื่อสารในการปฏิบัติลดเพื่อความกังวลในสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และ ทารกที่ได้รับนมแม่ โดยสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ สำหรับกลุ่มวัยอื่นๆ ให้เตรียมจัดทำแนวทางปฏิบัติ คำแนะนำ และข้อความที่จะทำการสื่อสารในแต่ละกลุ่มวัยและนำเสนอที่ประชุม EOC กรมอนามัยต่อไป | สำนักส่งเสริมสุขภาพ /คลัสเตอร์สตรีและเด็กปฐมวัย/คลัสเตอร์วัยเรียนวัยรุ่น/คลัสเตอร์วัยทำงาน/คลัสเตอร์ผู้สูงอายุ | | | ||
4. จากการนำเสนอโครงสร้างการบริหารจัดการ Thai Stop COVID Plus (TSC+) เพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการยกระดับความสะอาดและความปลอดภัยด้านสุขาภิบาลและอนามัยส่วนบุคคลในสถานประกอบการ มีมติการประชุม 4 ประเด็น ดังนี้ 1. ปรับภารกิจ วัตถุประสงค์ให้ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน 2. เนื่องจากแพลตฟอร์ม TSC+ เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขภาพ ควรมีมาตรการครอบคลุมทั้งด้านสถานประกอบการและประชาชนทุกกลุ่มวัย จึงกำหนดให้งานด้านส่งเสริมสุขภาพร่วมดำเนินการขับเคลื่อนด้วย 3. กรอบโครงสร้าง 1. งานการจัดการ วิชาการ และข้อมูลดำเนินการได้ดีแต่ให้มุ่นเน้นการจัดการข้อมูลและเพิ่มความเร็วในการจัดการข้อมูลเป็นสำคัญ 2. งานการจัดการด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ให้เพิ่มความเร็วในการดำเนินงาน 3. งานการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ให้รองรับการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เชิงรุก รวมทั้งการพัฒนาระบบสายด่วน (Call Center) 4. งานการประสานและสนับสนุนเครือข่าย มุ่งเน้นส่งเสริม inspector เช่น เครือข่ายสมาคมต่างๆ สามารถกำกับตนเอง รวมถึงกลไกกำกับติดตามระดับจังหวัดบูรณาการทุกภาคส่วน 4. สำหรับการโยกย้ายหรือกำหนดบุคลากรเพื่อดำเนินงานประจำศูนย์ฯ TSC+ ให้นำรูปแบบตามโครงการก้าวท้าใจปรับและคิดใหม่ ทั้งนี้ ให้คณะทำงานและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับรายละเอียดข้อเสนอศูนย์ฯ TSC+ ตามมติการประชุมดังกล่าวข้างต้น และนำเสนอเพื่อพิจารณาเห็นชอบในการประชุม EOC กรมอนามัย ในวันที่ 15 เมษายน 2564 ต่อไป สำหรับการจัดทำคำสั่งคณะทำงาน TSC+ ให้ดำเนินการปรับและเสนอเพื่อให้อธิบดีกรมอนามัยลงนามเห็นชอบตามระเบียบราชการ | คณะทำงาน Thai Stop COVID Plus และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | | | ||
5. สืบเนื่องจากรัฐบาล มีนโยบายให้หน่วยงานราชการมีการดำเนินงาน Work From Home จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564 (อย่างไม่เป็นทางการ) อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินงานตามแผน BCP ของกรมอนามัย เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคในหน่วยงาน และเป็นการตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค ทั้งนี้ มาตรการ WFH ดังกล่าวข้างต้นให้หน่วยดำเนินการ ดังนี้ 1. วิเคราะห์และจัดกลุ่มประเภทงาน และกลุ่มตำแหน่งใด สามารถดำเนินงานแบบ WFH ได้ โดยไม่ขัดกับงานที่มีความจำเป็น สำหรับในเขตภูมิภาคให้พิจารณาพื้นที่ตั้งของสำนักงานกับสถานการณ์การระบาด เป็นต้น 2. จัดทำแนวทางการสอบสวนไทม์ไลน์สำหรับเจ้าหน้าที่กรมอนามัยที่ติดเชื้อ และกลุ่มสัมผัสเสี่ยง ร่วมกับสำนักส่งเสริมสุขภาพ และนักระบาดวิทยาของกรมอนามัย 3. สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่กรมอนามัย ซึ่งติดเชื้อให้ไปรับการตรวจประเมินและรักษายังสถานพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดการรักษาล้าช้า และก่อให้เกิดอาการรุนแรง