เดือนมกราคม ปีงบประมาณ 2565
| 0 |
|
| 0 |
|
| 0 |
|
|
|
| |||
|
|
| |||
|
|
| |||
1.1 จัดทำ Slide นำเสนอต่อ ศปก.ศบค. ในวันอังคารที่ 25 ม.ค. 65 เรื่อง การกำกับ/ตรวจสอบการดำเนินงานของกิจการ /กิจกรรม /สถานประกอบการ ให้ถือปฏิบัติและประเมินตามมาตรการ COVID Free Setting บนระบบ TSC 2+ โดยมีประเด็นที่ต้องให้จังหวัดเร่งดำเนินการ ดังนี้ 1) ตรวจสอบสถานประกอบการที่มีความเสี่ยง ในระบบ TSC 2+ (ประมาณ 4 หมื่นกว่าแห่ง) 2) เร่งกำกับติดตามให้สถานประกอบการที่ยังไม่ได้เข้ามาประเมินในระบบ TSC 2+ ตามรายชื่อสถานประกอบการ (Name list) ที่กรมอนามัยจัดทำขึ้น ได้เข้ามาประเมินในระบบ TSC 2+ 3) สืบค้นสถานประกอบการที่ไม่มีอยู่ในรายชื่อสถานประกอบการ (Name list) ที่กรมอนามัยจัดทำขึ้น และสื่อสารให้เข้าเข้ามาประเมินในระบบ TSC 2+ | กองแผนงาน และ สำนัก/กองวิชาการ |
| |||
1.2 วิเคราะห์และจัดทำสรุปมติของ ศปก.ศบค. ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกรมอนามัย เพื่อจัดทำข้อเสนอของบประมาณดำเนินการตามภารกิจดังกล่าว | ทีม STAG | รับทราบ |
| ||
2. วิเคราะห์ข้อมูลรายงานการติดเชื้ออันเนื่องมาจากขนส่งสาธารณะ ทั้งประเภทรถ เรือ เครื่องบิน ฯลฯ ตั้งแต่ ม.ค. 65 เพื่อนำมาใช้ในการออกข้อปฏิบัติในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับประชาชน และสื่อสารให้ประชาชนรับทราบ เกี่ยวกับประเด็นการใช้บริการขนส่งสาธารณะ และวิธีปฏิบัติตนเมื่อทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน | กรส. / หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | การแถลงข่าววันที่ 25 มกราคม 2565 ได้มีการเปลี่ยนประเด็นแถลงข่าว จากประเด็นที่สั่งการ เป็น ประเด็น "กลุ่มเปราะบางดูแลตัวเองให้ปลอดภัย ใน Home Isolation” และสำหรับประเด็นสั่งการดังกล่าวจะนำมาทำข้อมูลเสนอในการแถลงข่าวครั้งถัดไป | |||
3.1 สร้างช่องทางการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียแบบไม่เป็นทางการขึ้นมาใหม่ นอกเหนือจาก Facebook Page ทางการของกรม เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ช่วยสร้างประสบการณ์ อารมณ์ และความรู้สึกร่วมของกลุ่มเป้าหมายที่มากขึ้น เหมาะสมกับจริตของประชาชนที่หลากหลาย | กองส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพ
| อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม | |||
3.2 บูรณาการช่องทางสื่อสารบนโซเชียลมีเดียของหน่วยงานต่างๆ ภายในกรมอนามัย เพื่อคัดเลือกเนื้อหาที่น่าสนใจมานำเสนอในเพจกลางของกรมอนามัย |
| ||||
4. บูรณาการข้อมูลและตัวเลขรายงานผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการ จากทั้ง 2 ระบบ (EOC กรม และ RRHL) พร้อมทั้ง best practice ของหน่วยงานที่ดำเนินงาน RRHL ได้อย่างมีประสิทธิภาพ | กองแผนงาน และ กรส. |
| |||
5.1 จัดทำแผนในมิติการควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด และมิติที่เกี่ยวข้องกับงานตามภารกิจของกรม ทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง / Liaison |
| |||
5.2 ดำเนินการ VOE ยังดำเนินการเหมือนเดิม แต่ขอให้พิจารณาเงื่อนไข เช่นการฉีดวัคซีนครบกี่เข็ม | กองแผนงาน |
| |||
6. จัดทำคำแนะนำเพิ่มเติมในประเด็นการจัดการกับเสื้อผ้าของผู้ติดเชื้อหลังถูกกักตัวเป็นเวลา 10 วัน ควรปฏิบัติอย่างไร และต้องกำชับให้นิติบุคคลของคอนโดหรือหอพักเข้มงวดการปฏิบัติตามมาตรการ | ดรีมทีม / สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม |
| |||
1.อนามัยโพล มีข้อเสนอเพื่อการสื่อสารและเพื่อการกำกับติดตาม ดังนี้ | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กอง HL |
| |||
2) เพื่อการกำกับติดตาม เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเขตบริการสุขภาพที่ 1 – 13 นำผลสำรวจอนามัยโพล ไปใช้ประโยชน์ในการกำกับติดตาม Setting ที่ผู้ตอบแบบสำรวจจะเดินทางไปทำกิจกรรมในช่วงเทศกาลวันตรุษจีน ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคด้วย COVID Free Setting เช่น ตลาด ห้างสรรพสินค้า/ซูเปอร์มาร์เก็ต ศาสนสถาน ศาลเจ้า และสถานที่ท่องเที่ยว - ที่ประชุมขอให้ปรับชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนเพื่อมอบหน่วยงานในการขับเคลื่อนการดำเนินงานได้ | ศูนย์อนามัยทุกแห่ง / สสม.
ทีมอนามัยโพล |
| |||
2. รายงานความก้าวหน้า HL ประเด็น : ข่าวสุดเสี่ยงประจำวันที่ 17 – 18 มกราคม 2565 มีข้อสั่งการ ดังนี้ - มอบกองสร้างความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพร่วมกับทีม Liaisonให้จัดทำ SOP การรายงานของศูนย์ตอบโต้ความเสี่ยงเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (RRHL) เพื่อเฝ้าระวังและตอบโต้ข้อมูลข่าวสารเท็จหรือเสี่ยงด้านสุขภาพด้วยข้อมูลที่เป็นจริง น่าเชื่อถือ และปฏิบัติได้ง่ายและถูกต้อง ควรกำหนดเวลาเป็น 2 ระยะ คือ 1) ตอบรับทราบ 2) ตอบคำถาม ควรใช้เวลาในแต่ระยะเท่าไร แล้วนำเสนอในที่ประชุม EOC กรมอนามัย ในวันที่ 20 มกราคม 2565 | กอง HL |
| |||
3. สรุปสถานการณ์ประเมินตนเองตามมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) มีข้อเสนอ ดังนี้ 1) สะท้อนข้อมูลร้านอาหารที่ปรับจากสถานบันเทิงกับการติดเชื้อและการประเมิน COVID Free Setting 2) พิจารณาข้อมูลร้านที่ไม่ประเมิน COVID Free Setting หรือที่ประเมินแล้วไม่ผ่าน มาเชื่อมโยงกับการติดเชื้อ เพื่อเป็นข้อเสนอให้ร้านมาประเมินในระบบ COVID Free Setting 3) เสนอให้พื้นที่ที่เคยประเมิน Thai Stop COVID ให้ประเมินด้านบุคคลเพิ่มเติมเพื่อเข้าสู่การประเมิน COVID Free Setting เพิ่มขึ้น ขอให้เร่งดำเนินการถ้าทันให้นำเสนอที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุขและที่ประชุม ศปก.ศบค. วันที่ 19 มกราคม 2565 แต่ถ้าไม่ทันให้นำเสนอในวันที่ 21 มกราคม 2565 | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองแผนงาน |
| |||
4. วาระอื่นๆ 1) ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณางบกลาง ในประเด็นของราคาการดำเนินงานตามระเบียบพัสดุ และขอให้กองแผนงานติดตามเรื่อง คำของบกลางอย่างใกล้ชิดและรายงานผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/กองแผนงาน |
| |||
|
|
| |||
1.ข้อสั่งการจากการประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุข มีข้อเสนอแนะดังนี้ - หากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโอไมครอนทรงตัว ในสัปดาห์ต่อไป งดการประชุมวันพุธ วันเสาร์ วันอาทิตย์ โดยจะประชุมเฉพาะวันจันทร์ อังคาร พฤหัสบดี และวันศุกร์ -มอบให้สำนักส่งเสริมสุขภาพประสานกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงงานอุตสาหกรรม -มอบกองสร้างความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพนำข้อมูลจากการนำเสนอที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุขนำมาสื่อสารมาตรการเทศกาลตรุษจีนให้ประชาชนได้รับทราบ |
