เดือนมิถุนายน ปีงบประมาณ 2564
| 67 |
|
| 48 |
|
| 19 |
|
1. สำรวจมุมมองทางสังคม และทางด้านการแพทย์อื่นๆ นำมาพิจารณาเพื่อให้ได้มุมมองมากขึ้น นำมากำหนดมาตรการ | STAG |
|
| ||
2. เสนอให้มีการรับฟังมุมมองจากบุคคล/หน่วยงานนอกกระรวงสาธารณสุขให้ได้มุมมองอื่นๆเพิ่มเติม เพื่อประกอบในการพิจารณาการออกแบบการสำรวจ ออกแบบมาตรการ เช่น มุมมองในด้านเทคโนโลยีดิจิตัล เทคโนโลยีด้านสังคม เป็นต้น | Anamaipoll |
|
| ||
3. ขอให้เร่งสื่อสารให้ต่อเนื่อง ประเด็น “ข้อปฏิบัติการฉีดวัคซีนโควิดในหญิงตั้งครรภ์” และประธานชี้แนะให้ใช้กลไก MCH Board และให้หาข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการฉีดวัคซีน | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ สำนักส่งเสริมสุขภาพ |
|
| ||
4. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย UNICEFF เป็นต้น ร่วมให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับมาตรการการป้องกันการติดเชื้อในโรงเรียน และนำเสนอใน PHEOC กระทรวงสาธารณสุข ที่ประชุมศปก. ศบค.ตามลำดับ เพื่อขับเคลื่อนในพื้นที่ต่อไป | Cluster วัยเรียน |
|
| ||
- MICE CITY ศึกษามาตรการต่างประเทศที่มีการบริหารจัดการที่ดี สำหรับในประเทศต้องออกแบบให้เข้มงวดเพื่อความปลอดภัย แลกเปลี่ยนแนวคิด และร่วมกันพิจารณามาตรการต่าง ๆ วัคซีน ร่วมกับภาคีเครือข่าย ให้รอบด้าน และต้องเร่งดำเนินการในช่วงกรกฎาคม - สิงหาคม 2564 เพื่อความอยู่รอดของแต่ละ Setting - ศึกษาข้อมูลนวัตกรรมการรับประทานอาหารในร้านอาหารที่ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อCOVID-19 พร้อมทั้งการรับรู้การฉีดวัคซีนเพื่อประกอบการได้ตามปกติ ขอให้นำเสนอในที่ประชุม EOC กรม สัปดาห์หน้า - มอบสำนักอนามัยผู้สูงอายุพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียงที่บ้านและจัดทำ guideline โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมพิจารณา และนำร่องในพื้นที่ - ขอให้ปรับโปรแกรมคัดกรองโดยสามารถสแกน QR Code ยืนยันตัวบุคคลจากรูปและข้อมูลขอบุคคลนั้น | ศูนย์อนามัยที่ 7/กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
นพ.ดนัย ธีวันดา/ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ
นพ.บัญชา ค้าของ/กองแผนงาน |
|
| ||
- มีการกำหนดทีมคัดกรอง บทบาทหน้าที่ และแนวทางปฏิบัติเพื่อเตรียมทีมสำหรับให้บริการวัคซีนผู้สูงอายุ และการให้ความรู้กับผู้สูงอายุและญาติในการเตรียมความพร้อมก่อนฉีดวัคซีน และหลังฉีดวัคซีน - มีสื่อสารการดูแลผู้สูงอายุด้วย 5 อ. และการกำหนดมาตรการดูแลตัวเองของผู้สูงอายุ ห่างไกลโควิด ประธานสั่งการให้นำภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่นสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ฯลฯ มารับรู้เรื่องความเสี่ยง การเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการ แล้วนำเข้าที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุขและนำเข้าที่ประชุม ศปก.ศบค.ต่อไป | สำนักอนามัยผู้สูงอายุ |
|
| ||
1.ข้อสั่งจากการประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุข มีข้อสั่งการ ดังนี้ 1.1 ให้ทำ Checklist สรุปการดำเนินงานตามมติที่ประชุม EOC กรม และข้อสั่งการที่ยังไม่ได้ดำเนินการแต่ไม่ต้องนำเสนอในที่ประชุม EOC กรม 1.2 วางแผนจัดระบบให้สามารถหาข้อมูลการติดเชื้อจากภาคีเครือข่ายในแต่ละ Setting ได้ โดยการสอบถามข้อมูลต้องมีหลักการระบาด และขอให้ทีมวิชาการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาระบบการได้ข้อมูลแต่ละ Setting | Liaison
ทีม STAG |
| |||
2. Anamai poll มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 2.1 การนำไปสื่อสาร โดยเฉพาะประเด็นคนที่ไม่ยอมใส่หน้ากากอนามัย/ผ้าในระยะเวลาสั้นๆ อาจทำให้ติดเชื้อโควิดได้ เนื่องจากผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์เดลต้า จะมีปริมาณเชื้อมาก และสามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็ว 2.2 การวางแผน มีประเด็นการมีเครื่องมือในการคัดกรองบุคคลในครอบครัวคำแนะนำใส่หน้ากาก ซึ่งสำนักส่งเสริมส่งเสริมสุขนำไปวางแผนในโครงการครอบครัวไทยรู้สู้โควิด 2.3 การสำรวจพฤติกรรมการสวมหน้ากากด้วย AI Mask เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ควรกำหนดจุดติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อตรวจจับในตลาด โดยพิจารณากำหนดจุดติดตั้งได้ 2 กรณี คือ 1) ติดตั้งครอบคลุมตลาดทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ 2) ติดตั้งเฉพาะตลาดที่อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ ทั้งนี้ กรมอนามัยอาจจะขยายการติดตั้งกล้อง CCTV ใน Setting อื่นๆ ได้ด้วย | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ
สำนักส่งเสริมสุขภาพ
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ |
|
|
| |
3. รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานทีม Operation/Logistic/HL มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 3.1 การรายงานความก้าวหน้าของ GFP ให้ที่ประชุม PHEOC ทราบ เน้นข้อมูลเชิงกระบวนงานมากเกินไป ควรเพิ่มการรายงานเสนอแนะเชิงวิเคราะห์ และต้องเร่งสรุปรายงานผลการดำเนินงานให้ที่ประชุม ศปก.ศบค. ภายหลังวันที่ 30 มิถุนายน 2564 และที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุขและกรมอนามัย 3.2 ให้วิเคราะห์ข้อมูลการประเมินตนเองใน TSC ของ Setting ตลาดเปรียบเทียบกับข้อมูลการติดเชื้อจริงของตลาดใน กทม. นำมา Plot ให้เห็นภาพว่าตลาดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินใน TSC แล้วยังพบการติดเชื้อมากน้อยเพียงใด แล้วนำมารายงานในที่ประชุม EOC กรมต่อไป 3.3 ศึกษาข้อกฎหมายของ พ.ร.บ.สาธารณสุข เพิ่มเติม จำนวน 2 กรณี ได้แก่ 1) หน่วยงานที่ไม่ยอมดำเนินการตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข กรมอนามัยมีอำนาจบังคับใช้ตามกฎหมายหรือไม่ 2) พ.ร.บ.สาธารณสุข ยังมีช่องโหว่ของกฎหมายในประเด็นใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กรณีสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด และจำเป็นต้องแก้กฎหมาย หรือออกอนุบัญญัติหรือไม่ อย่างไร ควรให้ควบคุม กำกับติดตามข้อมูลได้ 3.4 ประสานขอข้อมูลการตรวจคัดกรองโควิดในตลาดของ กทม. เพื่อนำมาวิเคราะห์ในเชิงลึก และการจัดตั้งคณะกรรมการตลาด ประกอบด้วย เจ้าของตลาด ผู้ค้าในตลาด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตรวจประเมินตลาดที่มีที่พักอาศัย | สำนักส่งเสริมสุขภาพ
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
รองดนัย/รองบัญชา/ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ/ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม/ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข |
|
| ||
4. รายงานความก้าวหน้าการสื่อสารสาธารณะ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 4.1 ปรับแผนการนำเสนอข่าวในสัปดาห์หน้าตามประเด็นที่ประชาชนสนใจ และคำนึงถึงการนำเสนอข่าวต้องมี 2 ประเภท คือ 1) ประเภทข่าวเชิงบวก ผ่านช่องทางแบบเป็นทางการของกรม 2) ประเภทข่าวเชิง Drama ผ่านช่องทางของเครือข่ายที่ช่วยสร้างประเด็นให้น่าสนใจ | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ |
|
| ||
5. รายงานความก้าวหน้าสนับสนุนการเปิดประเทศ พื้นที่จังหวัดภูเก็ต มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 5.1 เห็นชอบในหลักการให้เชื่อมโยงข้อมูล Back End ของมาตรฐาน SHA และ TSC+ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ | กองแผนงาน | - | - | รับทราบ | |
6. กระบวนการดำเนินงานครอบครัวไทยรู้สู้โควิด มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 6.1 ควรทดสอบระบบ Thai Save Family (TSF) ก่อนนำไปใช้จริง โดยแจ้ง Link URL สำหรับการเข้าใช้งาน TSF ให้กับเจ้าหน้าที่กรมอนามัยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้นำไปให้ครอบครัวและคนใกล้ชิดทดลองใช้งาน | สำนักส่งเสริมสุขภาพ |
| |||
วาระอื่นๆ 7.1 ควรมีงบประชาสัมพันธ์ สื่อสารสร้าง Good View การรับรู้เรื่อง GFP 7.2 งบกลางโควิดรอบ 2 ยังไม่ทราบกำหนดการโอนของสำนักงบประมาณ แต่กรมอนามัยต้องเตรียมความพร้อม คือ 1) พิจารณาปรับแผนงานเดิมให้สอดรับการเตรียมการและเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเมือง/เปิดประเทศ 2) เตรียมทำแผนของบกลางวิดเพิ่มเติม ภายใต้กรอบข้อเสนอการเปิดประเทศของกรมอนามัยที่ทีม STAG จัดทำขึ้นล่าสุด
7.3 การประชุม EOC กรม สัปดาห์หน้าขอให้มีการนำเสนอประเด็นในพื้นที่ที่มีสถานการณ์หรือดำเนินงานได้ผลดีของศูนย์อนามัย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภูมิภาค | คลัสเตอร์วัยทำงาน/ศูนย์สื่อสารสาธารณะ ทุกหน่วยงาน
Liaison |
|
| ||
1.สรุปข้อสั่งการและรายงานการประชุม สรุปสถานการณ์โควิด-19 จาก PHEOC กระทรวงฯ โดยมีข้อแนะนำและข้อสั่งการดังนี้ 1.1ควรดำเนินการป้องกันในแคมป์ก่อสร้าง โรงงาน ตลาด ชุมชน โดยเชื่อมโยง 4 ส่วนนี้เข้าใน Operation ด้วยกัน 1.2กรมอนามัยได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขให้ทำ RE Opening ราย Setting และรายงานกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 28 มิถุนายน 64 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำแผนในภาพรวมทั้งประเทศแต่เริ่มที่จังหวัดภูเก็ตก่อน นอกจากนี้ขอให้ยกระดับ Setting สถานประกอบการต่างๆ ส่งแผนการยกระดับ setting ให้ กองยุทธศาสตร์และแผนงานภายในวันศุกร์นี้ | ทุกหน่วยรับทราบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
| หน่วยงานรับทราบ | ||
2.รายงานอนามัยโพล Anamai Poll มีข้อสั่งการดังนี้ 2.1 ขอให้สำนักส่งเสริมสุขภาพดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ได้รายงานในที่ประชุม 2.2 ขอให้ทีมอนามัยโพลได้พิจารณาใน 2 ประเด็นคือ 1)การสำรวจต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของข้อมูล เช่นข้อมูลรับรู้ความรู้สึก หรือการปฏิบัติ 2)ข้อมูลนอกจากนำมาใช้ในการวางแผน ยังนำมาใช้ในการติดตามประเมินผลสิ่งที่ดำเนินการไปแล้ว 2.3 ขอให้ศูนย์อนามัยที่มีจังหวัดตอบแบบสำรวจน้อยกว่า 30 คน บริหารจัดการในกลุ่มที่เป็น sentinel และ general และให้ทีมอนามัยโพลส่งข้อมูลไปที่ศูนย์อนามัย | สำนักส่งเสริมสุขภาพ ทีมอนามัยโพล
ศูนย์อนามัย |
| หน่วยงานรับทราบ หน่วยงานรับทราบ
หน่วยงานรับทราบ | ||
3.รายงานผลการเผยแพร่ข่าวกรมอนามัยและการสื่อสาร -ในกรณีรับประทานอาหารแช่แข็งแล้วเป็นไข้หูดับ ให้ติดตามผลการปนเปื้อนในอาหารแช่แข็ง เน้นสื่อสารด้านสุขอนามัย สุขาภิบาล กระบวนการรับรู้ การปรุงสุก กินร้อนช้อนกลาง | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ |
| ศูนย์สื่อสารฯดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่องไข้หูดับเรียบร้อยแล้ว | ||