โดยช่วยประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลให้เจ้าหน้าที่กรมอนามัยได้รับการรักษา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจสำหรับเจ้าหน้าที่ 4. การกักตัวของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในส่วนภูมิภาค ให้ศูนย์อนามัยพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัด Quarantine area สำหรับดูแลบุคลากรในสังกัดที่ไม่สามารถกักกันตนเองในที่พักอาศัยได้ และสำหรับส่วนกลาง ให้สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง พิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับใช้อาคารผู้ป่วยในเดิมเป็น Quarantine area สำหรับดูแลบุคลากรของกรมอนามัยที่เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงและไม่สามารถกักกันในที่พักอาศัยได้ 5. มาตรการสำหรับบุคลากรกรมอนามัย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำให้ขึ้นกับดุลพินิจของผู้บริหารหน่วยงานเป็นกรณีๆ ไป ทั้งนี้ ให้หน่วยดำเนินการรายงานความก้าวหน้าในการประชุม EOC กรมอนามัยต่อไป | กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการกรม ศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง และทุกหน่วยงาน | | | ||
6. เนื่องจากการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการระบาดของโรค COVID–19 ที่ผ่านมามุ่งเน้นงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก จึงขอให้งานด้านส่งเสริมสุขภาพทุกกลุ่มวัย พิจารณาและจัดทำกรอบการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องการดำเนินเกี่ยวกับ COVID–19 และนำเสนอในการประชุม EOC กรมอนามัยต่อไป | คลัสเตอร์ทุกกลุ่มวัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ | | ดำเนินการเรียบร้อย สำนักอนามัยผู้สูงอายุ นำเสนอในที่ประชุม EOC วันที่ 14 เมษายน 2564 คลัสเตอร์สตรีและเด็กปฐมวัย นำเสนอในที่ประชุม EOC วันที่ 15 เมษายน 2564 | ||
1.เพื่อทราบและดำเนินการ จากการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฯ กระทรวงสาธารณสุข (PHEOC) วันที่ 12 เมษายน 2564 แจ้งเปลี่ยนกำหนดประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข (วาระพิเศษ) ในวันที่ 13 เมษายน 2564 เป็นวันที่ 14 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทรสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม การประชุมศูนย์ปฏิบัติการฯ กระทรวงสาธารณสุข (PHEOC) ยังคงจัดประชุมทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ และให้ผู้แทนกรมอนามัยเข้าร่วมการประชุมตามกำหนดการเดิม | ทุกคณะทำงาน | | รับทราบและดำเนินการ ตามข้อสั่งการ | ||
2. สรุปรายงานจำนวนการตอบแบบสำรวจและผลการสำรวจอนามัยโพลรายเขตและรายจังหวัดเสนอที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข (BMW) และคืนข้อมูลผลการสำรวจไปยังเขตสุขภาพ เพื่อกระตุ้นการตอบแบบสำรวจให้เพิ่มมากขึ้นในแต่ละจังหวัด (โดยเฉพาะจังหวัดที่มีการตอบจำนวนน้อย) | นพ.ดนัย ธีวันดา (รองอธิบดีกรมอนามัย) คณะทำงานอนามัยโพล | | รับทราบและดำเนินการ ตามข้อสั่งการ | ||
3. สื่อสารและเผยแพร่แนวทางปฏิบัติเรื่องการกักตัวผู้ต้องกักตนเอง และกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังในวงกว้าง เบื้องต้นมุ่งเน้นจังหวัดใหญ่ เพื่อลดข้อห่วงกังวลของประชาชนต่อไป | คณะทำงานสื่อสารฯ คณะทำงาน HL ศูนย์อนามัย | | รับทราบและดำเนินการเผยแพร่แนวทางปฏิบัติฯ | ||