รับทราบ
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กองสร้างความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ | รับทราบ
หน่วยงานรับทราบ ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว | |||
2.ผลการสำรวจ Anamai Event Poll “การสังเกตกิจกรรม/ ความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในร้านอาหาร” - ให้มีการแถลงข่าว ประเด็น “มาตรการป้องกัน COVID – 19 : เทศกาลตรุษจีน” และให้จัดสื่อ infographic เพื่อสื่อสารกับประชาชน - มอบสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำให้ประเมินมาตรการ Covid Free Setting ในร้านอาหารที่เป็นสมาชิกของสภาหอการค้าไทยให้ได้ 100% สำหรับร้านอาหารที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาหอการค้าให้ใช้กลไกของคณะกรรมการจังหวัด | กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | ดำเนินการสื่อสารแล้วโดนนำเสนอเป็น อินโฟกราฟฟิก และการแถลงข่าว หน่วยงานรับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | |||
3.การติดตามงานตามมติการประชุม EOC กรมอนามัย - อยู่ระหว่างการดำเนินการ 2 เรื่อง จาก 29 เรื่อง คือ 1. การกำกับติดตาม COVID Free Setting ซึ่งมีสำนักส่งเสริมสุขภาพดำเนินการกองแผนงานจัดทำหนังสือติดตาม 2. Home Isolation ประเด็นเด็กปฐมวัย ซึ่งมีคลัสเตอร์สตรีและเด็กปฐมวัยดำเนินการ | รับทราบ | รับทราบ | |||
4.คำของบกลางค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำปีงบประมาณ 2565 รอบ 2 (มกราคม - มีนาคม 2565 - วงเงินคำของบกลาง 643.57 ล้านบาท ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมเพื่อประกอบการชี้แจงคำของบกลาง รายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้าง รายละเอียดคุณลักษณะ | ทุกหน่วยงาน | หน่วยงานรับทราบ | |||
5. มอบสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมพิจารณาข้อมูลประเมิน Covid Free Setting, Thai Stop Covid ของ Setting ต่างๆ เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอที่ประชุม ศปก.ศบค. โดยผ่านที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุข ภายในสัปดาห์หน้า | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม | ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว นำเสนอที่ประชุม EOC วันนี้ | |||
6. โครงการอนาคตแห่งประเทศไทยสู่การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและการส่งเสริมสุขภาพขั้นสูง : The Future of Thailand toward Holistic Wellness Care and Advance Promotion - จัดทำโครงการของบประมาณโครงการ Mega Project จำนวน 7,813 ล้านบาท | รับทราบ | รับทราบ | |||
7. กำหนดการประชุมคณะทำงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัยด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กรณีโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) - ปรับกำหนดการเป็นประชุมคณะทำงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัยด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กรณีโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากเดิมเป็น ประชุมทุกวันอังคาร และ วันพฤหัสบดี - ขอให้ทีม STAG วิเคราะห์ข้อมูลจากระทรวงสาธารณสุขและข่าวต่างๆ ฉายฉากทัศน์ในเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน /2565 ที่เกี่ยวข้องกับโควิดกรมอนามัยจะดำเนินการอย่างไร |