4.รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรค โควิด-19 ในสถานศึกษา มีข้อเสนอและข้อสั่งการ ดังนี้ 4.1ขอให้มีการวิเคราะห์ ประเมินผลหลังเปิดเรียน 7 วัน 14 วัน ถ้าพบมีการติดเชื้อ วิเคราะห์สาเหตุการติดเชื้อ ช่วงเวลาการติดเชื้อ ประเภทของโรงเรียน เขตพื้นที่ของโรงเรียน การดำเนินการตามมาตรการ ตามแผนเผชิญเหตุ การประเมินใน TSC+ การพิจารณาเรื่องเกณฑ์ที่ประเมินศึกษากรณีการปิดโรงเรียน เป็นต้น 4.2 ศูนย์อนามัยโดยกลุ่มภารกิจวัยเรียนวัยรุ่น ได้วิเคราะห์และสรุปข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่โดยพิจารณาตัวอย่างของศูนย์อนามัยที่ 3 และ 7 และส่งให้กับกรมอนามัย โดยมีหลักการพิจารณาความเพียงพอของหลักเกณฑ์ต่อการควบคุมโรค ขอให้นำเสนอในที่ประชุม EOC กรมอนามัยในวันที่ 28 มิถุนายน 64 ก่อนนำไปเสนอที่กระทรวงศึกษาธิการ | นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข คลัสเตอร์วัยเรียนวัยรุ่น สำนักส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยทุกแห่ง |
| รับทราบ จะดำเนินการนำเสนอที่ประชุมอาทิตย์หน้า | ||
5.รายงานสถานการณ์ คาดการณ์และทิศทางการเปิดประเทศใน 120 วัน โดยมีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 5.1 ควรพิจารณากิจการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเปิดประเทศ ได้แก่ ท่องเที่ยว กีฬา ประชุม การจัดงาน เน้นความปลอดภัยจากการป้องกันโรค พร้อมทั้งศึกษาข้อมูลประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกับประเทศไทยที่เปิดประเทศแล้วได้ผลการดำเนินงานที่ดี และไม่ดีประกอบการพิจารณา 5.2 ขอให้เร่งประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การกีฬาแห่งประเทศไทย Mice ฯลฯ เพื่อจัดทำแนวทางมาตรการที่สามารถปฏิบัติได้ 5.3 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มอบกรมอนามัย จัดเตรียมประเมินป้องกันการระบาด setting ต่าง ๆ เช่นในโรงงาน ตลาด ที่พักคนงาน วิเคราะห์แนวทาง DMHTT ซึ่งได้จัดทำผู้รับผิดชอบราย setting เรียบร้อยแล้ว ตามข้อเสนอที่ได้นำเสนอในที่ประชุมจึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าว | STAG วิชาการ/ศูนย์อนามัยที่ 11 /สำนักกองที่เกี่ยวข้อง |
| รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
6.เรื่องอื่น ๆ 6.1 ขอให้ทุกหน่วยงานเบิกจ่ายเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 64 โดยดำเนินงานตามระเบียบที่กำหนด ขอให้กองแผนงาน กองคลัง กลุ่มตรวจสอบภายในสนับสนุน และชี้แจงการดำเนินงานให้กลุ่มอำนวยการแต่ละหน่วยงานรับทราบ สำหรับเงินกู้ส่วนที่ถูกตัดขอให้ทุกหน่วยงานทบทวนและจัดทำรายละเอียดจัดทำคำขอขึ้นไปใหม่ โดยส่วนใหญ่จัดหาเป็นครุภัณฑ์ | กองแผนงาน กองคลัง กลุ่มตรวจสอบภายในและ ทุกหน่วยงาน |
| หน่วยงานรับทราบ | ||
จากการรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสรุปข้อสั่งการการประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุขประจำวัน มีประเด็นและข้อสั่งการ ดังนี้ 1.1 การพิจารณาแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยผู้ติดเชื้อ สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการดำรงชีวิตในสังคม เช่น สถานการณ์รถติด ความหนาแน่นของประชาชนคนที่ใช้บริการร้านอาหาร เป็นต้น ทำให้ยังต้องเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการ DMHTTA และมาตรการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุมโรค และรักษาพยาบาล | ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบและถือปฏิบัติ |
| รับทราบ | ||
1.2 ศูนย์อนามัยที่มีพื้นที่รับผิดชอบใกล้เคียงกับกทม.และปริมณฑล เช่น ศูนย์อนามัยที่ 4 และ 5 ให้ติดตามสถานการณ์การระบาดร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิด สำหรับศูนย์อนามัยนอกเหนือข้างต้นให้เร่งดำเนินงานให้ตามเป้าหมายในภารกิจปกติร่วมกับการดำเนินงานในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | ศูนย์อนามัยที่ 4, 5 และทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง |
|
| ||
1.3 จากข้อสั่งการ PHEOC กระทรวงสาธารณสุขประจำวัน มอบหมายคลัสเตอร์วัยเรียนวัยรุ่น ดำเนินการจัดประชุมหารือร่วมกับกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อออกแบบและกำหนดรายละเอียดในการดำเนินการเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) เช่น การกำหนดจำนวนกลุ่มเป้าหมายในการเฝ้าระวัง สถานที่ดำเนินงาน งบประมาณในการดำเนินงาน พร้อมทั้งหารือการบูรณาการข้อมูลร่วมระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและแพลตฟอร์มกรมอนามัย ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความปลอดภัยและการคุ้มครองสิทธิ์ของข้อมูลด้วย โดยให้รายงานผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการข้างต้นในการประชุม EOC กรมอนามัยวันพุธที่ 23 มิถุนายน 2564 | คลัสเตอร์วัยเรียนวัยรุ่น |
|
| ||
1.4 สืบเนื่องจากการพบอุบัติการณ์การระบาดอย่างต่อเนื่องในสถานประกอบการ ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมอนามัย มีการเสนอนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินพื้นที่ดังกล่าวในการประชุม ศปก.ศบค. ทั้งนี้ สั่งการให้คลัสเตอร์วัยทำงานรายงานความก้าวหน้ามาตรการของ 4 กระทรวงหลัก ในการประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุขในวันพุธที่ 23 มิถุนายน หรือวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายนนี้ | คลัสเตอร์วัยทำงาน/ สำนักส่งเสริมสุขภาพ |
|
| ||
2. จากการเสนอผลสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในการป้องกันโรคโควิด 19 (อนามัยโพล) มีประเด็นและข้อสั่งการ ดังนี้ 2.1 ปรับรูปแบบการนำเสนอเรื่องการไปสถานที่เสี่ยงและการสวมใส่หน้ากากจากกราฟแท่งให้แสดงเป็นเส้นแนวโน้ม 2.2 สำหรับการผลการลงทะเบียน “ไทยชนะ” หรือบันทึกชื่อก่อนเข้าสถานที่ต่างๆ ให้พิจารณาการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากระบบการสำรวจไทยชนะร่วมด้วย 2.3 ให้มีการรายงานผลสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในการป้องกันโรคโควิด 19 (อนามัยโพล) โดยให้เสนอในรูปแบบการวิเคราะห์ไม่ใช่การแจกแจงข้อมูล ทั้งนี้ ให้สืบค้นการศึกษาหรือการสำรวจของหน่วยงานอื่นๆ ประกอบการวิเคราะห์ และควรเสนอรายจังหวัด โดยมอบหมายให้นายแพทย์ดนัย ธีวันดา เป็นผู้นำเสนอในการประชุม BMW และให้หน่วยดำเนินการร่วมประชุมข้างต้นด้วย | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ |
|
| ||
3. จากการรายงานผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานเรื่องชุดบำบัดอากาศและเปลี่ยนถ่ายเทอากาศผู้รับบริการและประชาชน สำนักเลขานุการกรม ได้กำหนด TOR ในการจัดหาและจัดตั้งชุดบำบัดอากาศและเปลี่ยนถ่ายเทอากาศกลาง ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพในการกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะให้ และได้จัดประชุมชี้แจงกับศูนย์อนามัยเรียบร้อยแล้วนั้น ทั้งนี้ หากหน่วยงานไม่สามารถจัดหาได้ตาม รายละเอียดคุณลักษณะให้ประสานปรึกษาหารือกับศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพเขตในพื้นที่ต่อไป | ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบและถือปฏิบัติ |
| รับทราบ | ||
เรื่องอื่นๆ 4.1 ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรค และการดำเนินงานตามมาตรการ GFP ในสถานประกอบการโรงงานอย่างใกล้ชิด | ศูนย์อนามัยที่ 4 และ 5 |
|
| ||
4.2 จัดทำแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขสำหรับแคมป์ก่อสร้าง เพื่อป้องกันโรค ลด และตัดวงจรการระบาดของโรค 4.3 ปรับคำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขสำหรับคอนโดมิเนียม และอาคารที่พักอาศัย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยหารือกับผู้รับผิดชอบหลักทั้งภาครัฐ และเอกชน ผู้แทนสมาคม และภาคีที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมควบคุมโรค และกรมการแพทย์ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำแนะนำด้านสาธารณสุขแบบองค์รวมครอบคลุมด้านการส่งเสริม ป้องกัน ควบคุมโรค และรักษาพยาบาล โดยแยกเป็นหมวดหมู่อพาร์ตเม้นท์ แฟลต และหมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ซึ่งมีนิติบุคคลกำกับดูแล | คณะทำงาน SRT กรมอนามัย ศูนย์อนามัยที่ 4, 5, 6 และสถาบันพัฒนา สุขภาวะเขตเมือง |
| |||
5. จากการประชุมการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สืบเนื่องจากพบการระบาดเพิ่มขึ้นในพื้นที่เสี่ยง เช่น โรงงาน แคมป์ก่อสร้าง ที่พักอาศัยโดยรอบโรงงาน ฯลฯ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม ปทุมธานี (ตลาดในกลุ่มแรงงานต่างด้าว และโรงงาน) ชลบุรี (ตลาดกับที่พักแรงงานต่างด้าว) กทม. (โรงงาน ชุมชนต่างด้าวรอบตลาดบางแค คลองเตย) มอบหมายนายแพทย์บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย และนายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ สรุปย่อสาระสำคัญการประชุมและส่งในกลุ่มไลน์ต่อไป | นายแพทย์บัญชา ค้าของ นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา |
|
| ||
1. Anamai Poll มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 1.1 เสนอแนะ การตั้งเป้าเหมายให้ชัดเจน Coverage การตั้งคำถามให้ร้านค้าขายได้ และการให้ HL ในการสำรวจ 1.2 มอบทีม STAG ปรับทิศทางยุทธศาสตร์ จัดมาตรการสำหรับร้านค้าให้มีความจำเพาะ โดยหลักการทุกพื้นที่เปิดขายได้แต่กำหนดมาตรการเข้มข้นต่างกันในแต่ละระดับ 1.3 ให้วิเคราะห์ในภาพรวม เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอ มาตรการให้ร้านอาหาร สถานประกอบการดำเนินการเปิดกิจการ โดยเร่งกำหนดมาตรการเพื่อรับรองการผ่อนคลายมาตรการตามมติ ศบค.ที่จะเริ่มในวันที่ 21 มิถุนายน 2564
| ทีม STAG
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ |
|
| ||
2. ขอให้ทีม Operation เร่งรัดการดำเนินการตามที่เสนอในที่ประชุมและดำเนินการจัดการขยะที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เนื่องจากมีประชาชนมาฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก | ทีม Operation |
|
| ||
3. สรุปการเผยแพร่ข่าวกรมอนามัยรายวัน/แผนการสื่อสาร มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 3.1 มอบศูนย์สื่อสารสาธารณะ พิจารณาการพัฒนาต่อยอดจากที่สื่อสาร โดยให้กอง/สำนัก เขียนประเด็นข่าวที่น่าสนใจ ปรับรูปแบบการนำเสนอข่าวในบางเรื่องเป็น Series สำหรับการพัฒนาช่องทางสื่อสารให้หาเวทีประชุมพิจารณา 3.2 สำหรับข่าวที่จะนำเสนอครั้งต่อไป มอบสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำพิจารณามาตรการผ่อนคลายของร้านอาหารให้ชัดเจนและการดำเนินงานต่อไป และมอบกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพทบทวนมีการติดเชื้อในสวนสาธารณะใน 1 เดือนที่ผ่านมาและการใส่หน้ากากในขณะวิ่ง | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ |
|
| ||
