เดือนมิถุนายน ปีงบประมาณ 2565
| 0 |
|
| 0 |
|
| 0 |
|
1. นำเสนอผลการปฏิบัติตามมาตรการ CFS ผ่านแพลตฟอร์ม TSC 2Plus สำหรับกิจการประเภทสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ในระยะ Post Endemic ในที่ประชุม EOC กระทรวงฯ วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2565 - มอบศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 และ สสม. ประสานจังหวัด เพื่อ Up Date ข้อมูลสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ พร้อมการสุ่มประเมินมาตรการ CFS ในสถานบริการในพื้นที่ โดยให้สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมเชื่อมข้อมูลและนำเสนอเป็นระยะ | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
ศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 และ สสม. และสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม | ||||
2. นำผลอนามัยโพล เรื่องความคิดเห็นต่อมาตรการและเหตุผลที่ควรให้ทำต่อไป/เหตุผลที่ควรยกเลิก เป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับการสื่อสารให้ประชาชน มีความเข้าใจถึงความจำเป็นของมาตรการต่างๆ - ให้ทีม Operation นำผลการสำรวจอนามัยโพลเป็นข้อมูลสนับสนุนประกอบการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนและผู้ประกอบการ ทั้งกลุ่มเจ้าของกิจการ/ลูกจ้างในสถานประกอบการ ถึงแนวทางปฏิบัติตามมาตรการในระยะเปลี่ยนผ่านสู่ระยะ Post – Pandemic ต่อไป - ขอความร่วมมือศูนย์อนามัยที่มีจังหวัดตอบแบบสำรวจน้อยกว่า 200 คน บริหารจัดการ และให้ทีมอนามัยโพลนำเสนอผลการดำเนินงานเป็นรายศูนย์อนามัยเขต ในที่ประชุม EOC กรมอนามัยครั้งต่อไป | กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ
ทีม Operation
ศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 และ สสม. | ||||
3. การรายงานกล่อง Finance การเตรียมเอกสารสำหรับชี้แจงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เรื่อง งบกลาง และงบเงินกู้ ให้ทุกศูนย์อนามัย, สสม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมรายละเอียดงบกลาง และงบเงินกู้ที่ได้ใช้ไป ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อครุภัณฑ์ การปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง หรือสร้างใหม่ การจัดซื้อ ATK การจัดซื้อเวชภัณฑ์ ในการป้องกันต่างๆ โดยสแกนรายการที่ขอจัดซื้อ/จัดจ้าง สัญญา ใบเสนอราคา ใบตรวจรับ จัดส่งให้กับกองคลัง ภายในวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2565 | ศูนย์อนามัยที่ 1 – 12, สสม และหน่วยงานที่ได้รับงบกลาง/งบเงินกู้ | รับทราบ | |||
| |||||
1. ข้อสั่งการจากการประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุข มีข้อเสนอแนะดังนี้ - ให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอแบบกราฟ หลังวันที่ 17 มิถุนายน 2565 โดยลดการนำเสนอรูปแบบกราฟ และเสนอ ศบค. เป็นครั้งคราว - ให้กรมควบคุมโรคจัดทำข้อเสนอแนะการปฏิบัติตน “การเตรียมความพร้อมสู่โรคประจำถิ่น “Endemic Approach to COVID – 19” โดยจะต้องให้ประชาชนอ่านแล้วเข้าใจ มีข้อแนะนำการใช้ชีวิตประจำวัน ช่องทางการให้คำปรึกษา การรักษาหากพบเชื้อซ้ำ และวางระบบเฝ้าระวังไว้ด้วย หรือจะมีการจัด Event ทั้งนี้ ให้ตั้งชื่อเรื่อง ให้น่าสนใจเข้ากับยุคสมัย | รับทราบ | - | หน่วยงานรับทราบ | ||
2. ผลการสำรวจ Anamai General Poll “แนวโน้มพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโรค” - มอบหมายให้กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ นำผลการสำรวจอนามัยโพลไปใช้ประกอบการสื่อสารกับประชาชน - มอบหมายให้ทีมอนามัยโพลจัดทำข้อคำถามเกี่ยวกับมาตรการที่ประชาชนคิดว่าควรยกเลิกหรือไม่อยากทำ และให้ลดความถี่ของการสำรวจอนามัยโพล เนื่องจากสถานการณ์การระบาดมีแนวโน้มลดลง |
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ ทีมอนามัยโพล
|
|
ดำเนินการสื่อสารกับประชาชน ดำเนินการเพิ่มข้อคำถามเรียบร้อยแล้ว และจะลดความถี่การสำรวจเริ่มเดือน ก.ค.65 ทั้งนี้ จะสื่อสารเครือข่ายอนามัยโพลต่อไป | ||
3. การเผยแพร่ข่าวประจำวันผ่านสื่อมวลชน (โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์) - กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพรายงานการเผยแพร่ข่าวประจำวัน การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2565 ช่องทางการเข้า Facebook กรมอนามัย ประเด็น RRHL ที่เกี่ยวกับ COVID - 19 | รับทราบ | - | หน่วยงานรับทราบ | ||
4. รายงานความก้าวหน้ากล่อง Operation / Logistic / HL - ให้สำนักงานเลขานุการกรมจัดทำ SOP การปฏิบัติหน้าที่รับสายด่วนกรมอนามัย 1478 ให้ครบถ้วน ชัดเจน โดยมีอธิบดีกรมอนามัยลงนามและแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ เช่น บทบาทหน้าที่ การรับสาย การจัดระบบคำถามที่พบบ่อย การตอบคำถาม การใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อค้นหาข้อมูล การจัดเวรรับผิดชอบ เป็นต้น โดยมีช่องทางภาคเอกชนร่วมด้วย เช่น Website, Facebook, Line สายด่วนต่าง ๆ เพื่อเป็นองค์ประกอบในการตอบคำถาม - ให้กองแผนงานต้องพัฒนา TSC ให้เป็น Platform ด้านสุขลักษณะ ด้านสุขาภิบาล และด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยมีเจ้าพนักงานและบุคลากรสาธารณสุขที่กำหนดตามกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ต้องดำเนินการ เช่น การขอคำปรึกษา โดยกองแผนงานจะต้องวางแผนการดำเนินงานและของบประมาณเพื่อดำเนินการตามแผนด้วย - สำนักงานเลขานุการกรมให้ทุกหน่วยงานแจ้งความต้องการบัตรเติมน้ำมันในสถานการณ์โควิด – 19 จำนวน 200,000.-บาท ตามที่มีภาคเอกชนสนับสนุน - ให้ศูนย์อนามัยประสานพื้นที่ทำการประเมินรับรองการปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting ของสถานประกอบการ โดยเน้นย้ำประสานทำความเข้าใจกับทีมระดับจังหวัดในการสุ่มประเมินมาตรการและลงข้อมูลในระบบ TSC 2Plus ในส่วนของเจ้าหน้าที่ตรวจประเมิน | สำนักงานเลขานุการกรม
กองแผนงาน
ศูนย์อนามัย |
-
- |
หน่วยงานรับทราบ
หน่วยงานรับทราบ | ||
5. ร่าง มาตรการชุมชน สังคม และองค์กรเมื่อเข้าสู่โรคประจำถิ่น - ให้มีการปรับแก้หรือตัดคำในสไลด์ที่จะนำเสนอ ให้อ่านเข้าใจง่าย ไม่เกิดความซ้ำซ้อน | รับทราบ | - | หน่วยงานรับทราบ |