รับทราบ
STAG |
หน่วยงานรับทราบ
ดำเนินการจัดประชุมการคาดการณ์ในวันที่ 18 ม.ค. 65 และจะนำเสนอใน EOC ภายในสัปดาห์นี้ | |||
1. กำชับทุกหน่วยงานเคร่งครัดมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และแนะนำบุคลากรในการปฏิบัติตนการใช้ชีวิตประจำวัน | ทุกหน่วยงาน Liaison |
| |||
2. นำการจัดกลุ่มเสี่ยงจากการนำเสนอในที่ประชุมมาใช้ในการจัดกลุ่มเสี่ยงของบุคลากรของกรมเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของกรมอนามัยเช่น WFH ฯลฯ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเป็นไปได้ด้วย สำหรับภูมิภาคควรพิจารณาแนวทางของแต่ละจังหวัดที่สำนักงานตั้งอยู่ด้วย | กองการเจ้าหน้าที่ และสำนักส่งเสริมสุขภาพ |
| |||
3. ประสานงานกับกรมควบคุมโรค กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาผลกระทบต่อเด็กนักเรียน หลักการการปิดโรงเรียนกรณีการติดเชื้อในชุมชน แต่โรงเรียนไม่พบการติดเชื้อ แต่มีการปิดโรงเรียน เพื่อเสนอให้คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อระดับจังหวัดจะพิจารณา | กลุ่มวัยเรียน |
| |||
4. จัดทำเมนูอาหารที่มีคุณภาพ ทำมาตรฐานอาหารเชิงปริมาณ คุณภาพ โดยคำนวณปริมาณในการบริโภคสัดส่วนระหว่างข้าวและกับข้าว อาหารมีความหลากหลาย ประสานงานกับสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำพิจารณามาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร และส่งให้ คลินิกชุมชนอบอุ่น สปสช. | สำนักโภชนาการ/สำนักสุขาภิบาลอหารและน้ำ
|
| |||
5. work from Home / Home Quarantine มีข้อเสนอ 3 ประเด็นคือ 1)คำแนะนำ ของ Isolation คือผู้ติดเชื้อ กับ Quarantine เป็นกลุ่มเสี่ยง อาจมีความแตกต่างกัน 2)การอยู่คนเดียวกับอยู่หลายคนในพื้นที่เดียวกัน คำแนะนำจะต่างกัน 3)เมื่อเสร็จสิ้นการกักตัวควรต้องปฏิบัติตนอย่างไร ควรเพิ่มความชัดเจนที่เป็นข้อความการเผยแพร่สู่ประชาชนต้องเข้าใจง่าย โดยประสานให้กองHL ช่วยปรับข้อความ ให้ปรับแก้ด่วนภายในวันที่ 13 ม.ค.65 และสื่อสารให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป | สำนักส่งเสริมสุขภาพ กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ |
| |||
6. Home Isolation แม่และเด็ก มีข้อเสนอ 2 ประเด็น คือ 1)ประสานกับราชวิทยาลัยสูติฯ ราชวิทยาลัยกุมารฯ WHO UNICEF มูลนิธินมแม่ฯ ร่วมตรวจสอบและปรับเอกสารที่นำเสนอพร้อมทั้งแปลงเอกสารเป็นPDF เผยแพร่ โดยเผยแพร่ทันทีใช้เป็นฉบับร่างไปก่อน เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้พบเด็กที่ติดเชื้อ 2)ประสานงานกับกอง HL(กรส.) ปรับ Key Message สั้นๆ จัดทำInfo graphicเพื่อสื่อสารกับประชาชน ภายในสัปดาห์นี้ | คลัสเตอร์สตรีและเด็กปฐมวัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ/กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ |
| |||
7. ดำเนินการปรับคู่มือการกักตัวฉบับประชาชนให้สอดรับกับคำแนะนำของสำนักส่งเสริมสุขภาพ หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข เช่น การปรับระยะเวลากักตัวของกรมการแพทย์ การตรวจATK ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น | สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง |
| |||
8. มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) สำหรับเทศกาลตรุษจีน -หารือและปรับปรุงเนื้อหาโดยจัดเป็น 2 กลุ่มคือ 1) สถานที่จัดเทศกาล เช่นพิธีกรรม การแสดง การละเล่น 2) setting ที่คนร่วมกลุ่มคน ร้านอาหาร ตลาด สถานที่เซ่นไหว้ การไหว้ที่บ้าน ฯลฯ โดยเพิ่มเติมแนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชนที่ไปตาม Setting ต่างๆ และกิจกรรมที่บ้าน เร่งปรับภายในวันที่ 13 ม.ค.65 เพื่อนำเสนอในที่ประชุม EOC กระทรวงฯ และ เสนอที่ประชุม ศปก.ศบค.ต่อไป -ประสานกับกอง HLพิจารณาวันที่เหมาะสมแถลงข่าวโดยเชิญสมาคมไทย-จีนมาร่วมด้วย และในการสื่อสารให้ข้อแนะนำแก่ประชาชนควรสื่อสารให้สัมพันธ์กับกิจกรรม วันจ่าย วันไหว้ วันเที่ยว | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ และกอง HL |
| |||
9. ในการนำเสนอประเด็นเข้าที่ประชุม ศปก.ศบค นั้นควรนำเสนอในที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุขก่อนเพื่อให้ที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุขรับทราบ | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | รับทราบ |
| ||
1. ติดตามมติ ศปก.ศบค. จากการประชุมวันนี้ (7 ม.ค.65) เพื่อนำมาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมอนามัย | กองแผนงาน | รับทราบ | |||
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามข้อสั่งการ EOC กรมอนามัย เมื่อวันที่ 6 ม.ค.65 | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | รับทราบ | |||
3.1 สื่อสาร เน้นย้ำ มาตรการป้องกันของประชาชน และมาตรการของกิจการ กิจกรรมต่างๆ ตามสถานการณ์ 3.2 มอบหมายให้นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ (รองอธิบดีกรมอนามัย) ประสานสภาอุตสาหกรรม/สภาหอการค้า เพื่อสื่อสารเรื่องการทำ VOE และ Activate ในเชิงการป้องกันของภาคเอกชน/ภาคธุรกิจ | กอง HL นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์/ กองแผนงาน | ||||
4. ติดตาม Criteria และ Flow การดูแลและรักษาผู้ติดเชื้อในระดับต่างๆ (จากมติการประชุมการจัดทำแผนรับมือการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : Moving to COVID – 19 Endemic กรณี Omicron) ซึ่งจะมีการแถลงข่าวในวันจันทร์นี้ | กองแผนงาน | ||||
5. จัดทำหนังสือเสนอมหาดไทย เพื่อสั่งการให้จังหวัดเร่งรัดให้ร้านอาหารในพื้นที่ประเมินตนเองผ่าน COVID Free Setting | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | ||||
6. ประสานทุกหน่วยงานเพื่อเสนอคำของบกลางโควิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในภาพรวมกรมอนามัย เพื่อรวบรวมเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 12 ม.ค.65 | กองแผนงาน | ||||
7. ปรับวันในการประชุม EOC กรมอนามัย เป็นทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ||||
รายงานอนามัยโพล มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี 1.1 เพื่อการสื่อสาร เสนอให้กอง HL สื่อสาร เน้นย้ำ ให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่าง เคร่งครัด หากไปร่วมงานวันเด็กในสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติตนเมื่อทำกิจกรรมในบ้าน ตามที่ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่จะอยู่บ้าน/กินอาหารร่วมกันในบ้านในวันเด็กปีนี้ 1.2 เพื่อการกำกับติดตาม เสนอให้เขตสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำกับติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามหลัก COVID Free Setting ในสถานที่ที่ผู้ตอบ ส่วนใหญ่ จะพาเด็กไปเที่ยวในวันเด็ก ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยว สวนสัตว์ ห้างสรรพสินค้า และพิพิธภัณฑ์ | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