4. แนวทางการประชุมวิชาการ กรมอนามัย มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 4.1 มอบสำนักทันตสาธารณสุข เตรียมแผนการจัดประชุมวิชาการในแต่ละสถานการณ์ต่างๆ เพื่อนำไปพิจารณาร่วมกับกรุงเทพมหานครในการขอจัดการประชุม โดยมีเน้นมาตรการการฉีดวัคซีนของคนที่เข้าร่วมการประชุมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีการประเมินคัดกรอง และติดตามผลหลังจบการประชุม 14 วัน 4.2 มอบทุกหน่วยงานเข้าร่วมประชุมแบบ Online และประชาสัมพันธ์ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม Online |
สำนักทันตสาธารณสุข
ทุกหน่วยงาน
|
|
|
| |
5. รายงาน Thai Save Thai บุคลากรกรมอนามัย มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ - มอบกลุ่มอำนวยการแต่ละหน่วยงาน ตรวจสอบการประเมิน Thai Save Thai รายวันของหน่วยงานตนเอง และ ในการนำเสนอที่ประชุมครั้งถัดไปขอให้นำเสนอรายชื่อหน่วยงานมาพิจารณาด้วย | กองการเจ้าหน้าที่ ทุกหน่วยงาน | - | - | รับทราบ | |
6. รายงานมาตรการในสถานศึกษา (หลังเปิดเทอม) มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 6.1 ขอให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเด็กนักเรียนผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม พร้อมทั้งพิจารณาแนวทางให้นักเรียนการคัดกรองคนในบ้านและมาตรการอื่นๆ โดยพิจารณาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและกองระบาดวิทยา นำเสนอในที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุขในสัปดาห์หน้า และขอให้เลขาคลัสเตอร์รายงานเหตุการณ์ในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 6.2 มอบศูนย์อนามัยที่ 7 ประสาน สคร. และวิเคราะห์เพิ่มเติม ในกรณีพื้นที่ จังหวัดมหาสารคาม พบนักเรียนติดเชื้อโควิด – 19 เช่น นักเรียนติดระหว่างไปโรงเรียนหรือติดกับผู้ปกครองระหว่างอยู่บ้าน มาตรการที่มีเพียงพอหรือไม่ กระบวนการคัดกรองสามารถคัดกรองความเสี่ยงหรือไม่ | นพ.สราวุฒิ บุญสุข Cluster วัยเรียนวัยรุ่น
ศูนย์อนามัยที่ 7 |
|
| ||
7. เรื่องอื่น ๆ มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 7.1 ปรับหลักการการปฏิบัติตามมาตรการในกิจกรรมการออกกำลังในสวนสาธารณะตามที่ได้นำเสนอในที่ประชุมให้ครบถ้วน
7.2 ขอให้มีการพิจารณากลไกการแจ้งข้อมูลการติดเชื้อของเครือข่ายมาที่กรมอนามัย อาจจะแจ้งเข้ามาที่ TSC โดยให้พิจารณา Setting หลักก่อน เช่น โรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น และนำนำเสนอในที่ประชุม EOC กรมอนามัยในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 | HL/กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ
ทีม TSC/กองแผนงาน |
|
| ||
1.เรื่องแจ้งให้ทราบ - 2.สรุปข้อสั่งการและรายงานการประชุม EOC กรมอนามัย วันที่ 11 มิถุนายน 2564 - ที่ประชุม รับทราบ | กองแผนงาน |
| หน่วยงานรับทราบ | ||
3.เรื่องสืบเนื่อง 3.1 สรุปสถานการณ์โควิด-19 จาก PHEOC กระทรวงฯ (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ที่ประชุม รับทราบ โดยที่ประชุมมีข้อสังเกต เสนอแนะและข้อพิจารณา ดังนี้ - รองฯบัญชา ตั้งข้อสังเกตว่า กรมคร.มีการพุ่งเป้าไปสุ่มตรวจในโรงงานอาหารทำให้ตรวจพบมากขึ้น ทั้งที่จริงในโรงงานอื่นก็อาจมีแต่ไม่ได้ไปตรวจ หรือที่จริงมีเชื้อมาจากที่บ้านอยู่แล้วหรือไม่แต่ยังไม่มีการตรวจกันเพราะสัดส่วนที่ตายที่บ้านยังมากอยู่ แต่ถูกนำเสนอว่าติดมาจากที่โรงงานส่วนใหญ่ ดังนั้นกรมอนามัยควรจะเริ่มออกมาตรการในครอบครัวโดยสำนักส่งเสริมฯ ออกปฏิบัติการครอบครัวรอบรู้ เพราะตอนนี้พบตลาด แคมป์ โรงงานระบาดหมดแล้ว ซึ่งก็พบว่ามีการเกิดระบาดในชุมชนแล้วไม่มีที่กักแยกตัว อปท.ต้องทำที่แรกรับหรือไม่ สำนักส่งเสริมฯต้องรีบขับเคลื่อนครอบครัวรอบรู้ รูปแบบการจัดการในชุมชนที่มีความเสี่ยงสูง มีโรงงานระบาด แคมป์คนงาน ตลาด ระบาด หากอปท.จะจัดการจะใช้เครื่องมืออะไรที่จะทำให้รู้ว่าครอบครัวมีปัญหาแล้วซึ่งอาจต้องร่วมมือกับกรมคร.ด้วย | กองแผนงาน
สำนักส่งเสริมฯ |
| หน่วยงานรับทราบ
หน่วยงานรับทราบ | ||
3.2 สรุปข้อสั่งการ PHEOC กระทรวงฯ (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ไม่มีข้อสั่งการถึงกรมอนามัยโดยตรง - มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) จากรายงาน ที่ประชุมเห็นว่า - ประเด็นการระบาด โรงงานเป็นจุดกำเนิด คลัสเตอร์ใหญ่ๆ โดยมากเป็นโรงงานอาหารที่มีคนต่างด้าวและพบว่ามีการเติมคนงานเข้ามาใหม่ต้องเข้มงวดมาตรการองค์กร ส่วนในชุมชนเกิดเพราะ แคมป์หรือโรงงานปิดตัว ทำให้แรงงานเดินทางกลับบ้าน ทำให้เกิดการระบาดในชุมชน เสนอให้พื้นที่ต้องเฝ้าระวัง ติดตาม กักตัว โดยเฉพาะหลังการผ่อนปรนกิจกรรมต่าง ๆ - ประเด็นวัคซีน ประชุมให้ข้อสังเกตว่า กลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับวัคซีน คือ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว ได้รับวัคซีนต่ำกว่าในกลุ่มประชากรอื่น ๆ โดยเฉพาะ คนทั่วไป และจากข่าววันนี้ ประเทศชิลีจะปิดประเทศอีกครั้งเนื่องจากประชากรติดเชื้อเกิน 7,000 คน ทั้งที่ฉีดวัคซีนเข็มแรก 75 % ของประชากรประเทศ 2 เข็ม 58 % ซึ่งส่วนใหญ่เป็น SINOVAC ที่ประชุมพิจารณาว่า ตามที่นพ.ยง เผยแพร่ข้อความว่าประสิทธิภาพในการป้องกันของ SINOVAC มีแค่ 30 % ถ้าหวังผลให้ได้ 60-70 % จาก 100 ล้านโด้ส ไม่ได้ ซึ่งรองฯอรรถพลชี้ว่าต้องดูอัตราตายของชิลีด้วยว่าลดลงหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าไม่น่าลดอาการหนักได้เพราะจากข่าว ICU เต็มจนเกินกำลัง ดังนั้นต้องตายแน่นอน รองฯบัญชา เสนอให้ใช้ชิลีเป็นต้นแบบแต่ต้อง approach ปัจจัยก่อนว่า 1) ฉีดวัคซีนแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ 2) ผลกระทบ อัตราตายเป็นอย่างไรระลอกใหม่ตายเพิ่มหรือไม่ 3) สายพันธุ์ที่ระบาดใหม่เป็นบราซิลซึ่งจากเดิมเป็นอังกฤษ ซึ่งจะบ่งชี้ว่า SINOVAC ไม่ลดความรุนแรงเพราะเป็นสายพันธุ์อื่น (บราซิล) หรือไม่ เพราะปัจจุบันกล่าวว่าต่อให้เป็นสายพันธุ์อินเดียก็ไม่ตาย คือ ลดความรุนแรงเชื้อได้ แต่ถ้าสายพันธุ์อินเดียแล้วฉีด SINOVAC แต่ยังตายเพิ่มขึ้นจะเป็นประเด็นใหญ่ โดยเฉพาะที่ประเทศไทย ดังนั้นต้องรีบ Clear Clean ข้อมูลให้ชัดเจน เพราะตอนนี้มีการตั้งประเด็นการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะลดการป่วย ตาย ผู้เสี่ยงสูง คนแก่ ผู้มีโรคประจำตัว แต่ประเทศไทยไม่ได้ดำเนินการตามเป้าหมายเช่นนั้น แต่กลายเป็นฉีดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดจึงเกิดการแย่งกันฉีด ประเด็นคือ 1) วัคซีนหลักเราเป็น SINOVAC + มาไม่สม่ำเสมอ ควรจะฉีดเพื่อเป้าหมายใด ถ้าเป็น SINOVAC ก็ต้องมุ่ง ป้องกันตายก่อน เศรษฐกิจอาจต้องเป็นลำดับรอง เพราะ ฉีดเพื่อเศรษฐกิจต้องฉีด ได้ 70 % ฉีดลดตายต้องฉีดให้กลุ่มเสี่ยง ทั้งที่กรมคร.เน้นที่คนกลุ่มเสี่ยงแต่กลับได้ฉีดน้อยกว่ากลุ่มอื่น 2) SINOVAC ฉีดแล้วป้องกันตายไม่ได้อย่างเช่นที่ชิลีก็ต้องไม่สนใจ Herd immunity แต่ต้องสนใจฉีดให้คนกลุ่มเสี่ยงก่อน แล้วจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นเรื่องรองไป - ข้อสั่งการ ให้รับทราบไว้เป็นข้อมูล เพราะประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลงตามธรรมชาติอยู่แล้ว | Liaison
|
| รับทราบ
หน่วยงานรับทราบ | ||
3.3 รายงานอนามัยโพล (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) มีข้อเสนอเพื่อการวางแผนและการสื่อสาร โดยเสนอให้ดำเนินการดังนี้ - สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ นำผลการสำรวจอนามัยโพลไปวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสม สำหรับสถานประกอบการร้านอาหาร ทั้งร้านอาหารในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (4 จังหวัด) และพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด - ทีมปฏิบัติการระดับเขตสุขภาพ สื่อสารและกำชับร้านอาหารในพื้นที่ไม่ให้ขายแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการรวมกลุ่มสังสรรค์/เล่นพนัน และเน้นย้ำมาตรการการป้องกันโรคในร้านอาหาร โดยเฉพาะการเว้นระยะห่าง ใช้ถุงมือเมื่อตักหรือหยิบจับอาหาร และการจัดที่นั่งในร้านไม่เกิน 25% - ที่ประขุม รับทราบ - ข้อเสนอแนะและสั่งการ
4. ให้ศูนย์สื่อฯ นำข้อมูลจากอนามัยโพลไปเผยแพร่ต่อเนื่อง เรื่อง delivery และการนั่งทานอาหารในร้าน |
กองประเมินฯ
สอน.
ทีมปฏิบัติการ ระดับเขตสุขภาพ
ทีมอนามัยโพล
สอน. + ศูนย์สื่อฯ
ทีมอนามัยโพล + สอน. (รองฯ ดนัย เป็นที่ปรึกษา)
ศูนย์สื่อฯ |
|
|
รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ
หน่วยงานรับทราบ
ดำเนินการแล้ว นำเสนอที่ประชุม วันที่ 16 มิ.ย.64 ดำเนินการสื่อสารเรียบร้อยแล้ว
รับทราบ ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
ดำเนินการสื่อสารเรียบร้อยแล้ว | |
3.4 รายงานความก้าวหน้าทีม Operation/ Logistic/ HL - Operation/ Logistic ไม่มีรายงาน - ที่ประขุม รับทราบ - สื่อสาร / HL (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ข้อสั่งการ
| สื่อสาร ” |
| หน่วยงานรับทราบ | ||
4.เรื่องเพื่อทราบ รายงานความก้าวหน้าในการเตรียมการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และประชากรเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 - การประชุมคณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ข้อสั่งการ
|
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ + ศูนย์สื่อฯ ” |
|
| หน่วยงานรับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ
ดำเนินการสื่อสารเรียบร้อยแล้ว | |
5.เรื่องเพื่อพิจารณา - ข้อเสนอมาตรการ ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ภายหลังประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ฉบับที่ 23 (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ข้อสั่งการ
1) ใช้ข้อมูลจากอนามัยโพลมาวิเคราะห์โดยให้ดูจำนวนคนที่ตอบด้วย (N) 2) ลักษณะของการวิเคราะห์ให้ดูว่าคนที่ไม่เห็นด้วยอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (4 จังหวัด) หรือไม่ โดยดูได้จาก Dash board แล้ววิเคราะห์ดูว่าอีก 73 จังหวัดรูปแบบเป็นอย่างไร ถ้าขนาดคนใน 73 จังหวัดตอบไม่เห็นด้วยก็ต้องวิเคราะห์ว่าทำไมคนที่ไม่อยู่ในพื้นที่ระบาดจึงไม่เห็นด้วย 3) วิเคราะห์ข้อมูลผู้ติดเชื้อตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค. ที่เปิดมาแล้วแยกเป็นรายสัปดาห์นำมาวิเคราะห์ดูว่ามีผู้ติดเชื้อเกี่ยวข้องกับร้านอาหารหรือไม่ 4) ถ้าจะคลายล็อคตัวเลขที่คลายควรจะเป็นอย่างไร 5) ดูแนวโน้มของศปก.ศบค.ว่าจะเป็นอย่างไร (คลายหรือไม่)
| สอน.
สอน
สอน
สอน
สอน
สอน
สอน
สอน
รองฯ ดนัย |
|
รับทราบ ดำเนินการตามข้อสั่งการ
รับทราบ ดำเนินการแล้วโดยมีการจัดทำ infografic และได้ประชุมร่วมผู้ประกอบการ
รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการตามข้อสั่งการ
รับทราบ | ||
6.เรื่องอื่นๆ : - มีข้อสั่งการดังนี้
5. กรณีจังหวัดพื้นที่ท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต สมุย พังงา กระบี่ เรา ทำ MICE ต่อไป เพราะเป็นsettingที่เราดูแล ส่วน SHA หากมี การประสานมาค่อยคุยกันอีกที |
กลุ่มวัยเรียน
กลุ่มวัยทำงาน (รองฯบัญชาเป็นที่ปรึกษา)
สอน.
สอน.