4. ติดตามสถานการณ์ระบาดในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการสื่อสารความเสี่ยงและสร้างความรอบรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ในส่วนของการขอรับสนับสนุนวัคซีนสำหรับเจ้าหน้าที่ ขอให้แต่ละศูนย์อนามัย ประสานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอย่างใกล้ชิด | ทุกศูนย์อนามัย | | รับทราบทุกหน่วยงาน | ||
5. ข้อสังเกต เพื่อประกอบการดำเนินงาน 1. การจากการนำเสนอผลการดำเนินงาน Thai Stop COVID Plus ให้มีการประมวลข้อมูลให้กระชับและเข้าในง่าย เพื่อลดประเด็นคำถามหากมีการนำเสนอในการประชุม ศบค. หรือการประชุมอื่นใดที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนการลงทะเบียนประเมินตนเองแยกระดับจังหวัด รวมถึงแต่ละ setting ปรับรูปแบบนำเสนอให้เข้าใจง่ายในระยะเวลาอันสั้น โดยให้ความสำคัญเรื่องปริมาณการเข้าประเมินมากที่สุด ถัดมาเป็นการดำเนินงานเชิงคุณภาพของแต่ละ setting ซึ่งผ่านและไม่ผ่านการประเมินรับรองตนเอง เสนอในการประชุม OC กรมอีกครั้ง 2. จากการเสนอกรอบแนวทางการบริหารจัดการและกำกับติดตามการดำเนินงานของ Thai Stop COVID Plus มติที่ประชุมเห็นชอบ 1. ยกระดับการบริหารจัดการ Thai Stop COVID Plus โดยให้ดำเนินการ ดังนี้ 1) จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจ (Unit) หรือศูนย์บริหารจัดการ Thai Stop COVID Plus 2) สรรหาบุคลากรประจำหน่วย โดยบูรณาการจากทุกสายงานและสามารถจัดจ้าง outsource เพื่อดำเนินงานได้ 3) งบประมาณเพื่อประกอบการดำเนินงาน กองแผน/กองคลัง ทั้งนี้ ให้คณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำข้อเสนอการยกระดับการบริหารจัดการ Thai Stop COVID Plus เสนอในการประชุม EOC กรมอนามัย ภายในวันที่ 14 เมษายน 2564 ต่อไป 2. ยกระดับกลยุทธ์การดำเนินงาน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดและมาตรการดำเนินงานของแต่ละจังหวัด รวมถึงสถานประกอบการมีความแตกต่างกัน ดังนั้น การเสนอกลยุทธ์และมาตรการดำเนินงานภาพรวมที่สามารถใช้ได้ทุกจังหวัด อาจมีผลต่อการส่วนร่วมในการดำเนินงาน จึงให้คณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาประเด็นต่อไปนี้ ได้แก่ ความสามารถในการบริหารจัดการและการให้ความสำคัญ รวมถึงการเข้มงวดในการควบคุมกำกับของแต่ละจังหวัด ความตื่นตัวและการมีส่วนร่วมของประชาชนในแต่ละจังหวัด ทั้งนี้ ให้จัดกลุ่มจังหวัดตามสถานการณ์การระบาดก่อนกำหนดกลยุทธ์และมาตรการการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไป | คณะทำงาน Thai Stop COVID Plus ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะทำงาน Thai Stop COVID Plus | | รับทราบและดำเนินการ ตามข้อสั่งการ รับทราบและดำเนินการ ตามข้อสั่งการ | ||
6.จากการเสนอ (ร่าง) คำแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้มีความเสี่ยงระดับต่างๆ ให้มีการเพิ่มเติมการใช้แอพพลิเคชั่นในการประเมินความเสี่ยง หรือแอพพลิเคชั่น ไทยเชฟไทย ในคำแนะนำฯ ทั้งนี้ ให้แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบต่อไป | คณะทำงาน SRT | | รับทราบและดำเนินการ ตามข้อสั่งการ | ||
7. ให้บรรจุประเด็นในวาระสืบเนื่อง ดังนี้ 1. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเรื่องบุคลากรกรมอนามัยซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัส 2. รายงานแผนประคองกิจการ (Business Continuity Plan) กรมอนามัย | กองการเจ้าหน้าที่ กลุ่มพัฒนาระบบบริหารราชการ | | รับทราบและดำเนินการ ตามข้อสั่งการ | ||
1. จากกรณีปัญหาเตียงไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กรมอนามัยควรดำเนินการดังนี้ 1. จัดทำแนวทางปฏิบัติตนในระหว่างกักตัวอยู่ที่พักและการเดินทางไป–กลับโรงพยาบาลสำหรับผู้ที่ติดเชื้อแต่ต้องรอเตียงโรงพยาบาล ผู้ที่รอผลการตรวจเชื้อ หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยปรับปรุงแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ที่สัมผัสเสี่ยงสูงที่มีอยู่แล้วให้ทันต่อสถานการณ์ และขับเคลื่อนแนวทางผ่านทางการประชาสัมพันธ์กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาล สมาคมโรงพยาบาลเอกชน และโรงแรม 2. เปิดศูนย์สำหรับให้ข้อมูลคำแนะนำวิชาการของกรมอนามัย ใน TSC Plus และ THAI SAVE THAI โดยมีการจัดเวียนทีมนักวิชาการให้คำตอบแก่ประชาชน | คณะทำงาน STAG คณะทำงานวิชาการ คณะทำงาน TSC Plus/ กองแผนงาน | | รับทราบ และดำเนินการจัดทำแนวทางดังกล่าวเพื่อนำเสนอที่ประชุมต่อไป รับทราบและดำเนินการตาม ข้อสั่งการ | ||
2. กรณีพบเจ้าหน้าที่กรมอนามัยติดเชื้อไวรัส COVID–19 และผู้สัมผัส มีข้อสั่งการ ดังนี้ 1. จัดทำแนวทางปฏิบัติ สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ที่ติดเชื้อแล้วต้องรอเข้าโรงพยาบาล คนทีมีความเสี่ยง แต่รอ และผู้สัมผัสปานกลางจะต้องทำแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน 2. การทำ BIG Cleaning Day ในจุดเสี่ยงต่างๆ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ แนวทางที่กรมอนามัยได้ กำหนดไว้ กำกับให้แม่บ้านทำความสะอาดใช้น้ำยาเช็ดจุดสัมผัสบ่อยและตีกรอบเส้นทางทำงาน เส้นทางเดิน ห้องน้ำ ลิฟต์ ประตู 3. นำแนวทางมาตรการป้องกัน COVID–19 มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะโรงอาหาร จุดขายของ ต้องมีมาตรการเข้ม เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในองค์กร | กองการเจ้าหน้าที่ สำนักเลขานุการกรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | | ดำเนินการเฝ้าระวังและคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงของตนเองเบื้องต้น และอยู่ระหว่างทบทวนมาตรการให้สอดคล้องกับ app.ไทยเชฟไทย จะดำเนิน การแจ้งให้หน่วยงานรับทราบต่อไป รับทราบ อยู่ระหว่างการดำเนินการตามข้อสั่งการและปฏิบัติตามแนวทางมาตรการป้องกัน | ||
3. ข้อแนะนำรูปแบบการประชุมหาแนวทางปฏิบัติในสถานบันเทิง ควรรีบดำเนินการ โดยมีประเด็นที่สำคัญ 4 ประเด็น ดังนี้ 1. คนที่เข้าไปที่ทำงานหรือใช้บริการสถานบันเทิงจะจัดการลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อในสถานบันเทิงอย่างไร 2. ปฏิสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดการใกล้ชิด ระยะเวลาทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการจะวางแนวทางลดความเสี่ยงด้วยวิธีใด อย่างไร 3. ลักษณะของบริการที่มีความเสี่ยง การสุขาภิบาล การสุขาภิบาลอาหารและน้ำ การดื่ม การรับประทานอาหาร มีวิธีการจัดการอย่างไร 4. อนามัยสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะระบบระบายอากาศ เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิด เพดานไม่สูงจะปรับอย่างไรให้มีระบบระบายอากาศให้หมุนเวียน | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมด้วยสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สำนักส่งเสริมสุขภาพ และสำนักอนามัยการเจริญพันธ์ | | ทุกหน่วยงานรับทราบ | ||
1. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการการประชุม EOC ผ่านระบบ Video Conference โดยให้เตรียมพร้อมด้านเอกสารประกอบการประชุม กลั่นกรองประเด็นเสนอ และแก้ไขปัญหาเรื่องความต่อเนื่อง | Liaison กองแผนงาน และทุกคณะทำงาน | | |||
2. จากการรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฯ (PHEOC) กระทรวงสาธารณสุข มุ้งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ป่วย เช่น กลุ่มอายุ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อไป | STAG | | |||