ศูนย์อนามัยทุกแห่ง / สสม. | กอง HL รับทราบ ดำเนินการ เรียบร้อยแล้ว หน่วยงานรับทราบ | |||
สรุปสถานการณ์ประเมินตนเองตามมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ร้านจำหน่ายอาหาร จากการวิเคราะห์สถานการณ์ฯ มีข้อสั่งการ ดังนี้ 2.1 ประสาน กำกับ ติดตาม และเร่งรัดให้ทุกจังหวัดประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อให้ ร้านอาหารประเมินตนเองตามมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ให้ครอบคลุมตามเป้าหมายที่กำหนด 2.2 ประสานจังหวัดเพื่อจัดทำข้อมูลจำแนกร้านอาหารที่มีความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ เช่น ร้านอาหารที่มีลักษณะเป็นห้องแอร์/อาคารปิด หรือที่มีการแสดงดนตรี หรือจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการระบาดของโรคระดับพื้นที่ | ศูนย์อนามัยทุกแห่ง / สสม. | หน่วยงานรับทราบ | |||
วาระอื่นๆ เนื่องจากสถานการณ์ดารติดเชื้อในวันที่ เพิ่มเกือบเท่าตัว ท่านประธาน EOC จึงมีข้อสั่งการดังนี้ 1. Activate EOC กรมอนามัย เป็นวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เริ่มวันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565 2.ปรับระบบในการกำกับ CFS ทุก Setting : จัดทำแผนให้นำเสนอ รายหน่วยงาน 3. ปรับ Anamai poll เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงาน | กองแผน กองแผนงาน ส.อนามัยสิ่งแวดล้อม กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักส่งเสริมสุขภาพ Dream team สำนักส่งเสริมสุขภาพ/สสม HL กองการเจ้าหน้าที่ | หน่วยงานรับทราบ ดำเนินการตามข้อสั่งการ | |||
1.1 กสธ. มีการปรับเปลี่ยนทีม STAG ชุดใหม่ เพื่อคิดแผนรับมือโควิด สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งกรมอนามัยต้องวางแผนเตรียมความพร้อมการรับมือดังกล่าว ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การสร้างความรอบรู้ให้ประชาชนและ setting โดยต้อง Activate CI และ HI ให้เกิดการรับรู้และเข้าใจในทิศทางเดียวกัน 2) การกำกับ ติดตาม ประเมิน และบังคับใช้มาตรการ COVID Free Setting อย่างจริงจัง 3) เตรียมความพร้อมของประชาชนในการใช้ชีวิตร่วมกับโควิดต่อไปให้ได้ | ทีม STAG | รับทราบ | |||
1.2 ดำเนินการออกข้อแนะนำของกรมอนามัย เพื่อให้ตำรวจมีแนวทางการดำเนินงานที่ถูกต้องและรวดเร็ว ในการจับ/ปรับสถานประกอบการที่ดำเนินการผิดกฎหมาย พ.ร.บ.สธ. | กองกฎหมายสาธารณสุข | อยู่ระหว่างยกร่างและพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดตำแหน่ง | |||
2.1 ให้ปรับข้อคำถามสอดรับกับร้านอาหารที่เปิดลักษณะแบบกึ่งผับ เพื่อให้ได้ผลสำรวจนอกเหนือจากร้านอาหารที่เปิดแบบทั่วไป 2.2 ชี้เป้าให้พื้นที่เห็นความสำคัญของการกำกับติดตาม และบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจของ พ.ร.บ.สธ. อย่างใกล้ชิดและจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยกรณีร้านอาหารกึ่งผับในจังหวัดอุบลราชธานี | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กองกฎหมายสาธารณสุข / ศูนย์อนามัยทุกแห่ง / สสม. | ||||