กอง ประเมินฯ |
|
|
รับทราบ
รับทราบ
รับทราบ ดำเนินการแล้ว
รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ
หน่วยงานรับทราบ | |
1. สรุปข้อสั่งการจากประชุม EOC กรมอนามัย วันที่ 10 มิถุนายน 2564 ในประเด็นสำคัญ เช่น ปรับการประชุม EOC กรมอนามัย เป็นวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.30 – 17.00 น. การสื่อสารเรื่องการใช้ยาคุมกำเนิดทุกชนิดและการฉีดวัคซีนในผู้วางแผนมีบุตร เรื่อง Good Factory Practice การจัดทำ SOP การประชุมแบบอบรมกับแบบสั่งการในปี 2565 เป็นต้น |
|
| รับทราบ | ||
2. สรุปสถานการณ์โควิด 19 จาก PHEOC กระทรวง จำนวนผู้ป่วยวันนี้ 2,290 ราย ที่ประชุมมีข้อเสนอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่มีโรงงาน สถานประกอบการ วางแผนดำเนินการ Bubble and sealed protocol ก่อนที่จะมีการพบผู้ติดเชื้อ และมีข้อสั่งการจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้เตรียมการวางแผนการ Exit and Opening ให้มีการหารือกับ สปสช. เรื่อง ความชัดเจนการจ่ายค่าชดเชยกรณีพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการฉีดวัคซีน และสื่อสารกับประชาชน และให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องการเปิดจังหวัดภูเก็ตและให้มีการเฝ้าระวังและประเมินในมิติต่าง ๆไม่มีข้อสั่งการถึงกรมอนามัย 2.1 ประธานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Setting และกิจกรรมกิจการต่างๆ จัดเตรียมวางแผนเตรียมการเปิด (Re – Opening) โดยพิจารณาเรียงลำดับความสำคัญ และให้ทีม Stag รวบรวม เช่น การให้ออกกำลังกาย การแข่งขันกีฬา เป็นต้น 2.2 นอกจากนี้ให้ข้อเสนอ คนฉีดวัคซีนแล้วสามารถเข้า Setting ได้ ทำเป็นระบบออนไลน์ โชว์ในมือถือ หรือทำสายรัดข้อมือ | STAG และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ||||
3. ตรวจจับประเด็น COVID 19 (IWD) พบว่า “สำนักงานเขตบางรักแจงตลาดละลายทรัพย์พบผู้ติดเชื้อ 310 ราย ไม่ใช่เรื่องจริง ทั้งนี้ เป็นการพบผู้ติดเชื้อสะสม - ผลสำรวจประเด็น “ความคิดเห็นต่อมาตรการกำหนดที่นั่งกินในร้านอาหารได้ไม่เกิน 25% ของจำนวนที่นั่งปกติในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด” (N=313 คน) พบว่า เห็นด้วย 77% เนื่องจากลดความแออัด แต่ถ้ามาด้วยกันให้นั่งได้ ที่ประชุมมีการทบทวนข้อสั่งการเรื่อง มาตรการกำหนดที่นั่งกินไม่เกิน 25% และขอให้สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำทำการสำรวจให้ตรงประเด็นข้อสั่งการว่า หลังจากใช้มาตรการนี้แล้ว ยังพบผู้ติดเชื้อหรือไม่ และมีผลกระทบอย่างไร นอกจากนี้ขอให้เพิ่มมาตรการการฉีดวัคซีน | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ |
| |||
4. ความก้าวหน้ากล่องสื่อสาร/HL ในจุดที่ฉีดวัคซีน ถ้าเป็นจัดการด้านสิ่งแวดล้อมมอบให้สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมดำเนินการ ถ้าเป็นข้อแนะนำปฏิบัติตัวหลังจากฉีดวัคซีน โดยขับเคลื่อนก้าวท้าใจ มีกิจกรรม 3 อ. กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพรับผิดชอบ ในภูมิภาคมอบศูนย์อนามัยนำไปปฏิบัติในจุดที่ฉีดวัคซีน แล้วกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพนำเสนอผลการดำเนินงานในภาพรวมในที่ประชุม EOC ต่อไป | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม/ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ/ศูนย์อนามัยทุกแห่ง/สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง | ||||
5. การกำหนดมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID – 19 แคมป์คนงานก่อสร้าง มี Cluster ที่ต้องเฝ้าระวัง 63 แห่ง ในเขตต่างๆ ในกทม. ซึ่งความเสี่ยงมาจากพฤติกรรมและสุขอนามัยของคนในครอบครัว คนงาน ไปยังแคมป์คนงานและสถานที่ทำงาน เช่น การกินอาหารร่วมกัน การพูดคุย สูบบุหรี่ สังสรรค์ ทำงานไม่สวมหน้ากาก สัมผัสใกล้ชิด ห้องส้วม ซักล้าง เป็นต้น ดังนั้น จึงมีการกำหนดมาตรการด้านบุคคลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกัน ทั้งในมาตรการหลัก มาตรการเสริม และมาตรการจำเพาะ ประธานมอบให้สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมปรับการใช้สำนวนประโยค ให้ไปแนวทางเดียวกัน คำต้องไม่ฟุ่มเฟือย และจัดรูปแบบฟอร์มให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายขึ้น และให้ Cluster วัยทำงาน ประสานและหารือร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งในกระทรวงและนอกกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นนำเข้าสู่ ศปก. ศบค. ต่อไป | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม Cluster วัยทำงาน |
| |||
6. การวางแผนการเปิดกิจการร้านอาหาร การประชุม การท่องเที่ยว/เดินทาง การกีฬา/ออกกำลังกาย ประธานขอให้รองอธิบดีและสำนัก/กองที่เกี่ยวข้องในประเด็นการเปิดกิจการร้านอาหาร การประชุม การท่องเที่ยว/เดินทาง การกีฬา/ออกกำลังกาย คิดหาแนวทางร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อให้ประชาชนสามารถทำกิจกรรม กิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติเพื่อเศรษฐกิจ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงอยู่ โดยมอบดังนี้ ร้านอาหาร มอบสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ การประชุม มอบกองประเมินเพื่อผลกระทบต่อสุขภาพ การท่องเที่ยว/เดินทาง มอบสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม การกีฬา/ออกกำลังกาย มอบกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ส่วนการเปิด Setting ต่างๆ มอบให้ Cluster ที่เกี่ยวข้องดำเนินการหารือกับภาคีเครือข่ายเพื่อเปิดกิจการดังนี้ โรงเรียน มอบCluster วัยเรียนวัยรุ่น ศูนย์เด็กเล็ก มอบCluster สตรีและเด็กปฐมวัย สถานประกอบการ มอบCluster วัยทำงาน สูงอายุ มอบCluster ผู้สูงอายุ | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ Cluster กลุ่มวัย | ||||
7. การพัฒนา Thai Stop Covid ที่ประชุมให้ทีม IT กองแผนงานประชุมหารือร่วมกันกับทีมวิชาการที่นำ App. TSC ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เข้าใจในรายละเอียดการใช้งานและเนื้อหา เทคนิคที่จำเป็น ให้ตรงกัน | กองแผนงาน |
| |||
จากสรุปข้อสั่งการ PHEOC กระทรวงฯ มีข้อสั่งการ ดังนี้ 1.1ประชุม EOC กรมอนามัยปรับวันประชุมตามการประชุม PHEOC กระทรวงฯ เป็นวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.30 – 17.00 น. เริ่มสัปดาห์หน้า | ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
| รับทราบ | ||
2. ศูนย์สื่อสารสาธารณะรายงานการสื่อสาร มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะดังนี้ 2.1 การสื่อสารข่าววันที่ 11 มิถุนายน 2564 ในประเด็นคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธ์เห็นชอบให้ผู้ใช้ยาคุมกำเนิดทุกชนิดและผู้วางแผนมีบุตรสามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้โดยขอให้เพิ่มหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม คือ ราชวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้ทำ Infographic เป็น 2 ชุด คือ ชุด 1. กลุ่มยาคุม กลุ่มที่ใช้ฮอร์โมนในการรักษา กลุ่มผู้ที่อยู่ในภาวะตรวจหรือรักษาในภาวะผู้มีบุตรยาก ให้ทำในภาพของกรม กลุ่มที่ 2.กลุ่มความสัมพันธ์ทางเพศให้เหมาะสมในสถานการณ์โควิด-19 ให้ทำในภาพของสำนัก 2.2 ขอความร่วมมือศูนย์อนามัยที่ 1-12 และสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง เร่งดำเนินการโครงการก้าวท้าใจ Season 3 ให้ถึงเป้าหมาย 3 ล้าน 2.3 ขอให้สื่อสารถึงจำนวนผู้ประกอบการโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ Good Factory Practice 2.4 สืบหาข้อมูลผู้ติดเชื้อที่มีกิจกรรมทางกายในสถานที่ออกกำลังกายกลางแจ้งตั้งแต่เดือนเมษายน นำไปหารือในคณะกรรมการกิจกรรมทางกายเป็นข้อเสนอให้ผ่อนคลายการออกกำลังกายกลางแจ้ง แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการ New Normal และสื่อสารต่อไป |
ศูนย์สื่อสารสาธารณะ สำนักอนามัยการเจริญพันธ์
ศูนย์อนามัยที่ 1-12สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง
สำนักส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์สื่อสารสาธารณะ นพ.บัญชา ค้าของ /กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ/ศูนย์สื่อสารสาธารณะ |
|
| ||
3. การรายงานรายงานความก้าวหน้าในการขึ้นทะเบียนใน Thai Stop Covid Plus สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีข้อสั่งการดังนี้ 3.1 สนับสนุนในการจัดทำรูปแบบ SOP เพื่อกำหนดแนวทางการประชุมแบบอบรม ประชุมแบบสั่งการ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยกองแผนงานเป็นหน่วยงานติดตามและปรับเป้าหมายสัดส่วนการจัดประชุมแบบปกติและออนไลน์ หลักการไม่ลดผลผลิต 3.2 ขอให้รายงานผลการดำเนินงานการประเมินโรงเรียนในระบบ Thai Stop Covid Plus โดยหารือร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อนนำเสนอที่ประชุม ศปก. ศบค. ภายในสัปดาห์นี้ และนำ ECD Bubble Model มาใส่เป็นมาตรการ และมีข้อเสนอจากข้อมูลเขตสุขภาพที่ 5 8 และกรุงเทพมหานคร ที่มีผลของโรงเรียนเข้ามาประเมินเป็นจำนวนน้อย จะเปิดเรียนได้หรือไม่ | กลุ่มพัฒนาระบบบริหารและสำนัก-คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกองแผนงาน
นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ สำนักส่งเสริมสุขภาพ (คลัสเตอร์แม่และเด็ก)และสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ |
|
| ||
4. วาระอื่นๆ 4.1 การดำเนินการงบกลาง งบเงินกู้ มีข้อสั่งการดังนี้ 1) ให้ทำคำของบประมาณ(งบเงินกู้) ขึ้นไป หน่วยงานส่วนกลางพิจารณารายการที่เหมาะสม ถ้ามีรายการที่เกี่ยวข้องกับศูนย์อนามัยให้ เชิญศูนย์อนามัยเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย สำหรับในส่วนของศูนย์อนามัยพิจารณาความสอดคล้องและมีประโยชน์ที่จะใช้ดำเนินงานในช่วงโควิด-19 และต่อเนื่องหลังจากช่วงโควิดระบาด 2) การชี้แจงงบประมาณ ขอให้มีการเตรียมเอกสาร และการซักซ้อมในวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน 2564 เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป ถ้ายังไม่ Complete ให้ซักซ้อมต่อในวันเสาร์หรืออาทิตย์ เพื่อปรับปรุงให้ทันต่อการชี้แจงงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2565 ในวันจันทร์ที่ 14 มิ.ย.64 และขอให้ผู้อำนวยการทุกหน่วยงาน หรือรองผู้อำนวยการ พร้อมรับการติดต่อได้ตลอดเวลาในช่วงการชี้แจงงบประมาณ และศูนย์ปฏิบัติการกรมอนามัยเตรียมชุด Packit ตัวอย่างเพื่อนำเสนอกับกรรมาธิการงบประมาณ | ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กองแผนงานและ ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ศูนย์ห้องปฏิบัติการ |
|
| ||
1.ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำหนังสือราชการแจ้งไปยังผู้ว่าราชการทุกจังหวัด เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดร่วมดำเนินการ ดังนี้ 1)ส่งเสริมและขับเคลื่อนการประเมินรับรองตนเองของสถานประกอบการด้วยแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID Plus 2)ส่งเสริมให้มีการคัดกรองพนักงานด้วยแอพพลิเคชั่น Thai Safe Thai 3)ส่งเสริมการส่วนร่วมกิจกรรมโครงการก้าวท้าใจ | ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบ |
| หน่วยงานรับทราบ | ||
2.จากการนำเสนอผลการสำรวจอนามัยโพล มีมติและข้อสั่งการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 2.1 พิจารณาปรับรูปแบบการนำเสนอผลการสำรวจอนามัยโพลในรูปแบบ pie chart เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ 2.2 วิเคราะห์ผลการสำรวจฯ โดยแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดตามความรุนแรงของสถานการณ์เชิงพื้นที่ และเงื่อนไขเวลาในการประกาศใช้มาตรการสำคัญ เช่น มาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจ (ม.33) ฯลฯ แล้วมอบให้ผู้ทรงคุณวุฒิสังเคราะห์ผลการสำรวจฯ เพื่อประกอบการกำหนดหรือวางกรอบนโยบายในการป้องกันโรคและควบคุมประเด็นปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง 2.3 ออกแบบการสำรวจอนามัยโพล โดยการประยุกต์ใช้ระบบการสอบสวนผู้สัมผัส (Sentinel surveillance) ของกรมควบคุมโรค มุ่งเน้นผู้ ตอบแบบสำรวจเฉพาะเจาะจงในพื้นที่พื้นที่มีการระบาดแบบกลุ่มก้อน เช่น สถานประกอบการ ตลาด ฯลฯ | คณะทำงานอนามัยโพล/ผู้ทรงคุณวุฒิ |
|
chart แล้ว แสดงหน้า Dash Board
จำนำเสนอภายในสัปดาห์นี้
Sentinel surveillance จะ ดำเนินการสำรวจรอบถัดไป | ||
2.4 หยิบประเด็น ร้านอาหารที่ต้องปิดร้านในช่วงโควิด-19 เป็นร้านอาหารแบบไหน ร้านอาหาร หรือร้านอาหารกึ่งผับ 2.5 สื่อสารและทำความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อลดความกังวลจากประเด็นข่าว เรื่อง การรับประทานอาหารและน้ำแข็ง ทั้งนี้ พิจารณาเสนอหรือแนะนำให้ประชาชนรับประทานน้ำแข็งหลอดเพื่อบริโภค สื่อสารให้หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำแข็งจากพื้นที่ที่มีประวัติการระบาด กำชับและให้ประชาชนระมัดระวังการใช้น้ำแข็งสำหรับแช่อาหารเฉพาะ โดยแยกจากน้ำแข็งสำหรับการบริโภคโดยตรง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำแข็งซอง | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ และสำนักสุขาภิบาลอาหาร และน้ำ |
| ศส. ดำเนินการสื่อสาร เรียบร้อยแล้ว | ||
3.จากการนำเสนอรายงานการประเมินผลเผยแพร่การสื่อสารความรู้การสร้าง (Health Literacy) ในสื่อ Social Media การดูแลป้องกันตนเองของผู้สูงวัยด้วย 5อ และ 3ล. (ผู้สูงวัย ห่างไกล COVID 19) ให้หน่วยงานดำเนินการประมวลและจัดทำข้อเสนอที่เกี่ยวข้องให้ นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ (รองอธิบดี) พิจารณาก่อนนำเข้าประชุม EOC กรมอนามัย เพื่อพิจารณาต่อไป | สำนักอนามัยผู้สูงอายุ |
| หน่วยงานรับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
เรื่องอื่นๆ 4.1 เห็นชอบมติการประชุมเตรียมการบริหารจัดงบประมาณ รายการงบกลางค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 โดยให้ทุกหน่วยร่วมดำเนินการ | ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง |
| หน่วยงานรับทราบ | ||
4.2 สถานศึกษา : เร่งรัดและผลักดันการเข้าประเมินรับรองตนเองสำหรับสถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID Plus เช่น สถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สถานศึกษาสังกัดกระทรวงมหาดไทย ฯลฯ และให้รายงานความก้าวหน้าในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) เพื่อสั่งการให้สถานศึกษาดังกล่าวข้างต้นประเมินรับรองให้ครบถ้วนต่อไป | สำนักส่งเสริมสุขภาพ |
| หน่วยงานรับทราบ ดำเนินการตามข้อสั่งการ | ||
4.3 สถานประกอบการ : จากการจัดทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้สถานประกอบการขนาดใหญ่(โรงงาน) ประเมินรับรองตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID Plus ร้อยละ 100 (3,300 แห่ง) ให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 และสถานประกอบการที่ไม่ผ่านให้ดำเนินการปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 มีมติสั่งการ ดังนี้ 1) รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานข้างต้นในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) หลังวันที่ 15 มิถุนายน 2564 เพื่อรับทราบต่อไป 2) ศูนย์อนามัยเตรียมความพร้อมทีมสุ่มตรวจประเมินเชิงคุณภาพสถานประกอบการร่วมกับเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการหลัก 3) พิจารณาเสนอและผลักดันให้สถานประกอบการขนาดกลางประเภทโรงงานผลิตอาหารและน้ำแข็งประเมินรับรองตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID Plus ระยะถัดไป และเสนอแผนการดำเนินงานข้างต้นในการประชุม EOC กรมอนามัย เพื่อพิจารณาต่อไป | สำนักส่งเสริมสุขภาพ ทุกศูนย์อนามัยและสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง |
| หน่วยงานรับทราบ ดำเนินการตามข้อสั่งการ | ||
4.4 ตลาด : จากการกำหนดเป้าหมายให้ตลาดร้อยละ 100 ประเมินรับรองตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID Plus ให้หน่วยงานรายงานผลการประเมินข้างต้นของตลาดประเภท 1 ในการประชุม EOC กรมอนามัย ในวันที่ 8 มิถุนายน 2564 เพื่อทราบต่อไป | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ |
| รับทราบและอยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
4.5 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย : จากการกำหนดเป้าหมายการประเมินรับรองตนเองของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้หน่วยดำเนินการประมวลผลการประเมินและคืนข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการประเมินความเสี่ยงรองรับการเปิดบริการต่อไป | สำนักส่งเสริมสุขภาพ สถาบันพัฒนาอนามัย เด็กแห่งชาติ ทุกศูนย์อนามัยและสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง |
| หน่วยงานรับทราบและอยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
4.6 แคมป์ก่อสร้าง : จัดทำแนวทางปฏิบัติและคำแนะนำด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับแคมป์ก่อสร้างในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19.ให้นำมาเสนอในที่ประชุม EOC กรมอนามัยสัปดาห์นี้ และค้นหาข้อมูลจำนวนแคมป์ก่อสร้างทั้งหมด รวมถึงประสานหน่วยรับผิดชอบหลัก/หรือหน่วยงานขึ้นทะเบียนรับรองแคมป์ก่อสร้างต่อไป ก่อนจัดทำแบบประเมินและกำหนดเป้าหมายการประเมินรับรองตนเองของแคมป์ก่อสร้างในแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID Plus ต่อไป โดยเสนอให้มีการประยุกต์รูปแบบการดำเนินงานเดียวกับสถานประกอบการโรงงาน และสถานศึกษา | STAG (วิชาการ) สายอนามัยสิ่งแวดล้อม สายส่งเสริมสุขภาพ |
| รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
4.7 จากกำหนดการแถลงข่าวของบริษัท CPF ในวันที่ 10 มิถุนายน 2564 มอบให้นางอัมพร จันทวิบูลย์ ประสานการร่วมจัดกิจกรรมในวันดังกล่าวและรายงานความก้าวหน้าในที่ประชุม EOC กรมอนามัยต่อไป | นางอัมพร จันทวิบูลย์ สำนักคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
| รับทราบ | ||
1. การประเมิน Thai Stop COVID Plus 1.1การสื่อสารผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าให้ประเมิน Thai Stop COVID Plus ทุกแห่ง กระตุ้นการสื่อสาร เน้นให้ความรู้ผู้ใช้บริการและประสานเครือร้านค้าย่อยในห้างสรรพสินค้า ในการประเมิน Thai save Thai ในพนักงาน รวมทั้งพนักงานในห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้าที่มีเครือข่ายจำนวนมากขอให้ประสานดำเนินการทุกแห่ง ส่วนห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นมอบให้ศูนย์อนามัยประสานงาน 1.2 ประสานและหารือกับสมาคมและกลุ่มกิจการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สถานประกอบการในพื้นที่ดำเนินการประเมินให้ได้ตามเป้าหมายภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 และคืนข้อมูลผลการประเมินดังกล่าวให้สถานประกอบการใน TSC+ รวมทั้งการคืนข้อมูลการประเมินให้กับต้นสังกัดสถานศึกษา เพื่อทราบและสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป และรายงาน ศปก.ศบค.ในภาพรวม | กองประเมินฯ และ ศูนย์สื่อสารฯ ศูนย์อนามัยทุกแห่ง
ทีม TSC และ กองแผนงาน
|
|
| ||
2.1 จัดทำแผนการเตรียมความพร้อม สถานการณ์ มาตรการ คำแนะนำและเตรียมแผนวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยคาดการณ์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งดีและไม่ดี และนำเสนอแผนการดำเนินงานในสัปดาห์ถัดไป 2.1 พัฒนาแบบประเมิน เกี่ยวกับแคมป์แรงงานใช้ในการประเมินระบบ TSC Plus | STAG | ||||
3.1 ให้แบ่งมาตรการหรือหมวดหมู่ตามพื้นที่สี เช่น จัดกลุ่มคำหรือมาตรการให้กระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย จัดทำแบบคัดกรอง/มาตรการ ผู้ค้า ลูกค้าให้ชัดเจน การกำกับติดตามการใช้มาตรการ 3.2 ให้วิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์จากระบบ TSC หรือการลงพื้นที่ จัดทำแนวทางมาตรการให้สัมพันธ์กับพื้นที่ และเตรียมข้อมูลมาตรการตลาดนำเข้า ศปก. ศบค. โดยหลักการคล้ายกับสถานประกอบการที่ให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมนำเสนอด้วย | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | ||||
4. ให้ลงพื้นที่ร่วมเรียนรู้เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการสุขาภิบาลและส่งเสริมสุขภาพในแคมป์คนงานก่อสร้างให้ได้มาตรฐาน | ทีม Operation | ||||
5. กระทรวงอุตสาหกรรมขอเข้าร่วมระบบข้อมูลผลการประเมินของสถานประกอบการ ในระบบ TSC+ (Open Data) ประสานให้ทีม IT ของกระทรวงอุตสาหกรรม และ กรมอนามัยได้พูดคุยกัน | กองแผนงาน | ||||
6. รับหลักการในรายงานผลการสำรวจอนามัยโพล โดยหากเป็นประเด็นประจำให้สามารถรายงาน 2-3 วันต่อสัปดาห์ ส่วนการการรายงาน Event Poll ให้รายงานตามความสำคัญจำเป็น และเร่งด่วนของเหตุการณ์นั้นๆ | คณะทำงานอนามัยโพล | ||||
7.ข้อสั่งการอื่นๆ 7.1 ขอความร่วมมือให้เร่งดำเนินการกิจกรรมก้าวท้าใจ ให้ครบกำหนดเป้าหมาย 3 ล้านคน 7.2 จัดเตรียมแผนงบประมาณ ปี 2565 และงบกลางให้พร้อม รวมทั้งติดตามผลผลิตของงานและเร่งรัดการใช้งบประมาณ 7.3 ในวันที่ 7 มิถุนายน 2564 จะมีการฉีดวัคซีน ณ สถานีกลางบางซื่อ ประเด็นที่เกี่ยวกับกรมอนามัยให้เตรียมข้อมูลให้พร้อม เช่น ขยะติดเชื้อ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบที่เกิดจากวัคซีน เป็นต้นรวมทั้งข้อมูลประเด็นการใช้โฮโมนที่อาจมีผลกระทบต่อการฉีดวัคซีน | ทุกหน่วยงาน
ทุกหน่วยงาน
ทุกคลัสเตอร์ที่เกี่ยวข้อง | ||||
1. เรื่องแจ้งให้ทราบ - | - | ||||