3. วิเคราะห์ผลอนามัยโพลในประเด็นที่สังคมสนใจตามสถานการณ์ และให้สรุปผลอนามัยโพลระดับเขตและจังหวัด เพื่อนาเสนอในการประชุม BMW /PHEOC กระทรวงสาธารณสุข / ศบค. ชุดเล็ก / เป็นระยะๆ | คทง.อนามัยโพล และ STAG | | |||
4. เร่งรัดการดาเนินการเกี่ยวกับการระบายอากาศในสถานบันเทิง ผับ บาร์ โดยเสนอให้มีการจัดสัมมนาวิชาการเพื่อปรึกษาหารือ กาหนดมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมทั้งจากมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน รวมถึงการระบายอากาศในอาคารประเภทสนามกีฬา สนามมวย และตลาด พร้อมทั้งส่งเสริมการทดลองใช้แอพพลิเคชั่น THAI SAVE THAI เพื่อคัดกรองตนเอง | STAG, | | |||
5. Infographic เรื่องการคัดกรองตนเองก่อนกลับบ้าน เพื่อปกป้องผู้สูงอายุและครอบครัวปลอดโควิดด้วยแอพพลิเคชั่น THAI SAVE THAI ให้มีการปรับรายละเอียดเนื้อหาสาคัญที่ต้องการสื่อสาร (Key massage) และรูปภาพ โดยมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงของผู้สูงอายุเป็นสำคัญ | สำนักอนามัยผู้สูงอายุ, คทง.สื่อสารฯ, HL | | |||
6. ปรับคำแนะนำและแนวปฏิบัติสำหรับสถานบันเทิง ผับ บาร์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน | กองแผนงาน, คทง. TSC Plus | | |||
1. การสื่อสารความรอบรู้และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ 1. การสื่อสารสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 1) จากสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยรายวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จึงให้มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับเทศกาลสงกรานต์ด้วย 2) รายงานความก้าวหน้าและรับฟังข้อเสนอแนะในประเด็นการสื่อสารเรื่องการคัดกรองตนเองก่อนกลับบ้าน เพื่อปกป้องผู้สูงอายุและครอบครัวปลอดโควิดด้วยแอพพลิเคชั่นTHAI SAVE THAI เบื้องต้นมุ่งเน้นประเด็นการลดรับ-ส่งเชื้อสู่ครอบครัว อวยพรทางไกล มุ่งเน้นมาตรการ DMHTT ตรวจสอบตนเองด้วย THAI SAVE THAI และตรวจสอบสถานประกอบการด้วย Thai Stop COVID Plus ในการประชุมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการฯ (EOC) กรมอนามัย ในวันที่ 10 เมษายน 2564 ผ่านระบบ Video Conference : Cisco WebEx เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป 2. การสื่อสารช่วงเทศกาลสงกรานต์ เห็นชอบแผนการสื่อสารช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยให้เผยแพร่เป็นระยะๆ 3. การสื่อสารกับประชาชน ผู้กักตัว และผู้ต้องเฝ้าระวังจัดทำคำแนะนำ แนวทางปฏิบัติ และคำถามที่พบบ่อย (FAQ) สำหรับการกักกันตนเอง ณ ที่พักอาศัย สืบเนื่องจากมาตรการกระตุ้นให้กลุ่มเสี่ยงตรวจเชื้อโควิด ประกอบกับมาตรการถ้าตรวจพบเชื้อสถานพยาบาลต้องรับรักษาทุกราย ส่งผลให้สถานพยาบาลหลายแห่งมีจำนวนเตียงไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ที่ตรวจเจอเชื้อหลายรายต้องกักกันในที่พักอาศัยตนเอง เพื่อรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับตัวไปรักษาต่อไป ซึ่งขณะกักกันอาจแพร่กระจายเชื้อสู่สมาชิกในครอบครัวได้ | คณะทำงาน HL ศูนย์สื่อสารฯ และคณะทำงาน STAG และประสานกับสำนัก/กองที่เกี่ยวข้อง | | |||
2.มาตรการสำหรับบุคลากรกรมอนามัย (กลุ่มสัมผัสเสี่ยงต่ำ) จากการรายงานพบเจ้าหน้าที่กรมอนามัย ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำจากประวัติสัมผัสกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จึงให้มีมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วยวิธีการ DMHTT อย่างเคร่งครัด เว้นระยะห่างขณะปฏิบัติงาน Work Form Home และเฝ้าระวังสังเกตอาการตนเองอย่างต่อเนื่อง | กองการเจ้าหน้าที่ | | ได้ดำเนินการทำหนังสือแจ้งให้หน่วยงานทราบ | ||
