เดือนพฤษภาคม ปีงบประมาณ 2564
| 121 |
|
| 68 |
|
| 53 |
|
1.ให้จัดทำแบบสำรวจประเด็นความกังวลของประชาชนต่อการฉีดวัคซีน และให้ศึกษาโพลเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ | ทีมอนามัยโพล |
| รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
2.ให้จัดประชุมแบบออนไลน์กับสมาคมฯ/หน่วยงานที่ผู้เกี่ยวข้องภายในสัปดาห์นี้ เพื่อรวบรวมประเด็นเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ ทั้งเรื่องความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด (เช่น การติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิด) วิธีการควบคุมป้องกัน รวมทั้งประเด็นการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ที่รับยาคุมกำเนิด เพื่อให้ได้มติของการประชุมสำหรับนำมาในการดำเนินงานต่อไป | สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ |
| อยู่ระหว่างดำเนินการ และจะดำเนินการจัดประชุม ในวันที่ 4 มิ.ย. 64 ผ่านระบบออนไลน์ | ||
3.ให้นำคำแนะนำที่มีอยู่ในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ปลั๊กอินกับแนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 ใน Nursing Home ของกรมการแพทย์ | สำนักอนามัยผู้สูงอายุ |
| รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
4.ขอให้ปรับการประเมินโรงงานตามคำแนะนำในที่ประชุมเพิ่มในด้านที่พักอาศัยของคนงานและการคัดกรอง พร้อมทั้งให้จัดทำ FLOW ระบบการประสานกับหน่วยงานภายนอกโดยตรงซึ่งต้องผ่านการพิจารณาจาก EOC กรมอนามัย การส่งต่องานในแต่ภารกิจอย่างเป็นระบบและมีความชัดเจน | คลัสเตอร์วัยทำงาน/คณะ STAG |
| รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
5.ให้คาดการณ์และจัดทำแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนที่ต้องการในการดำเนินงานโรงพยาบาลสนาม พร้อมทั้งพิจารณางบประมาณในการดำเนินงาน | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม |
| รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
6.ให้นำประเด็นจากการหารือกับ CPF มาจัดทำข่าวและสื่อสาร เช่น การปรุงสุกของผลิตภัณฑ์อาหาร (ไก่) รวมทั้งสื่อสารประเด็นการเตรียมความพร้อมของการเปิดเรียนในกลุ่มเด็กปฐมวัย | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ |
| ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว | ||
7.ให้หน่วยงานส่วนกลางที่เป็นเจ้าของ setting (ใน TSC+) ประชุมหารือกับหน่วยงานที่จะต้อง commitment และจัดทำเป็นหนังสือ/หลักฐานการ commitment ส่งให้ศูนย์อนามัย พร้อมกับแจ้งเป้าหมาย และ name list ของแต่ละ setting | หน่วยงานเจ้าของ Setting ใน TSC+ กองแผนงาน |
| หน่วยงานรับทราบ | ||
1. สรุปข้อสั่งการจากประชุม EOC กรมอนามัย วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ในประเด็นสำคัญ เช่น ทบทวนมาตรการกรณีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตเพิ่มขึ้น กรณีผู้ป่วยติดเตียงเสียชีวิต เพิ่มเติมประเด็นคำถามใน Anamai Poll และการลงพื้นที่สื่อสารกับ IC และโรงพยาบาลสนาม เป็นต้น | รับทราบ |
| รับทราบ | ||
2. สรุปสถานการณ์โควิด 19 จาก PHEOC กระทรวง จำนวนผู้ป่วยวันนี้ 3,759 ราย ที่ประชุมมีข้อเสนอดังนี้ 2.1 ขอให้นำข้อมูลการจัดระดับพื้นที่เสี่ยงและมาตรการที่นำเสนอมาพิจารณาข้อเสนอผ่อนปรนมาตรการกับสถานประกอบการ การเปิดโรงเรียน และจัดทำการคาดการณ์ในระยะสั้นและยาวโดยชี้เป้าหมายที่กรมต้องดำเนินงาน 2.2 ควรมีการตรวจสอบความสำเร็จของมาตรการใน Setting ที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรการลดพื้นที่ร้านอาหาร 25% ครบ 14 วัน แล้วมีการติดเชื้อจากร้านอาหารหรือไม่ ผลการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจะได้นำไปพิจารณาปรับมาตรการต่อไป | STAG
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ |
|
| ||
3. ตรวจจับประเด็น COVID 19 (IWD) พบว่า “พ่อแม่มีความกังวล เปิดเทอม ลูกหลานเสี่ยงโควิด – 19” และจากผลสำรวจประเด็น “ความกังวลและความรู้สึกต่อการเปิดเรียนเดือนมิถุนายน แบ่งตามระดับการศึกษาของบุตร/หลาน (19 – 28 พ.ค.64) N = 12,750 คน พบว่า ประชาชนมีความกังวลต่อการเปิดเรียนเดือนมิถุนายน 2564 จัดเรียงลำดับความกังวลจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้ดังนี้ ระดับเนอร์สเซอร์รี่ ร้อยละ 98.1 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 97.5 ระดับอุดมศึกษา/เทียบเท่า ร้อยละ 96.8 มัธยมศึกษาตอนปลาย/อาชีวศึกษา 96 และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 95.7 โดยภาพรวมเฉลี่ยระดับความกังวลอยู่ที่ร้อยละ 96.3 ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 3.1 ขอให้สำนัก/กอง ศูนย์สื่อสารสาธารณะ HL วิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลการสำรวจอนามัยโพล ก่อนที่จะไปสื่อสารและเผยแพร่ ใช้วางแผนงาน และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องต่อไป 3.2 ประธานมอบให้กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจัดอบรมให้ความรู้กับสำนัก/กองส่วนกลาง เรื่อง เครื่องมือที่ใช้สำรวจ การนำข้อมูลจาก Anamai Poll ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัย รวมทั้งศูนย์สื่อสารสาธารณะและ HL ที่ต้องใช้ข้อมูลนี้เพื่อการสื่อสาร 3.3 ขอให้ทีมอนามัยโพลประสานสำนัก/กอง ดำเนินการทำ General Poll |
ศูนย์สื่อสารสาธารณะ และ HL ทุกสำนัก/กอง
กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
ทีมอนามัยโพล |
|
|
| |
4. จากการรายงานผลการดำเนินงานทีม Operation Setting ตลาด ที่ประชุมขอให้รายงานปัญหา อุปสรรค ภาพกิจกรรมในการลงพื้นที่ตลาด ประสานกับศูนย์สื่อสารสาธารณะให้สื่อสารกิจกรรมดังกล่าวอย่างเหมาะสม | ทีม Operation/สำนักสื่อสารสาธารณะ |
| |||
5. ความก้าวหน้าการดำเนินงาน การสื่อสารและ HL - สรุปการเผยแพร่ข่าวกรมอนามัยรายวัน ประจำวันนี้ ได้แก่ กรมอนามัยแนะ 10 แหล่งอาหาร หาง่าย กินประจำช่วยบำรุงปอด บทบาทการร่วมดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลสนามนิมิบุตร ข่าววัคซีน เป็นต้น และนำเสนอแผนการสื่อสารเผยแพร่ข่าววันที่ 1 – 4 มิถุนายน 2564 ประธานมอบให้ศูนย์สื่อสารสาธารณะร่วมกับสำนัก/กอง/คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เตรียมประเด็นคำถามคำตอบที่คาดว่าประชาชนในพื้นที่หรือชาวบ้านจะมีข้อสงสัย พร้อมทั้งให้มีภาพ Infographic ที่เข้าใจง่าย ภาษาสื่อสารที่ชัดเจน ชาวบ้านเข้าใจ และข้อมูลที่ชัดเจน ประกอบการแถลงข่าวใน 4 ประเด็นเร่งด่วน ได้แก่ 1) มาตรการการป้องกันโควิด – 19 ในพื้นที่ตลาดสด 2) การป้องกันโควิด – 19 สถานประกอบการ 3) การเตรียมความพร้อมของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 4. การขับเคลื่อนการฉีดวัคซีนโควิด – 19 ในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร - รายงานผลการประเมินตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในกรุงเทพมหานคร ณ ตลาดสดบางขุนศรี และสนามกอล์ฟปัญญาอินทรากอล์ฟคลับ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคโควิด – 19 ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.7 แต่มีความรอบรู้ต่อการรับวัคซีนในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำอยู่ที่ร้อยละ 54.5 จึงเสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประเมินตนเองในทุก Setting ในระบบ TSC ประธานได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ Setting ตลาด 3 ประเด็นคือ 1) การจัดการกับคนที่อยู่ในตลาดทั้งคนไทยและคนต่างด้าว และคนที่เข้ามาตลาด เช่น ส่งของ เก็บขยะ 2) การกำหนดออกแบบกิจกรรม ปฏิสัมพันธ์ในพื้นที่ตลาด และพื้นที่โดยรอบ เช่น การเข้าพื้นที่ทางเดียว ใส่หน้ากาก 3) การบริหารจัดการควบคุม กำกับกิจกรรมการดำเนินงานของเจ้าของตลาดหรือของหน่วยงาน | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ ร่วมกับ สำนัก/กอง ที่เกี่ยวข้อง