2. สรุปข้อสั่งการและรายงานการประชุม EOC กรมอนามัย วันที่ 1 มิถุนายน 2564 - ที่ประชุม รับทราบ แต่มีข้อแก้ไขในเรื่องการประเมินความพึงพอใจต่อมาตรการของสถานประกอบการของผู้ใช้บริการต่อสถานประกอบการที่ได้การรับรอง SHA ซึ่งมีเกณฑ์ที่บอกถึงระดับความพอใจแต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่า ความพึงพอใจมากหรือน้อยนั้นมีนัยอย่างไร จึงเป็นข้อสังเกตให้ดูวิธีการประเมินของ SHA แล้วนำมาปรับปรุงวิธีการประเมินของกรมในการกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ จึงเชื่อมโยงมาที่อนามัยโพลให้รับข้อสังเกตนี้ และเรียนรู้จากวิธีการของ SHA แล้วนำมาปรับปรุงแนวทางในการทำโพล โดยมีข้อเสนอจากรองฯบัญชาให้นำส่วนของมาตรการการประเมินรับรองคุณภาพของสถานประกอบการมาหารือร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาเกณฑ์ให้เป็นปัจจุบัน ทันต่อสถานการณ์โลก หรือทำในลักษณะที่เป็น Co-branding หรือเป็น Brand เดียว เพื่อลดความสับสนของผู้ประกอบการ ซึ่งได้เสริมว่า ตามที่ท่านอธิบดีให้ความเห็นไว้ว่าเกณฑ์ TSC ตรงนี้น่าจะไม่ทันสมัย ควรมีการปรับปรุงเป็นระยะ โดยนำผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ มาคุยบูรณาการกัน ซึ่งจุดได้เปรียบของกรมอนามัยคือเป็นผู้ออกแบบ Platform ในทางวิชาการก็ได้เปรียบเพราะเป็นเจ้าของวิชาการ หากเราจะเป็นศูนย์กลางในการนำแนวคิด สถานการณ์ ปัจจัยของหน่วยอื่นๆ เข้ามาปรับแก้เกณฑ์แล้ววางใน Plat Form เราจะเป็นเจ้าของ Platform ที่เป็นศูนย์กลาง จึงควรปรับเกณฑ์เพราะจะได้ประโยชน์มากกว่าที่จะได้เกณฑ์ที่ทันสมัยพร้อมกับได้บูรณาการคนอื่นเข้ามาร่วมงานกัน เมื่อทำแล้วใช้ Co – Branding ซึ่งหมายถึงข้อมูลอยู่ที่เรา เครื่องหมาย ตราหรือจุดเผยแพร่อยู่ที่เขา ซึ่งปัจจุบันสามารถดูข้อมูลได้จากโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแทบไม่ต้องให้บริการข้อมูลอื่นใดแล้ว สามารถเข้ามาดูข้อมูลได้ตลอด โดยไม่มีการปกปิด แต่ถ้าดูลึกถึงรายละเอียดระดับโรงงานต้องมีรหัสผ่าน ซึ่งยังเข้าทางโทรศัพท์มือถือได้เช่นกัน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่นำไปเป็นกรอบแนวทางขับเคลื่อน คือ ร่วมกันปรับเกณฑ์ Platform ต้องเป็นของเราและอยู่ที่เรา โดยสนับสนุนข้อมูลให้เขาทาง On – Line ไม่ต้องมาขอข้อมูลกันเป็นครั้งๆไป ข้อดีคือ เราไม่ต้องวิ่งไปหาข้อมูลจากเขา เหมือน SHA ถ้าไม่ Co – Branding ก็จะมีการใช้ SHA บ้าง ใช้ TSC บ้าง ซ้ำซ้อนกัน แต่กรอบใหญ่ในการสังคยานาเกณฑ์ TSC ก็ควรมอบประเด็นนี้ให้คณะกรรมการบริหาร TSC คือ หน่วยงานที่ดูแลต้องประสานทุกกอง ทุกคลัสเตอร์ที่ต้อง Up Grade เกณฑ์ของ TSC เป็นระยะ ในช่วงสถานการณ์ระบาดแต่ละช่วงทุกสัปดาห์จะมีข้อมูล Input ใหม่เข้ามาตลอดควรต้องมีการปรับตามสถานการณ์เป็นระยะ ซึ่งรองอรรถพลเสริมว่าเป็นโอกาสที่ดี เพราะมีการแจ้งและบันทึกในที่ประชุม EOC กระทรวง ที่มอบเรื่องการประเมินสถานประกอบการให้กรมอนามัย โดยการใช้ TSC เราจึงน่าจะมีอำนาจในการเรียก Platform อื่นๆ เข้ามาโดยที่เราเป็น Focal Point จึงสรุปเป็นข้อสั่งการ ในวันนี้ให้คณะกรรมการบริหาร TSC ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบเกณฑ์ใน TSC ในการปรับปรุงเกณฑ์เป็นระยะ โดยกรมอนามัยต้องรับเป็นเจ้าภาพในการประสานหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกเข้ามาบูรณาการเป็นเกณฑ์เดียวกัน
| Liaison
| ||||
3. เรื่องสืบเนื่อง 3.1 สรุปสถานการณ์โควิด – 19 จาก PHEOC กระทรวงฯ (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ที่ประชุม รับทราบ โดยที่ประชุมมีข้อเสนอแนะและข้อพิจารณา ดังนี้ - รองฯ อรรถพล เสริมรายละเอียดจากกรณีเด็ก 10 เดือน ที่เสียชีวิตว่าเด็กมีภาวะ Second – Degree Burn (กองระบาดยังไม่ทราบรายละเอียดสาเหตุต้องไปสอบสวนต่อ) ซึ่งอาจจะโดนน้ำร้อนลวกเป็นภาวะร่วมที่อาจทำให้เด็กมีภาวะติดเชื้อเทรกซ้อนอยู่ก่อนแล้วมาติดเชื้อโควิด จึงเสียชีวิต ซึ่งรองฯ บัญชา เห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพราะรายงานที่ผ่านๆ มาเด็กที่ติดเชื้อมักมีอาการไม่รุนแรง แต่ระยะหลังเริ่มมีรายงานเด็กเสียชีวิตซึ่งส่วนใหญ่มีสภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นเป็นตัวร่วม (Co – Incident) ที่ทำให้เด็กอาจมีภูมิต้านทานต่ำจึงติดเชื้อแล้วทำให้เสียชีวิต ไม่ใช่การเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดโดยตรง ดังนั้น การรายงานของกองระบาดหากไม่ใช่ข้อมูลทางการที่เป็นมาตรฐานอาจทำให้ Mislead ได้ เพราะอาจมีการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ที่ไม่ใช่เหตุโดยตรงซึ่งควรต้องแจ้งในรายงานว่าเด็กที่เสียชีวิตมีสิ่งผิดปกติตรงไหนที่เป็นปัจจัยเสริมให้เสียชีวิตอาจไม่ใช่จากการติดเชื้อโดยตรง และกรณีประเด็นเสี่ยงที่กองระบาดรายงานว่าติดจากในครอบครัว ติดจากเพื่อนบ้านซึ่งที่จริงอาจติดจากในครอบครัวอยู่ก่อนแล้วไปเจอเพื่อนบ้านซึ่งอาจมีพฤติกรรมเสี่ยงเลยตีความว่าติดจากเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่จากการไปค้าขาย หรือนั่งรถแท็กซี่ก็เข้าใจว่าติดจากแท็กซี่ซึ่งความจริงอาจติดที่บ้านหรือไม่ รวมถึง CPF เช่นกัน ติดจากบ้านหรือชุมชนแล้วเอาไปติดในโรงงานหรือไม่ และจากที่ผอ.กองแผนเชื่อมโยงกับการเป็นโรงงานแปรรูปอาหารบวกกับเป็นแรงงานต่างด้าวซึ่งมีการกินอยู่ร่วมกันในแคมป์และที่พักทำให้ติดเชื้อนัวเนียกัน พอเข้าไปโรงงานก็ไปติดในโรงงาน เหตุเพราะโรงงานแปรรูปอาหารใช้แรงงานต่างด้าวจำนวนมากหรือเพราะโรงงานเป็นระบบปิดอากาศไม่ระบาย เมื่อปัจจัยแรงงานต่างด้าวบวกระบบปิดจึงเกิดการระบาดแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นเช่นนั้น กลุ่มอนามัยสิ่งแวดล้อมจะต้องรีบไป Investigate ให้ชัด มิฉะนั้นจะเกิดปรากฏการณ์โรงงาน ซึ่งไล่ลำดับมาตั้งแต่โรงงานอาหารแช่แข็งสมุทรสาคร มาโรงงานคาลคอมพ์เพชรบุรี คือระบบปิดติดแอร์เป็นเป้าหมาย+แรงงานต่างด้าวทำให้ระบาดรวดเร็ว ซึ่งต้องส่งสัญญาณหรือออกมาตรการ น่าจะเป็นประเด็นที่ควรมอบทีมผู้ทรงกิตติพงศ์วิเคราะห์ถึงกระบวนการ และนำเสนอกรมควบคุมโรค เรื่องปัจจัยสาเหตุการตายของผู้ติดเชื้อที่น่าจะไปทบทวนใหม่หรือไม่ และตามที่รองฯ อรรถพลจะไป Review ให้เป็นมาตรฐานขึ้นมาจะทำให้กรมได้แนวทาง เช่น How to Safe, How to Do, Where และ When to Safe ประชาชน แล้วเราไปทำอย่างอื่น เช่น การศึกษาถึงการทำที่กั้นและติดระบบระบายอากาศในรถแท็กซี่ที่ต้องไปทำการศึกษาให้มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าเกิดจากเหตุปัจจัยนั้นจริงแล้วไปออกมาตรการให้กรมอนามัยไปดำเนินการกับประชาชนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เสนอว่ากรมอนามัยควรตั้งทีม Proof ออกมาให้เป็นวิชาการของกรมฯ ให้ชัดเจนมากขึ้น ตามที่เคยพูดคุยให้ดูข้อมูลของต่างประเทศว่าทำอย่างไร เพราะต่างประเทศมีการทำไว้มากแล้ว และนำข้อมูลของไทยเท่าที่ได้มาเทียบเคียง ถ้าสอดคล้องก็อาจใช้แนวคิดของต่างประเทศมาใช้ในการกำหนดว่า เป้าหมายคืออะไร Settingใด ที่ไหน เมื่อไร ที่เราควรจะไปsafeตรงนั้นให้ได้หมด รองฯ อรรถพล เพิ่มเติมว่ากรณีโรงงาน CPF ติดจากคนข้างนอกพาเข้าไปติดในโรงงานซึ่งคนงานต่างด้าวจะพักที่หอพักของโรงงานและมีการไปจับจ่ายที่ตลาดนัดมากินอยู่ร่วมกันในหอพักที่อาจอยู่กันแออัด ดังนั้น การที่ชี้ไปว่าเป็นการติดที่โรงงานทำให้ไปดูแต่ที่โรงงาน ซึ่งเราควรไปดูและทำมาตรฐานที่พักอาศัยด้วยหรือไม่ ซึ่ง ผอ.นภพรรณ ได้ให้ข้อมูลเสริมว่า นพ.เกษม สสม. ได้เคยเสนอไว้ในการประชุมก่อนหน้านั้นเช่นกันว่าไปตรวจโรงงานซึ่งมีสภาพแวดล้อม สุขลักษณะถูกต้องหมด แต่ไปพบว่าที่พักคนงานต่างด้าวอยู่กันอย่างแออัด สุขลักษณะ สภาพแวดล้อมไม่ดี ดังนั้น จึงควรต้องมีมาตรการที่ดำเนินการควบคู่กันไปทั้งที่โรงงานและที่พักจึงจะควบคุมโรคได้ รองฯ บัญชา ให้ข้อพิจารณาและความเห็นว่า ตามที่ ผอ.กองแผนเคยเสนอไว้ว่าควรต้องมีทีมปฏิบัติการสอบสวนของกรมลงไปทำทั้งระบบการสอบและ Operation ซึ่งเห็นว่าควรต้องมีระดับมืออาชีพลงไปสอบ และต้องมากกว่าแค่ตรวจ TSC เช่น ถ้าไปตรวจ TSC ที่ตลาดก็ต้องไปที่พัก แคมป์คนงาน ชุมชน และสิ่งที่อยู่ในวงจรการดำรงชีวิตของเขาด้วย แล้วชี้ให้ชัดว่าสิ่งใดเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งก็มี DMHTT เป็นเครื่องมือ ถ้าตรงไหนที่หย่อนตรงนั้นก็คือจุดระบาด ดังนั้น ให้ใช้เกณฑ์ไปประเมินให้ครบวงรอบ คือ ไปตลาดก็ประเมินตลาดว่าเป็นอย่างไร และไปที่แคมป์ว่าอยู่กันอย่างไร ไปที่ชุมชน ไปที่สังสรรค์ว่าเป็นอย่างไร ถ้าได้ข้อมูลตรงนี้ก็จะชี้ได้ว่าอยู่ตรงไหนในวงรอบนั้น ซึ่งประเด็น คือจะมอบใครในการที่จะตั้งและพัฒนาทีมปฏิบัติการกรมฯ ที่จะไปดำเนินการในกรณีแบบนี้ ควรจะเป็นศูนย์อนามัยร่วมกับกรมหรือไม่ และต้องใช้นักวิชาการระดับไหน หากใช้ทีม Operation ที่มีอยู่ก็ต้องเพิ่มสมรรถนะของทีมขึ้นไปอีก และต้องมีทีมที่ประชุมอยู่ตรงกลางคอยกำกับเสริมวิชาการเข้ามาด้วย เช่น มีการ Review วิชาการ ข้อมูลต่างๆ ซึ่งจากข้อมูลที่ท่านรองฯ อรรถพลเสริมขึ้นมาทำให้เห็นชัดว่า การระบาดนี้ไม่ได้เป็นแบบที่ตรงไปตรงมามีลักษณะที่เคลื่อนไปตามเส้นทางการดำเนินกิจกรรมในชีวิต ดังนั้นการออกมาตรการของกรมที่ระบุไปอาจไม่สอดรับกับสภาพความเป็นจริงที่เป็นปัจจัยเสี่ยง รองฯ สราวุฒิ สนับสนุนความเห็นในการตั้งทีมตามที่รองฯ บัญชากล่าวหรือจะอาจเป็นทีม OP ก็ได้ แต่ต้องมี Content และ Step ในการทำที่ชัดเจน ซึ่งที่มีอยู่เป็นขั้นตอนในเรื่องการควบคุมโรค 9 ขั้นตอน ซึ่งเราถูกฝึกมาแล้ว แต่แนวทางในการสอบสวนของกรมอนามัยในเชิงของการป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพนี้ยังไม่มี จึงเห็นด้วยที่จะตั้งทีมขึ้นมาและเพิ่ม Content ที่หากเกิดเหตุการณ์ Outbreak แบบนี้ขึ้นมา เมื่อลงไป Action ที่ต้องทำมีขั้นตอนอะไร ซึ่ง OP ปัจจุบันยังไม่ใช่ เพราะไปทำแค่ถ่ายรูปรายงานมาว่าลงพื้นที่ไป แต่ยังไม่มีการทำ Content ที่จะนำกลับเข้ามาสู่การกำหนดในเรื่องของมาตรการ เรื่องของการป้องกันที่ชัดเจน OP เรายังไปไม่ถึงจุดนั้น ดังนั้น ทีมที่กล่าวนั้นอาจไม่ใช่ OP แต่เป็นทีมที่ลงไปเพื่อ Action ในการหาสาเหตุของการระบาดในเชิงของกรมอนามัย ทั้งในด้านของสิ่งแวดล้อม การส่งเสริม และการป้องกัน ดังนั้นข้อมูลในสิ่งเหล่านี้ต้องได้ชัดเจนขึ้นและต้องมี Documentations ประกอบชัดเจนว่าลงไปทำอะไร และบอกได้ถึงสาเหตุ แนวทางในการแก้ไขปัญหาครั้งต่อไป โดยจะต้องเป็นทีมที่มี Content รูปแบบ แนวทาง ในการลงพื้นที่นี้ที่ชัดเจนตามที่กล่าว รองฯ บัญชา เห็นว่าตอนนี้ยังเป็นช่วงที่เป็นการให้ความเห็นและจะเริ่ม Design น่าจะกลับไปที่ทีมผู้ทรงฯ กิตติพงศ์ ซึ่งตามที่ท่านอธิบดีแนะว่ากรมอนามัยมีนักระบาดจบต่างประเทศที่มีความสามารถ ให้เวลาได้ไป Design ก่อน เพราะจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจกรมให้แม่นยำ ผอ.กองแผน เสนอความเห็นว่า น่าจะเป็นการ Design ภารกิจของทีมที่มีอยู่ให้ชัดเจนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง โดยมีขั้นตอนในการปฏิบัติเป็นสูตรสำเร็จ ไม่ใช่แค่ลงไปให้คำแนะนำแล้วกลับ แต่ต้องมีกลไก ซึ่งที่จริงก็มีแล้วคือหน่วยสาธารณสุขฉุกเฉินของกรมและได้ตั้งทีม SEhRT ขึ้นมาโดยมีภารกิจนี้เฉพาะ แต่คงต้องมา Revise ให้ชัดเจนว่าลงพื้นที่ไปต้องทำอะไรบ้าง ในระยะต่างๆ เช่น ระยะระบาด ระยะเก็บตก ระยะฟื้นฟู ระยะ Maintenance ระยะ Recovery ต้องทำอะไรน่าจะไปทำตรงนี้ให้ชัดเจน เสนอให้มอบ STAG ไปดำเนินการตรงนี้ รองฯ บัญชา เห็นว่าตามที่รองฯ สราวุฒิได้เสนอไว้ชัดเจนตรงตัวแล้วว่า ต้องมีตัว Content และ Step ที่ต้องทำเป็นระบบมาตรฐานวิชาการ และต้องมี Document รายงานการสอบสวนเข้ามาเป็นระบบ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตภารกิจงานของกรมอนามัย ซึ่งก็อาจจะมีช้ามไปคาบเกี่ยวกับงานของกรมควบคุมโรคบ้างถึงจะได้conceptทางด้านของการควบคุมโรคกับด้านการทำพฤติกรรมขึ้นมา ผอ.