3. การทดสอบแอพพลิเคชั่น THAI SAVE THAI กับบุคลากรกรมอนามัย ข้อเสนอเพื่อพัฒนาระบบการประเมินและคัดกรองตนเองผ่านแอพพลิเคชั่น THAI SAVE THAI เพิ่มความครอบคลุมพนักงานทุกสถานประกอบการ และสื่อสารประชาสัมพันธ์การใช้มากขึ้น โดยมุ่งเน้นการประเมินประวัติเสี่ยง อาการ และพฤติกรรมสุขอนามัย และในวันที่ 16 เมษายน 2564 เจ้าหน้าที่กรมอนามัยทุกคนต้องประเมินและคัดกรองตนเองผ่านแอพพลิเคชั่น THAI SAVE THAI และแสดงผลการประเมินต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของกรมอนามัยก่อนเข้าปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ถ้าพบการประเมินมีความเสี่ยงสูงให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาและส่งใบลาตามระบบต่อไป | ทุกหน่วยงาน และกองแผนงาน | | |||
4. ระบบ Thai Stop COVID Plus สืบเนื่องจากหนังสือราชการของศูนย์บริการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ขอให้จังหวัดทุกจังหวัดเร่งตรวจสอบสถานประกอบการ โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง ประเมินตนเองโดยใช้แพลตฟอร์ม Thai Stop COVID Plus ในสถานประกอบการ กิจการ กิจกรรม จึงมีมติสั่งการ ดังต่อไปนี้ 1. รายงานผลการเข้าประเมินในระบบ ผลการประเมินตนเอง และการกำกับติดตามในการประชุม ศบค. อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้กับศูนย์อนามัยและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 2. นำเสนอการตรวจสอบและกำกับติดตาม (Regulation System) ในการประชุมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการฯ (EOC) กรมอนามัยอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 12 เมษายน 2564 เป็นต้นไป (เข้าวาระสืบเนื่อง) 3. จากการกำหนดให้ผู้พิทักษ์อนามัย/อาสาสมัคร กำกับและเยี่ยมเสริมพลังสถานประกอบการที่ไม่ผ่านการรับรองตนเอง ให้พิจารณาเตรียมของบกลางเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานข้างต้น เช่น ค่าพัฒนาระบบ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่าง ค่าตรวจวิเคราะห์ ระบบLogistic เป็นต้น | คณะทำงาน Thai Stop COVID Plus | | |||
5. ข้อเสนอปรับรูปแบบการประชุมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการฯ (EOC) กรมอนามัย เพื่อความกระชับเวลาและประสิทธิภาพในการประชุม
| คณะทำงานที่เกี่ยวของ | | |||
จากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในปัจจุบัน และการมอบหมายในที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข มีข้อสั่งการ ดังนี้ 1. ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดและกรุงเทพมหานคร.แจ้งให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ใน พรบ.สาธารณสุขฯ ประเด็นสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ประเด็นอนามัยสิ่งแวดล้อม ประเด็นสุขอนามัย พฤติกรรมเสี่ยงของคนและพนักงาน พร้อมแนบแนวทางการปฏิบัติของสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ส่งภายในวันที่ 9 เมษายน 2564 | ศูนย์กฎหมายฯ | | |||
2. ในการประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 9 เมษายน 2564 เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ เพื่อนำเสนอในที่ประชุม โดยเสนอเอกสารให้ นพ.ดนัย ธีวันดา พิจารณาและปรับตารางผู้ที่เข้าประชุมPHEOC กระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากได้มีนโยบายให้มีการประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุข ทุกวันทำการ | นพ.ดนัย ธีวันดา Liaison/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | | |||