3.1 เพิ่มกลยุทธ์ด้านการชี้นำกระแสสังคมผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย โดยทำให้เกิดยอด View ในระดับหนึ่งล้านคนขึ้นไป เริ่มจากทำคลิปหรือข่าว |
กรส. | ||||
3.2 จัดทำ Facebook Life ของกรมอนามัย ใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที โดยเชิญสำนัก/กอง ที่เกี่ยวข้องมาสื่อสารให้ความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้องในการ WFH ภายใต้ประเด็นหลักๆ ได้แก่ 1) การถือโอกาสไปเที่ยวต่อ ไม่ได้อยู่ทำงานที่บ้าน 2) การถือโอกาสหยุดอยู่บ้าน แล้วรวมกลุ่มกันจัดงานเลี้ยงภายในบ้าน 3) การกินอาหารที่ทำลายสุขภาพ และการนอนดึก | วางแผนการผลิตคอนเทนต์ให้มียอดรับชมเพิ่มขึ้น ดำเนินการจัดทำ Facebook Live ในประเด็น WFH ให้ปลอดภัยไม่เสี่ยงโควิด -19 | ||||
4.1 วิเคราะห์ข้อมูลความเชื่อมโยงการติดเชื้อโควิดในพื้นที่ และคืนข้อมูลให้ สสจ.อุบลราชธานี รับทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของสถานประกอบการที่ผ่าน / ไม่ผ่านการประเมิน COVID Free Setting และสื่อสารให้ประชาชนพื้นที่มีความรู้ และมีความมั่นใจในการเลือกรับบริการจากสถานประกอบการที่ผ่านการประเมิน COVID Free Setting พร้อมทั้งกำกับติดตามให้สถานประกอบการที่ยังไม่ผ่านการประเมิน ให้รีบเข้ามาประเมินในระบบโดยเร็ว | ศูนย์อนามัยที่ 10 |
| |||
4.2 สื่อสารในภาพรวมของมาตรการ COVID Free Setting ให้ประชาชนเกิดการรับรู้ แสดงตัวอย่างให้เห็นถึงสถานประกอบการที่ฝ่าฝืนการดำเนินงานตามมาตรการ COVID Free Setting | กรส. | ||||
5.1 สื่อสารให้ประชาชน หน่วยงานและองค์กรต่างๆ เกิดความรอบรู้สุขภาพ สามารถแยกแยะและตัดสินใจในการประเมินความเสี่ยงของการดำเนินงานตามมาตรการป้องกัน/ควบคุมโรคโควิดได้อย่างมีวิจารณญาณ เช่น การจัดกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง หากดำเนินการตามมาตรการ COVID Free Setting อย่างเข้มงวดแล้ว สมควรอนุญาตให้จัดงานหรือไม่ | สำนัก/กองวิชาการ | ||||
5.2 สรุปประชุม PHEOC และนำเผยแพร่ให้ผู้บริหารและนักวิชาการกรมรับทราบ ในวันที่กรมอนามัยไม่มีการประชุม EOC โดยเผยแพร่ผ่านช่องทาง Line Group 2 กลุ่ม คือ 1) Group อนามัย 65 และ 2) Group COVID และ PM2.5 | กองแผนงาน | ||||
5.3 เร่งดำเนินการตามบทบาทที่กรมอนามัยรับผิดชอบเกี่ยวกับมาตรการ COVID Free Setting ในระบบ TSC+ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ ดังนี้ 5.3.1 วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลในระบบ TSC+ เพื่อมีข้อมูลสำหรับส่งคืนกลับให้ 3 ส่วน คือ 1) กสธ. 2) พื้นที่ และ 3) สาธารณชน 5.3.2 วิเคราะห์ข้อมูลภาพรวมของระบบ TSC+ 5.3.3 ส่งเสริม ผลักดัน ช่วยเหลือ คืนข้อมูลเชิงคุณภาพกลับมาที่กรมอนามัย เพื่อให้ออกกฎหรือแนวทางที่เป็นประโยชน์กลับไปใช้ในพื้นที่ | กองแผนงาน สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศอ./สสม./สำนัก-กองที่ดูแล setting | ||||
5.4 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้มาใช้บริการตลาดนัดของกรมอนามัย เกิดความเชื่อมั่นในการมาใช้บริการในทุกองค์ประกอบ ทั้งด้านพ่อค้า/แม่ค้า ด้านบุคลากรกรม ด้าน จนท. บริษัทรับจ้างต่างๆ ภายในกรม รวมทั้งเข้มงวดผู้มาใช้บริการให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กรมกำหนด | สำนักงานเลขานุการกรม | ||||