กองแผน แจ้งว่า เดิมเป็นสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบหลักตรงนี้อยู่ ซึ่งมีแนวทางมาตรฐานอยู่แล้ว ซึ่งรองฯ บัญชาก็เห็นว่าเพียงสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดูสิ่งแวดล้อมอยู่ไม่พียงพอต่อการตอบโจทย์นี้ที่ต้องดูถึงด้านพฤติกรรมของคนด้วย ซึ่งผอ.กองแผน เสนอว่าต้องมาออกแบบกันใหม่ให้สอดคล้องกับโรคที่เกิดขึ้นมาใหม่และการมีชีวิตวิถีใหม่ โดยมีการรวมกันทั้งสายส่งเสริมและสายคนกับสายสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยให้ STAG มา Design เอาของที่ทำไว้แล้วมาพิจารณา แล้ว Design ออกมาใหม่จะได้ชัดเจน เช่นเดียวกับตอนที่อยู่ศูนย์อนามัยก็สงสัยว่าตอนที่ลงพื้นที่บทบาทของศูนย์อนามัยควรไปทำแค่ไหน เพราะตอนนั้นระบบยังไม่ชัดเจนว่าบทบาทกรมอนามัยทำอะไร เช่น ตอนที่มีอหิวาตกโรค กรมควบคุมโรคก็เป็น Port อหิวาตกโรค ศูนย์อนามัยก็ลงพื้นที่แต่ไม่รู้ว่าต้องไปทำอะไร แต่ความจริงงานเราไปทับ Port คร. เยอะมากเวลาลงไปสอบในพื้นที่จริงแล้ว รองฯ บัญชา สรุปว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นมากที่ต้องทำให้เสร็จโดยเร็วอย่างเร่งด่วนด้วย ดังนั้นให้แจ้งทีม STAG ซึ่งมีผู้ทรงฯกิตติพงศ์อยู่ด้วยนั้น ให้เป็นผู้ Design ระบบนี้ขึ้นมา เนื่องจากต้องใช้แนวคิดในเชิงวิชาการระดับสูงโดยเฉพาะในการสอบสวนที่ต้องใช้กรอบหลักวิชาเยอะซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายต้องเป็นมืออาชีพในการทำ แล้วนำมาเสนอในทีม STAG เพื่อช่วยกันพิจารณาเพิ่มเติมความเห็นให้ได้เป็นมาตรฐานขึ้นมา กอรป. กับตอนนี้กรมควบคุมโรคคงทำไม่ไหว แต่ที่เราจะทำนั้นจะทำเป็น Selected Cases เฉพาะจุดที่มี Setting สถานประกอบการ จุดสนใจของเราไม่ใช่ที่คนระบาด แต่ให้สนใจที่ Setting เป็นหลัก แต่ต้องดูทั้งคน พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นเมื่อลงไปแล้วอาจมี 1) เรื่องของพัฒนามาตรฐานถึงขั้นที่มี Document รายงานการสอบสวนที่ชัด 2) อาจต้องมี Lab ที่จะไป Investigate ในพื้นที่ด้วย เช่น ขณะนี้มีการเก็บน้ำ น้ำเสีย มาวิเคราะห์โควิด และใช้เป็นตัวบ่งชี้การแพร่ระบาดใน Setting ของสถานประกอบการ ดังนั้นก็ต้องเป็นมืออาชีพรวมทั้งในส่วนของ Lab ด้วย สรุปมติ 1. การทบทวนเรื่องปัจจัยสาเหตุการตายที่แท้จริงของผู้ติดเชื้อ โดยรองฯ อรรถพลจะไป Review ให้เป็นมาตรฐานขึ้นมาจะทำให้กรมฯ ได้แนวทางในหารไปดำเนินการปกป้องประชาชนได้ถูกต้องแม่นยำ 2. เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนมากที่ต้องดำเนินการจัดตั้งทีมปฏิบัติการพิเศษของกรมอนามัย โดยต้องเป็นทีมที่มี Content รูปแบบ แนวทาง ในการลงพื้นที่นี้ที่ชัดเจน เพื่อไปทำภารกิจทั้งในส่วนของระบบการสอบสวน และ Operation เป็นทีมที่ลงไปเพื่อ Action ในการหาสาเหตุของการระบาดในเชิงของกรมอนามัย ทั้งในด้านของสิ่งแวดล้อม การส่งเสริม และการป้องกัน โดยต้องได้ข้อมูลชัดเจนขึ้นกลับมาและต้องมี Documentations (รายงานการสอบสวนที่ส่งเข้ามาเป็นระบบ) ประกอบชัดเจนว่า ไปทำอะไร และบอกได้ถึงสาเหตุ แนวทางในการแก้ไขปัญหาครั้งต่อไป ทำเป็นระบบมาตรฐานวิชาการ ที่จะนำมาสู่การกำหนดในเรื่องของมาตรการ เรื่องของการป้องกันที่ชัดเจน แต่ต้องอยู่ในขอบเขตภารกิจงานของกรมอนามัย โดยให้ Design ภารกิจของทีม SEhRT ที่มีอยู่ โดยเพิ่ม Content ที่ว่าหากเกิดเหตุการณ์ Outbreak แบบนี้ขึ้นมา ต้องมีรูปแบบ แนวทางในการลงพื้นที่ชัดเจนว่า Action ที่ต้องทำนั้นมีขั้นตอน (Steps) ในการปฏิบัติเป็นสูตรสำเร็จว่า ลงพื้นที่ไปต้องทำอะไรบ้าง ในระยะต่างๆ เช่น ระยะระบาด ระยะเก็บตก ระยะฟื้นฟู ระยะMaintenance ระยะ Recovery แต่จะทำเป็น Selected Cases เฉพาะจุดที่มี Setting สถานประกอบการ จุดสนใจการระบาดอยู่ที่ Setting เป็นหลัก แต่ต้องดูทั้งคน พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นเมื่อลงไปแล้วอาจมี 1) เรื่องของพัฒนามาตรฐานถึงขั้นที่มี Document รายงานการสอบสวนที่ชัด 2) อาจต้องมี Lab ที่จะไป Investigate ในพื้นที่ด้วย เช่น มีการเก็บน้ำ น้ำเสีย มาวิเคราะห์หาโควิด และใช้เป็นตัวบ่งชี้การแพร่ระบาดใน Setting ของสถานประกอบการ ดังนั้นก็ต้องเป็นมืออาชีพรวมทั้งในส่วนของ Lab ด้วย เสนอมอบ STAG รับไปดำเนินการ โดยมีผู้ทรงฯ กิตติพงศ์ เป็นผู้ Design ระบบนี้ขึ้นมาเนื่องจากต้องใช้แนวคิดในเชิงวิชาการระดับสูงโดยเฉพาะในการสอบสวนที่ต้องใช้กรอบหลักวิชาที่ยากที่ต้องเป็นมืออาชีพในการทำ แล้วนำมาเสนอในทีม STAG เพื่อช่วยกันพิจารณาเพิ่มเติมความเห็นให้ได้เป็นมาตรฐานขึ้นมา | ผอ. กองแผนงาน
นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์
STAG โดยมีผู้ทรงฯกิตติพงศ์ เป็นผู้ Design ระบบ |
|
| ||
3.2 สรุปข้อสั่งการ PHEOC กระทรวงฯ - ไม่มีข้อสั่งการถึงกรมอนามัยโดยตรง - มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) จากรายงานสถานการณ์ - ผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตติดจากคนในครอบครัว และที่มาจากพื้นที่เสี่ยงกลับภูมิลำเนา ผู้ดูแล เพื่อนบ้านในชุมชน และเกือบทุกรายที่เสียชีวิตมีโรคประจำตัว เดินทางไปที่คนหนาแน่น เช่น ตลาด - บางจังหวัดเริ่มพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ในสถานประกอบการ โรงงาน และในชุมชนโดยรอบ - พบผู้ติดเชื้อในต่างจังหวัด จากแรงงานที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงในกทม.และปริมณฑลกลับภูมิลำเนา เนื่องจากสถานที่ทำงานถูกปิด ** ปัญหาการระบาดที่ปลัดฯ เห็นว่าน่ากังวล คือ ตลาดและโรงงาน ได้สั่งการให้ผู้ตรวจฯ ดูแลตลาดและโรงงานในพื้นที่ และหลังจากปิดแล้วก่อนให้เปิดให้ทำ Swab แล้ว Bubble & Seal กักไว้ไม่ให้ออกมา 2) สสจ.สระบุรีรายงานสถานการณ์การระบาดในโรงงานแปรรูปไก่ CP - เริ่มจากการตรวจพบผู้ติดเชื้อที่วิหารแดง 10 คน โดย 1 คน ทำงานที่ CP และพบพ่อค้าขายอาหารในโรงงานติดด้วย จึงทำ Active Case Finding พบผู้ติดเชื้อ 400 ราย โดยช่วงแรกเจอในคนงานหญิงกะดึก หลังจากทำ Active Case Finding พบกะเช้าด้วย โซนที่พบการระบาด คือ โซน A ซึ่งมีโรงอาหารอยู่ คนงานต่างด้าวทั้งหมดและคนไทยบางส่วนพักที่หอฝั่งตรงข้ามโรงงาน คนไทยส่วนใหญ่ไปกลับบ้านตนเองโดยรถส่วนตัว และโดยรถรับส่งของโรงงานเป็นสายกระจายทุกอำเภอใน จ.สระบุรี - บริเวณที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ที่ทำงานซึ่งเป็นห้องปรับอากาศซึ่งเย็นมาก - ข้อสั่งการ ให้สสจ.นำหลักการ Bubble & Seal ไปดำเนินการ และที่ประชุมเสนอให้กระทรวงมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วที่มีประสบการณ์ Bubble & Seal ไปแนะนำโรงงานต่างๆ -ข้อเสนอแนะ ปัจจัยความสำเร็จอยู่ที่เจ้าของโรงงาน ซึ่งเมื่อผ่านไประยะหนี่งก็จะไม่ทำตามที่บอกและนำคนงานใหม่มาเติม เสนอให้นำเข้าคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและให้ฝ่ายความมั่นคงช่วยกำกับด้วย ทั้งนี้ปลัดฯ ให้ทำความเข้าใจกับผู้ว่าฯ คณะกรมมการฯ โดยเฉพาะภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ให้เข้าใจถึงหลักการ Bubble & Seal ก็จะไม่ต้องปิดโรงงาน รวมถึงให้ประชาชนเข้าใจว่าโรงงานไม่ใช่แหล่งแพร่โรค เมื่อทำ Bubble & Seal แล้ว คนไม่ออกมาข้างนอกก็ไม่กระจายเชื้อ มิฉะนั้นก็จะกดดันให้ปิดโรงงาน นอกจากนี้ในที่มีแรงงานต่างด้าวมากการจัดตั้ง อสต. เป็นกลไกที่ช่วยได้ผลมาก 3) -การเปิดดำเนินการของโรงงาน - CP ขอใช้แรงงานจากที่โคราช 290 คนมาทำงานแทนในส่วนของโรงชำแหละซึ่งมีอัตราการป่วยสูงโดยจะดำเนินการแบบ Bubble & Seal ในตึกนั้น และทำ Swab ก่อนเข้างานโดยต้องมีผลเป็นลบทั้งหมด (ซึ่ง สสจ. ได้เสนอให้ใช้แรงงานเดิมชาวกัมพูชากับคนไทยที่ผลเป็นลบแล้ว แต่ CP ปฏิเสธข้อเสนอ) - ในส่วนตึกที่อัตราป่วยต่ำและตึกอื่นที่ไม่พบผู้ป่วยจะใช้แรงงานเดิมที่ผลเป็นลบแล้ว รวม 180 คน โดยจะ Seal ให้พักเป็นรายตึกแยกกันชัดเจนตึกละ 10 – 30 คน - CP จะทำการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม จุดสัมผัส จุดเสี่ยง และ Swab หาเชื้อ+ทำมาตรการ DMHTT ตามคำแนะนำของกรมอนามัย กรมควบคุมโรค และ สสจ. อย่างเคร่งครัด ให้เสร็จในวันที่ 3 มิ.ย. นี้ และจะปิดดำเนินการในวันศุกร์นี้ 4) ปลัดฯ สั่งการให้ในการดำเนินการต่างๆ ของกระทรวงให้บูรณาการให้ทุกกรมมีส่วนร่วม 5) ปลัดฯ ชี้แนะว่าการรักษาผู้ป่วยใน กทม. เป็นการที่กระทรวงไปช่วยไม่ใช่ไปรับมาทำเองเพราะกำลังคนเราไม่พอ (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารรายงานการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ที่ประขุม รับทราบ - ข้อเสนอจากรองฯ บัญชา - ในประเด็นการนำคนงานจากที่อื่นมาเติมแทนการใช้คนงานเดิมที่มีผลเป็นลบแล้วนั้น ในส่วนที่กรมจะไปเกี่ยวข้องในการดำเนินการคือ ต้องคัดกรองคนที่นำมาอย่างดีก่อนนำเข้าโรงงาน เสนอให้ศูนย์สื่อฯ Keep in Mind ไว้ว่าการที่โรงงานเกิดระบาดขึ้นมา สะท้อนว่าระบบการคัดกรองไม่ดี ถ้าจะใช้ระบบการคัดกรองที่ดี คือ TSC และTST ซึ่งการคัดกรองสำคัญกว่าการดูแลความเรียบร้อยหรือมาตรการหยุดทุกอย่างในโรงงาน - ส่วนประเด็นที่ 4) และ 5) ให้ทราบข้อชี้แนะไว้เป็นแนวปฏิบัติ | Liaison
| รับทราบ
| |||
3.3 รายงานอนามัยโพล มีข้อเสนอ ดังนี้ 1. เพื่อการวางแผน ให้เน้นย้ำการป้องกันตนเองของทีม OP ในการลงพื้นที่ และต้องมีการสนับสนุน PPE ให้ 2. เพื่อการสื่อสาร ให้ทุกหน่วยสื่อสารการฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่อยากฉีดให้มากขึ้น (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ที่ประขุม รับทราบ - ข้อเสนอแนะและสั่งการ 1. จากการตรวจจับข่าว กรณีที่จนท.สาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี 1 ราย ติดเชื้อโควิดหลังฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว จากการไปตรวจพื้นที่แคมป์คนงาน ซึ่งต้องสื่อสารออกไปยังประชาชนว่า ยังจำเป็นต้องทำ DMHTT ต่อไปแม้ว่าจะฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วก็ตาม และการฉีดวัคซีนก็ยังสำคัญและจำเป็นเพราะ ฉีดแล้วติดได้แต่ไม่ตาย 2. ประเด็นตัวเลขอยากฉีดและฉีดแล้ว 74% ซึ่งความจริงการฉีดยังไม่ถึง 5% แสดงว่ามี Selective Bias คนตอบอาจเป็น จนท. เพื่อความชัดเจนควรแยกประเด็นออกเป็น 2 ประเด็น คือ อยากฉีด ฉีดแล้ว และฝากให้ทีมไปดูข้อมูลในแดชบอร์ดไปจัดกรุ๊ปข้อมูลใหม่ด้วย 3.4 HL และศูนย์สื่อฯ รายงานการเผยแพร่ข่าวกรมอนามัยรายวัน/แผนการสื่อสาร (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ที่ประขุม รับทราบ - ข้อเสนอแนะ - กรณีข่าวตลาดยิ่งเจริญทำมาตรการจัดการในตลาดที่เข้มข้นสุดขีด ถือเป็นข่าวที่น่าสนใจ ในการสื่อสารเราสามารถทำได้ 2 แบบ 1) โดยการประชุมออนไลน์กับคนที่ทำข่าว เล่าข่าว ซึ่งเขาจะได้รับข่าวถามมา เราแค่เปิดให้เขาถามเกี่ยวกับภารกิจเรา เรายินดีช่วยตอบและส่งคืนให้ไปออกข่าว โดยไม่จำกัดช่อง ข่าวที่เวอร์เขาจะชอบ 2) บอกว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ดีแต่เกินไป แต่การเข้าอุโมงค์พ่นสารเคมีนั้นไม่ดีสารเคมีอาจเป็นอันตราย และหากมีคนป่วยไอในอุโมงค์ก็จะทำให้เกิดการฟุ้งกระจาย และการที่ให้คนเข็นส่งของซึ่งจะเป็นตัวพาเชื้อไปยังจุดต่างๆ ของตลาด ดังนั้นต้องควบคุมที่ตัวคนคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมด้วย - แผนการเผยแพร่ข่าววันที่ 3 มิ.