3. ขอให้จัดทำแนวทางการปฏิบัติของสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ โดยใช้ แนวทางของ Good Factory Practice เป็นฐานในการปรับให้เหมาะสม | สำนักอนามั้ยสิ่งแวดล้อม | | |||
4. สื่อสาร รณรงค์การใช้ SAVE THAI การคัดกรองด้วยตนเอง และสื่อสารประเด็นสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยต้องเป็นแนวทางสุขอนามัยในระดับสูง | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | | |||
5. จัดเสวนาในประเด็น “แนวทางการเปิดผับบาร์อย่างปลอดภัย” โดยเชิญศิลปินที่เป็นข่าว ผู้ประกอบการผับ บาร์ ร่วมเสวนา จะทำให้เป็นข่าวที่น่าสนใจ | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | | |||
6. TSC ให้แบบประเมินเป็นระดับ ทำ/ทำบางครั้ง/ไม่ทำ และปรับเนื้อหาข้อแนะนำ แบบประเมินให้ปฏิบัติได้จริง โดยเฉพาะเรื่องผับ บาร์ | TSC ทุกสำนัก/ที่ดูแล Setting | | |||
7. ในกรณีของผู้ที่ถูกกักกันอยู่รวมกันในสถานที่กักกัน ควรมีโปแกรมการจัดกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม อาหารมีผลต่อสุขภาพดี ชีวิตในการกักตัวมีความผ่อนคลาย คลายเครียด | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ/กองกิจกรรมทางกาย/สำนักโภชนาการ | | |||
HL 2. ประชาสัมพันธ์ให้คนทุกคนเป็น HERO เพื่อรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันการแพร่ระบาด รวมถึงการจัดปาร์ตี้ควรสื่อสารประเด็นให้รับผิดชอบ ยกระดับความรับผิดชอบของคนคัดกรองอาการ ประวัติและพฤติกรรม | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | | |||
3.1 SAVE THAI ให้ใช้กับเจ้าหน้าที่กรมอนามัยทุกคน 3.2 ออกหนังสือย้ำมาตรการป้องกันสำหรับบุคลากรของกรมทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตปกติ 3.3 ให้หัวหน้าหน่วยงานนำแนวทาง Work Form Home มาปรับใช้กับบุคคลที่มีภาวะเสี่ยง 3.4 ประสานกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องการประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุขช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ถ้ามีการจัดประชุมให้จัดทำตารางหมุนเวียนบุคลากรเข้าประชุม และต้องมีการรายงานการประชุม EOC กรมอนามัย | กองการเจ้าหน้าที่ ทุกหน่วยงาน Liaiason | | |||
3.5 สำหรับการประชุม EOC กรมอนามัย มอบให้ STAG ทำแผนการสื่อสารในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ และมอบให้ทีมLiaison ประสานผู้จัดประชุมPHEOC กระทรวงสาธารณสุขในประเด็นการจัดประชุมช่วงเทศกาลสงกรานต์ และออกแบบวิธีการประชุม เช่นมีการใช้เทเลฯ | STAG/Liaison/ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | | |||
3.6 การจัดทีมปฏิบัติการ (OP) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ดังนี้ 1. วันที่ 10 เมษายน 2564 กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และ ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย 2. วันที่ 11 เมษายน 2564 กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ และ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ 3. วันที่ 12 เมษายน 2564 สำนักส่งเสริมสุขภาพ 4. วันที่ 13 เมษายน 2564 สำนักทันตสาธารณสุข และสำนักโภชนาการ 5. วันที่ 14 เมษายน 2564 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ และศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข 6. วันที่ 15 เมษายน 2564 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม | OP/ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | |