คุณกำลังมองหาอะไร?

ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการ

การประชุมคณะทำงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัยด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

  

  เดือนสิงหาคม  ปีงบประมาณ 2565

 

0

 

 

0

 

 

0

 

 

 

Date_29

1.“แนวโน้มพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโรค DMH และการสังเกตพฤติกรรมการป้องกันโรคของผู้อื่น” ด้านมาตรการป้องกันโรค ข้อ 1 ควรใช้มาตรการเฝ้าระวังฯ และควบคุมการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง และ ข้อ 2 ประชาสัมพันธ์/กระตุ้นจิตสำนึกของประชาชนปฏิบัติตามหลัก DMH อย่างต่อเนื่อง
 - ให้มีการควบคุมคุณภาพในการสำรวจ โดยสำรวจเชิงปริมาณหรือเป็นข้อคำถาม ก่อนประกาศเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในมาตรการป้องกันโรค

  - การสื่อสารประชาสัมพันธ์ มีข้อเสนอแนะให้มีการชี้ประเด็นหรือเรื่องที่ต้องสร้างความรอบรู้ให้ประชาชน โดยให้มีการสังเคราะห์ข้อมูลก่อนทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์

กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

 

 

 

 

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ

 

 

2.(ร่าง)แผนข้อเสนอการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีข้อเสนอแนะ ให้ขับเคลื่อนประเด็นสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน (fundamental) หรือโรคอื่น ๆ ที่พึงระมัดระวัง เช่น สุขอนามัยส่วนบุคคล โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ การล้างมือ/การทำความสะอาด (จุดที่สัมผัสรวมกัน)ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ

 

 

3. การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขเพื่อการบริหารจัดการโรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Disease) มีข้อเสนอแนะในการพิจารณาชื่อกฎหมาย เนื่องจากมีการลดระดับความรุนแรงโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง อาจพิจารณาใช้คำอื่น ๆ 

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม

กองกฎหมาย

 

 

4. แผนการเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 เข้าสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง มีข้อเสนอแนะประเด็นการสร้างการรับรู้ประชาชน ให้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในการเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 และกำหนดแนวทางการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการเมื่อประกาศโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ระดับจังหวัดเพื่อมอบ คสธจ. ดำเนินการต่อไป

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ

 

กองแผนงาน

 

 

รายงานอนามัยโพล มีข้อสั่งการ ดังนี้

1.1 นำผลการสำรวจไปประกอบการสื่อสาร ในประเด็นเหตุผลที่ไม่สามารถปฏิบัติหรือปฏิบัติได้บางครั้ง เน้นย้ำให้ประชาชนแต่ละกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กนักเรียนนักศึกษา ให้มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองอย่างต่อเนื่อง

1.2 จัดทำคำแนะนำสำหรับประชาชน เกี่ยวกับวิธีลด ป้องกันความเครียด และวิธีจัดการตนเองเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ จากสถานการณ์โควิด - 19

พฤติกรรมการป้องกันตนเองต่อการรับสัมผัสและแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แบ่งตามกลุ่มอายุ

1.3 สืบเนื่องจากการอภิปรายในสภา วาระ 2 มีส่วนที่พาดพิงกรมอนามัย ให้นำข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ มาปรับใช้ในการจัดทำงบประมาณ ขาลง ปี 66 และงบประมาณ ปี 67 ให้มีความชัดเจน และมีความเข้าใจที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ลด ละ เลี่ยง ในสิ่งที่ทำมาโดยตลอดแต่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์แล้ว เช่น การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ต้องเปลี่ยนรูปแบบ เพราะผลที่เกิดขึ้นไม่สอดคล้องสถานการณ์ และต้องสร้างความแตกต่างให้เห็นชัดเจนระหว่างกรมอนามัยกับ สสส. เนื่องจากกรมอนามัยเป็นเจ้าภาพหลักในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ

 

 

กรส.

 

 

คลัสเตอร์วัยเรียน / คลัสเตอร์

วัยทำงาน / คลัสเตอร์ผู้สูงอายุ

กองแผนงาน และทุกหน่วยงาน

 

 

 

ดำเนินการตามข้อสั่งการ

 

หน่วยงานรับทราบ

รายงานความก้าวหน้ากล่อง Operation/Logistic/HL มีข้อสั่งการ ดังนี้

2.1 วางแผนการบำรุงรักษาและพัฒนาระบบบริหารจัดการของสายด่วนกรมอนามัย 1478 ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางในการตอบคำถาม แก้ไขปัญหาในการใช้งานเกี่ยวกับ Platform กลางของกรมอนามัย ทั้งสมุดบันทึกสุขภาพออนไลน์ / Platform อนามัยสิ่งแวดล้อม ที่กำลังจะดำเนินการในปี 2566

สำนักงานเลขานุการกรม

    หน่วยงานรับทราบ

รายงานการยกระดับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน มีข้อสั่งการ ดังนี้

3.1 ดำเนินการตามแผนฯ ที่เสนอ เพิ่มเติมภาคีเครือข่ายที่มีอยู่เดิม เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม SME เป็นต้น และวิเคราะห์การดำเนินงานในส่วนของ Food delivery ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงาน ให้เข้ามาอยู่ในระบบ platform ของกรมอนามัย

3.2 ถอดบทเรียนความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกรมอนามัย เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุมรับทราบต่อไป

คลัสเตอร์วัยทำงาน

 

 

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
    หน่วยงานรับทราบ

รายงานการยกระดับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีข้อสั่งการ ดังนี้

4.1 เห็นชอบให้ดำเนินงานตามที่เสนอ และยกระดับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาพกว้างให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มผู้สูงอายุให้มากที่สุด เช่น ผลักดันการใช้งาน Bluebook ให้ครอบคลุมร้อยละ 80

4.2 ทุกหน่วยที่มี Platform ต้องดำเนินงานภายใต้ API กลางกรมอนามัย โดยได้มีการยกระดับกองดิจิทัลเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ระบบ

 

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ

 

ทุกหน่วยงาน
    หน่วยงานรับทราบ

วาระอื่นๆ มีข้อสั่งการ ดังนี้

5.1 ผอ.กองแผนงานขอบคุณหน่วยงานที่เข้าร่วมรับการประเมินและให้ข้อมูลในการติดตามประเมินผลโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (งบพรก.เงินกู้ ปี 63) ซึ่งได้รับคำชื่นชมจาก TRIS ในฐานะผู้ประเมินฯ ว่ากรมอนามัยมี Best Practice ในการดูแลผู้ป่วยโควิด และสามารถบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพเข้าไปด้วย จึงขอให้หน่วยงานที่ทำ Guideline การดูแลโภชนาการและการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ที่อยู่ใน Cohort ward / รพ.สนาม ส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้กองแผนงาน เพื่อนำส่ง TRIS ต่อไป

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ

และสำนักโภชนาการ

    หน่วยงานรับทราบ
1. สรุปข้อมูลบุคลากรของกรมอนามัยที่ติดโควิด – 19 ถึงปัจจุบัน นำเสนอครั้งต่อไป กองการเจ้าหน้าที่    
2.1 นำผลสำรวจอนามัยโพลไปใช้ประกอบการสื่อสาร เน้นย้ำ ให้ประชาชนยังคงมีพฤติกรรมป้องกันตนเองทั้งการสวมหน้ากาก ล้างมือและ เว้นระยะห่างอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคโควิด – 19 โดยเฉพาะประเด็นที่สังเกตพบเห็นผู้อื่นปฏิบัติได้น้อย ได้แก่ การสวมหน้ากากตลอดเวลา การให้ผู้สูงอายุ สวมหน้ากากเมื่ออยู่กับผู้อื่น
2.2 ประชาสัมพันธ์การตอบแบบสำรวจอนามัยโพลในพื้นที่ ตามแนวทาง Sentinel ที่กำหนด (อย่างน้อย 200 คนต่อจังหวัด) เพื่อให้ได้ข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด – 19 อย่างต่อเนื่อง และได้จำนวนที่สะท้อนผลภาพเขตและจังหวัดได้

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ 

 

 

ทีมอนามัยโพล

ศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 และ สสม.
   
3.1 ให้ทีมยุทธศาสตร์วิเคราะห์สถานการณ์ ข้อเท็จจริงของการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นและลดลงเป็นช่วง ๆ จากวันหยุดราชการที่มีติดต่อกันหลายวัน การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จึงให้ใช้เป็นโอกาสพิจารณาวางแผนดำเนินการในส่วนของงานของกรมอนามัยในช่วงต่อไป ดังนี้ กิจการและกิจกรรม ปรับมาตรการให้สอดรับกับสถานการณ์ และประกาศของกองกฎหมายที่ให้ทำตามมาตรการจังหวัดลงสุ่มกิจกรรม กิจการและประเมินตนเองในระบบ เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้หน่วยงานในพื้นที่และจังหวัดเฝ้าระวัง สุขลักษณะส่วนบุคคล และ Health Literacy พิจารณา Simplify ให้เหลือ Core หลักที่เป็น Gap อยู่ เช่น การส่งเสริมล้างมือก่อน/หลังทานอาหารหรือสัมผัสสิ่งของ ใส่หน้ากากเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด เว้นระยะห่างเมื่ออยู่กับคนจำนวนมา ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านสถานการณ์ โควิด – 19 ของกลุ่มวัย เช่น เด็กเล็กการเจริญเติบโตเป็นอย่างไร วัยเรียน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ทั้งด้านสังคม ด้านโภชนาการ เกิดผลกระทบอะไรบ้าง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ Setting

ศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 และ สสม.

 

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ

 

คลัสเตอร์สตรีและเด็กปฐมวัย

วัยเรียนวัยรุ่น วัยทำงาน วัยสูงอายุ

   
3.2 ให้ทีมสื่อสารปรับตามสถานการณ์และความสนใจ โดยประเมินความรู้สึกของประชาชน ทั้งต่อเรื่องโควิด – 19 ทั้งแง่ของความต้องการและความจำเป็น และอะไรที่อยากให้ภาครัฐทำนำมา Match กัน เพื่อการสื่อสารจะได้สัมฤทธิ์ผล
การประชุม EOC ยังคงประชุมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้มีมติเพื่อการตัดสินใจ ต้องยกระดับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม มีการดำเนินงานของโควิด – 19 และการดำเนินงานปกติรวมอยู่ด้วย
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ
ทีมเลขา EOC