ย. 64 + เรื่องสถานประกอบการ ฝากรองฯ บัญชาให้คุยกับพิธีกรเอาประเด็นที่โฆษก ศบค. แถลงแต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดนั้นเอามาขยายต่อ ให้ศูนย์สื่อเตรียมรูปภาพและวิดีโอที่รองฯ บัญชาและหมอเอกลงพื้นที่โรงงานประกอบด้วยโดยเป็นภาพที่บูรณาการหลายหน่วยอย่างที่ไปสมุทรสาครแต่ให้เห็นคนของเราชัดๆ + ส่วนเรื่องแม่และเด็กที่ท่านอธิบดีเสนอไปทางราชวิทยาลัยสูติฯ รับไปแล้ว เหลือเรื่องเด็กให้เตรียมพร้อมไว้ + เรื่องตลาด มีการบ้านที่ให้ต้องทำเพิ่มเติมตามที่บอกฝากรองฯ ดนัยช่วยดูให้ส่งวันหยุด ให้ทำตามหลักการภายใต้มาตรการหลัก มาตรการเสริม มาตรการจำเพาะ แผนเผชิญเหตุ ส่วนการแปลงมาเป็นคำแนะนำ Q&A ตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆเป็นอีกเรื่อง ไม่งั้นเวลาไปสื่อสารกันแล้วไม่สอดรับกับข้อกำหนดของ ศบค. + การจัดการรูปแบบค่ายใน รพ.สนาม ประเด็นเราบูรณาการกับกรมพัฒฯอยู่ แต่กรมสุขภาพจิตได้แค่มาเสริมในเรื่องการผ่อนคลาย ไม่หมกมุ่น ซึ่งโมเดลของศูนย์ 6 ใช้ได้แต่กำลังปรับปรุงอยู่ ประเด็นคือ สามารถขยาย รพ.สนามออกไปได้หรือไม่ มีรพ.สนามอื่นหรือไม่เพราะต้องไปทำรูปแบบนี้ให้เห็นชัด การจัดค่ายทำให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันใน รพ.สนาม + การเก็บตกกิจกรรมก้าวท้าใจในศูนย์ฉีดวัคซีนใหญ่ๆ อย่างที่ ม.รังสิต และสถานประกอบการที่ลง GFP แล้วให้มาลงก้าวท้าใจด้วย รวมถึง CP ด้วยซึ่งเหล่านี้มีคนจำนวนมาก + กรณีการเปิดเทอมวันที่ 14 มิ.ย.นี้ ซึ่งวันที่ 7 มิ.ย. 64 จะเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนเป็นทางการทั่วประเทศ โดยทำพิธีที่สถานีลางบางซื่อ ซึ่งครูจะไปร่วมพิธีและฉีดวัคซีนด้วย และนำเสนอมาตรการต่างๆ ส่วนของเราได้ประสานกับ ศธ. และเตรียมเรื่องมาตรการเตรียมการเปิดเรียน และจะนำ TSC และ TST ไปเสริมซึ่งกำลังประสานกับผู้จัดว่าจะเข้าไปเสริมอย่างไรจะขอนำเสนอวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งท่านอธิบดีชี้ประเด็นว่า 1) ที่บางซื่อเรามีส่วนร่วมในด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม 2) ส่วนศธ.ได้ไปจัดงาน ฝากรองฯสราวุฒิประสานไปร่วมในฐานะความร่วมมือภาคีเครือข่าย 3) มีผู้แนะนำการไปจัดกิจกรรมเชิญชวนร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในประเด็น HL ที่สถานีกลางบางซื่อ.ในภาพกระทรวง มอบสำนักส่งเสริมสุขภาพและHL ประสาน + รองฯ บัญชาแจ้งเรื่องที่ส่งทีมไปกับหัวหน้าศูนย์วัคซีนเรื่องการศึกษาการฉีดวัคซีนและplug in ก้าวท้าใจ อยากให้ HL ไปร่วมด้วย จึงมีข้อสั่งการให้บูรณาการงานเป็นภาพรวมกรมในเรื่อง HL สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ก้าวท้าใจ (กองกิจฯ+โภชนาการ) | จนท. และกรมอนามัย ทีมสื่อสาร ทีมอนามัยโพล ศูนย์สื่อสารสาธารณะ นพ.บัญชา ค้าของ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ นพ.ดนัย ธีวันดา กลุ่มวัยทำงาน สำนักส่งเสริมฯ กลุ่มวัยทำงาน สำนักส่งเสริมฯ นพ.สราวุฒิ บุญสุข สำนักส่งเสริมสุขภาพ HL สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ สำนักโภชนาการ | ||||
3.5 รายงานการประชุมจัดทำแผนมาตรการป้องกันควบคุมโรคสำหรับสถานประกอบการกับก.อุตสาหกรรม ก.แรงงาน ก.มหาดไทย ก.สาธารณสุข BOI และ ศปก.ศบค. (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ที่ประขุม รับทราบ - ข้อเสนอแนะและสั่งการ - ประเด็นการแบ่งงานบทบาทหน้าที่ เจ้าภาพหลักคือ ก.อุตสาหกรรม ถึงเวลาต้องชัดเจน โดยในส่วนการสนับสนุนทางวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข คือ ถ้าเป็นเรื่องของ Hygiene ของสถานที่/ ระบบกระบวนการผลิต/คน คือ กรมอนามัย แต่ระบบควบคุมโรค คือ กรมควบคุมโรค ระบบการรักษา คือ กรมการแพทย์ ซึ่งต้องจัดแยกกลุ่มให้ชัดเจน - ประเด็นแผนการประชาสัมพันธ์ เวลาเราออกมาตรการ ศบค. ใช้กรมประชาสัมพันธ์สื่อสารหรือไม่ให้ไปดูให้ชัดเจน - การกำหนดเป้าหมายสถานประกอบการตามบัญชีรายชื่อของเรา ส่วนหนึ่งให้มาแยกกลุ่มทำ ให้แจ้งไปที่ศูนย์ทุกศูนย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การแยกกลุ่มจะได้ให้กลุ่มวัยและกองเข้าไปเสริมตามภารกิจ - การประเมิน On Site ต้องขมวดเรื่องทำเป็นหนังสือสั่งการไปที่ สสจ. ให้ชัดเจนว่า เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ 4 กรมในกระทรวงสาธารณสุข ใครจะเป็นคนตั้งเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเราที่ทำหนังสือตั้งเรื่องไปที่สป.ลงนามสั่งการให้ สสจ.เป็นผู้ดำเนินการ ในการกำกับติดตาม ประเมินผล และประเด็นที่เสนอให้ใช้ TSC และ TST แล้ว ดังนั้นเราต้องตามงาน ดังนั้นหนังสือที่ไปศอ.ในเรื่องของเป้านับ หนังสือจาก ศบค. ต้องเป็นไปตามนั้น หากไม่เป็นตามนั้นต้อง Feed Back คืนข้อมูลเราไม่ไปว่ากระทรวงอื่น แต่ต้องสั่งให้คืนข้อมูลให้คนที่มีอำนาจคือ ศปก.ศบค ขณะเดียวกันขาที่อยู่จังหวัดไม่มีคนของกรมเราซึ่งไปสุดที่ศอ. ดังนั้นทุกเรื่องจะไปอยู่ที่สสจ.ดังนั้นการบูรณาการ 4 กรม ต้องบูรณาการและชงขึ้นไปทั้ง 4 กรม ให้สป.ลงนามแจ้ง สสจ. โดยเร่งด่วนให้ทันกำหนดการวันที่ 15 มิ.ย. นี้ โดยอาจต้องมีการ VDO Conference ซักซ้อมความเข้าใจกับ สสจ. ก่อน โดยใช้ศูนย์สั่งการของ สป. ที่ชั้น 7 โดยรองปลัดฯ ที่ดูแล - ข้อสั่งการให้มัดรวมแนวทางปฏิบัติภารกิจทั้ง 7 เรื่อง ของ 4 กรม เป็นเอกสารชุดเดียวแนบไปกับหนังสือสั่งการจาก สป. ไปยัง สสจ. และทำอีกชุดส่งไปที่เขตให้รู้ว่ามีข้อสั่งการไปที่ สสจ. ดังนั้นเวลาดำเนินการจะง่ายขึ้นโดยเอาเป้าหมายใส่เข้าไปด้วยก็จะจบที่หนังสือที่ ศปก.ศบค. เป็นข้อสั่งการถึงความร่วมมือเป็นเอกสารแนบไป สสจ. ทั้งหมด โดยรองฯ ที่ดูแลทุกท่านสามารถดึงทีมมาช่วยได้ ซึ่งในส่วนงานของกรมเรา คือ ข้อ 4, 5, 6, 7 (+แฝงข้อ 8 ในเรื่อง TSC + TST เข้าไปแต่ไม่ต้องลงไปในหนังสือ ถือเป็นโอกาสให้สสจ.ได้รู้จักและการใช้งานแอปนี้ไปด้วย) ซึ่งรองฯ บัญชาได้เรียนว่า ทุกจังหวัดมีการสมัครใช้งาน TSC + TST ครอบคลุมแล้ว แต่เป็นห่วงในส่วนของกระทรวงเราเอง ซึ่งอาจต้องมีการปรับแก้เกณฑ์บ้าง ในการนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีในการทำงานร่วมกับสสจ. ปัจจุบันเป็นการทำงานที่ศอ.ติดต่อสื่อสารตรงกับสถานประกอบการอย่างใกล้ชิด แต่ก็รอการประสานจากส่วนกลางไปศบค.และให้มีหนังสือเป็นทางการแล้ว มีอุตสาหกรรมจังหวัดไปทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น คิดว่าเป็นโอกาสของสำนักส่งเสริมฯ ที่ต้องดำเนินการทั้งระดับของ 3 กรม ระดับเขตของ ศอ. สสจ. ไปจนถึงโรงงานทำให้เป็นระบบให้ชัดเจน - นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ให้กรมอนามัยไปดู พ.ร.บ.การสาธารณสุขที่จะไปใช้บังคับโรงงานที่อาจไม่ทำ ดังนั้น ต้องไปทบทวนพรบ.สาธารณสุขว่าจะใช้อะไรไปบังคับ เป็นโอกาสดีที่จะไปบังคับให้ขึ้นทะเบียนกับเราก่อน แล้วจะมีกลไกด้านกฎหมายตามลงไป มีการไปตรวจ มีบทลงโทษตามกฎหมาย ต้องให้ทีมศูนย์กฎหมายช่วยดู โดยมีข้อสั่งการให้ต้องมองไปถึงการนำข้อปฏิบัติในกฎกระทรวงตามอำนาจของพรบ.สาธารณสุข มาใช้ทั้งในแง่การชี้นำด้วยการนำมาทำเป็นคำแนะนำข้อปฏิบัติแล้วประกาศออกไป เช่น ขยะติดเขื้อที่จะเกิดจากการฉีดวัคซีนจะจัดการอย่างไร ประเด็นคนดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งตอนนี้มีปัญหาว่าเป็นกฎหมายของใครที่ดูแลของเราหรือ ก.พัฒนาสังคมฯ กลายป็นมีความทับซ้อนกัน จึงสั่งการในเรื่องการใช้พรบ.การสาธารณสุขดังกล่าวโดย มอบให้รองฯ ดนัย ศกม. และทั้งสายสิ่งแวดล้อม และสายคน มาคุยกันว่าจะใช้ พ.รบ.การสาธารณสุขเป็นเครื่องมือที่ไปสนับสนุน ชี้นำการออกกรอบแนวทางวิธีการปฏิบัติในการป้องกันโควิดได้อย่างไร จะได้นำเข้าในวาระประชุมคณะกรรมการสาธารณสุขในวันที่ 9 มิ.ย. นี้ | นพ.บัญชา ค้าของ
นพ.ดนัย ธีวันดา ศกม. สายสิ่งแวดล้อม และสายคน | ||||
4. วาระอื่นๆ ข้อสั่งการ 1. การขับเคลื่อนงานแม่และเด็กเกี่ยวกับโควิดเรื่อง หญิงตั้งครรภ์ คลอด ให้นมบุตร ที่ต้องทำแนวทางการดูแลไม่ว่าจะเป็นของเรา ของราชวิทยาลัยหรือกรมการแพทย์ก็ตาม แต่สุดท้ายต้องมาใช้กลไกที่เรา เนื่องจากคนดูแล MCH บอร์ดที่จังหวัดและเขตเป็นเรา ดังนั้น หนังสือที่ออกที่ส่งไปที่ MCH บอร์ดจังหวัด คือเรา เรื่องการดูแลทารก เด็กเล็ก ไม่ว่าจะเป็นกรมการแพทย์หรือราชวิทยาลัยออกเราก็รับแต่ขอให้มาที่ช่องทางไม่งั้นจะเป็นการออกลอยๆ ประเด็นวัคซีนสำหรับหญิงมีครรภ์ก็เข้าระบบติดตาม เฝ้าระวัง เป็นระบบเดียวกับที่เราฉีดวัคซีนปกติให้หญิงมีครรภ์ ดังนั้นต้องดูช่องทางของเรื่องที่ต้องส่งไป เช่น บางเรื่องไปที่การบริหารจัดการวัคซีน บางเรื่องไปที่MCH บอร์ดให้เขาแจ้งไปยังสถานพยาบาลต่างๆ บางเรื่องไปที่สมาคมภาคเอกชน 2. เรื่องแนวทางการดูแลเด็กเล็ก ที่มีการประชุมไปแล้วส่วนหนึ่งและเคลื่อนไปแล้วส่วนหนึ่งแต่ทุกอย่างก็ต้องแจ้งเป็นหนังสือที่ต้องประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น สถ. ก.มหาดไทย พม. หรือไปที่จังหวัด เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนไปได้ 3. การบ้านให้มองไปจากนี้อีก 3 – 6 เดือน จะมีวัคซีนที่ถูกขยายอายุน้อยลงไป ประเด็นคือ - ในส่วนวัยที่ยังไม่ชัดเจนอย่างน้อยต้องมอบเรา ให้หาคนไปเกาะติดประสานไว้ เช่น ในเด็กเล็ก ราชวิทยาลัยกุมารฯ ต้องคุยกับเรานอกรอบ - ในส่วนวัยเรียนชัดเจนแล้วว่าต้องฉีด แต่ตอนนี้ลงมาถึงอายุ 12 ปี เราไม่ต้องรอวัคซีนให้ประชุมคลัสเตอร์วัยเรียนกับ UNICEF WHO องค์กรที่เกี่ยวข้อง ให้เขาเป็นคำแนะนำให้ชัดและวัคซีนเข้ามาเมื่อไรก็ดำเนินการได้เลย รวมถึงเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับวัยเรียนพอมีมติก็แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลย | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
| - | - | รับทราบ | |
1. ผลการสำรวจ Anamai Poll ประเด็น “พฤติกรรมการสวมหน้ากากของประชาชนเมื่อไปสถานที่สาธารณะภาพรวมและเห็นคนในชุมชนละแวกที่พักสวมหน้ากากเมื่อออกนอกบ้าน อย่างไร” | ทีมอนามัยโพล ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | ||||
2. นำเสนอการเผยแพร่ข่าวกรมอนามัยรายวัน/แผนการสื่อสารเผยแพร่ข่าว วันที่ 2 มิ.ย. 2564 | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | ||||
3. รายงานผลการตรวจประเมินตลาดในเขตกรุงเทพฯ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | ||||
4. รายงานสรุปความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อสถานประกอบการที่ได้รับมาตรฐาน SHA (เดือนพฤษภาคม 2564) | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | ||||
5. รายงานประชุมหารือมาตรการป้องกันโรคร่วมกับ CPF | ผู้ทรงอัมพร จันทวิบูลย์ ทีม Operation |