สำนักสุขาภิบาลอาหาและน้ำ |
|
|
| |
6. การประเมินตนเองของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในระบบ TSC รายงานผลการประเมินสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (สพด.) ในระบบ TSC (30 มีนาคม – 23 พฤษภาคม 2564) N = 8,364 แห่ง พบว่า สพด. ที่เข้าประเมิน ร้อยละ 38.03 และที่ยังไม่เข้าประเมิน ร้อยละ 61.97 ซึ่งได้มีการจัดทำหนังสือจากกระทรวงสาธารณสุขไปยังจังหวัด/พื้นที่ให้เร่งดำเนินการเข้าประเมินตนเองในระบบ TSC ด้วยแล้ว ส่วนปัญหาอุปสรรคที่พบจากศูนย์อนามัยที่มีการเข้าประเมินซ้ำซ้อนนั้น กองแผนงานจะเร่งดำเนินการแก้ไขในเชิงระบบให้ปรากฏข้อมูลที่ผ่านการประเมินเท่านั้น ประธานมอบให้สำนักส่งเสริมสุขภาพและสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติต้องเร่งกระตุ้นให้จังหวัด/พื้นที่เข้าใช้ระบบ TSC และส่งคืนข้อมูลกับจังหวัด/พื้นที่ ก่อนเปิดภาคเรียน | สำนักส่งเสริมสุขภาพ สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ |
| |||
7. การ Design กิจกรรมเข้าค่ายให้กับผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลสนาม ประธานมอบรองอธิบดี (นพ.บัญชา ค้าของ) สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักโภชนาการ และกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ที่รับผิดชอบกลุ่มวัยทำงาน เร่ง Design กิจกรรมเข้าค่ายให้กับผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลสนาม ประสานผู้บริหารโรงพยาบาล ให้ยอมรับการ Design ของกรมอนามัย และให้เห็นกิจกรรมเป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง โดยให้ลูกค้ามองเห็นความน่าเชื่อถือ เพื่อสุขภาพผู้ป่วย และเพื่อการอยู่อย่างเป็นสุขในโรงพยาบาลสนาม | รองอธิบดี (นพ.บัญชา ค้าของ) สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักโภชนาการ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ |
| |||
1.ข้อสั่งจากการประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุข มีข้อสั่งการ ดังนี้ 1.1 หญิงตั้งครรภ์ เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นและอายุน้อย ให้หารือกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อทบทวนมาตรการของกรมอนามัยหาแนวทางแก้ไข และนำมารายงานให้ที่ประชุม EOC กรมรับทราบ 1.2 กรณีผู้ป่วยติดเตียงเสียชีวิต ควรพิจารณาข้อมูลว่าเกิดติดเชื้อจาก Care Manager, Care Giver หรือไม่ ควรทบทวนมาตรการและนำเสนอแนวทางแก้ไข และนำมารายงานให้ที่ประชุม EOC กรมรับทราบ | สำนักส่งเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ |
|
| ||
2. Anamai poll มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 2.1 ควรสอบถามประเด็นเพิ่มเติมใน Event poll เรื่อง ประเด็นร้านอาหาร ว่าจะสามารถขยายมาตรการ 25% หรือไม่ เพื่อนำข้อมูลสำรวจฯ มาใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจมาตรการผ่อนปรน 2.2 ศึกษาข้อมูลแนวทางการฉีดวัคซีนให้กับคนที่ให้บริการสาธารณะเช่น Care Manager, Care Giver เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อ 2.3 ให้พิจารณาแนวทาง มาตรการในรถโดยสาร เช่น รถ Open Air ในพื้นที่มีการการระบาดสูง | กองประเมินฯ
ทีม STAG/สำนักอนามัยผู้สูงอายุ ทีม STAG |
| อยู่ระหว่างดำเนินการร่างคำถามเพื่อพิจารณา
รับทราบอยู่ระหว่างดำเนินการ
| ||
3. รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานทีม Operation / Logistic / HL มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 3.1 ทำสรุปรายงานภาพรวมของการจัดการ รพ.บุษราคัม ในรอบที่ผ่านมา เพื่อรายงานให้ สป. รับทราบ 3.2 ให้หัวหน้าทีม Operation ที่ลงพื้นที่ สื่อสารกับ IC ของรพ.สนามต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และร่วมกันแก้ไขปัญหา 3.3 ขอให้ส่งแผนงาน Operation Setting ตลาด และกระจายข้อมูลการดำเนินงานให้ผู้บริหาร คณะกรรมการฯ และผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
3.4 กรณีที่มีผู้บริจาคผ่านหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ควรแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับของบริจาค หลักฐานบันทึกสิ่งของและการนำของบริจาคไปใช้ และการทำหนังสือขอบคุณหน่วยงานที่บริจาค ส่งข้อมูลให้สำนักงานเลขานุการกรมจัดทำข้อมูลในภาพรวมของกรมอนามัย 3.5 สรุปประเด็นวิชาการ และหาช่องทางการสื่อสารทำความเข้าใจให้กับประชาชนที่อยู่รอบๆ รพ.สนามเพื่อลดความวิตกกังวล | ทีม Operation
ทีม Operation
ทีม Operation /สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ทุกหน่วยงาน
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม |
|
| ดำเนินการเตรียมแผนลงพื้นที่ตลาด และ Set ทีมที่ลงพื้นที่เรียบร้อยแล้ว | |
4. วาระอื่นๆ 4.1 การ defend งบประมาณจากสภาพัฒน์ มีประเด็นรายการครุภัณฑ์ที่กรมขอไป ต้องมีใบเสนอราคาและคู่เทียบอย่างน้อย 3 บริษัท ซึ่งกองแผนงานจะแจ้งรายละเอียดให้ทุกหน่วยงานทราบอีกครั้ง 4.2 หน้าที่สำคัญของกรมอนามัยในช่วงวิกฤติ COVID-19 คือ การดูแลด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จำเป็นที่จะต้องสื่อสารให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง ซึ่งทุกหน่วยงานต้องช่วยกันสื่อสารให้กับเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ เพื่อให้เกิดการรับรู้เพิ่มขึ้น 4.3 ศูนย์อนามัยที่ 8 พบปัญหาเรื่อง E-Certificate ของ TSC ที่ต้องส่งอีเมล์ ซึ่งอยากให้จัดส่งทางไลน์เพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง 4.4 ประชาสัมพันธ์ให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป ให้มารับบริการฉีดวัคซีน (ชิโนแวค) เพิ่มมากขึ้น 4.5 จัดทำ name list ของวัดและศาสนสถาน พร้อมทั้งจำนวนเป้าหมายที่กำหนดให้ศูนย์อนามัยไปดำเนินการ 4.6 ส่วนกลางควรประสานสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ประชุมหารือจัดทำสรุปผลการดำเนินงานตรวจตลาดในกรุงเทพมหานคร 4.7 มอบหมายหน่วยงานเป็นแกนกลางดูแลภาพรวมของกรมอนามัย ในเรื่องการประสานข้อมูลการให้บริการฉีดวัคซีนแก่เครือข่ายภายนอกกรมอนามัย และจัดส่งข้อมูลให้สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง เป็นผู้ดำเนินการฉีดวัคซีน | ทุกหน่วยงาน
ทุกหน่วยงาน
กองแผนงาน สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กองการเจ้าหน้าที่
| รับทราบ
รับทราบ
|
|
| |
1.1 มอบ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กำหนดแนวทาง ข้อแนะนำในการเฝ้าระวังให้กับสถานที่เสี่ยง เช่น สถานประกอบการ และตลาด เพื่อนำเสนอ ศปก.ศบค. วันที่ 28 พ.ค. 2564 |
ทีม STAG
|
|
| ||
2.1 จัดทีม THINK TANK และเชิญกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อนำผลสำรวจอนามัยโพลสกัด Key Massage ไปสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ | นพ.สราวุฒิ บุญสุข /HL Cluster วัยเรียน |
| |||
| นพ.ดนัย ธีวันดา/ |
|
| ||
4.1 เร่งรัดให้หน่วยงานใช้งบกลาง และมอบกองแผนงานติดตามการใช้งบกลางในสัปดาห์หน้า 4.2 มอบนพ.บัญชา ค้าของ ร่วมกับกองแผนงาน กำหนดทีม Defense งบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2565 วาระหนึ่ง โดย Stand by กรมอนามัยในสัปดาห์หน้า |
นพ.บัญชา ค้าของ/กองแผนงาน/สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง/ Clusterอนามัยสิ่งแวดล้อม |
|
| ||
5.1 เห็นชอบตามเป้าหมายโรงแรมที่สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมเสนอ | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม/สำนักสุขาภิบาลอาหาร |
| |||
1.สรุปการประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายกองระบาดวิทยาและกรมอนามัยในการออกแนวทาง ข้อแนะนำในการเฝ้าระวังให้กับสถานที่เสี่ยง เช่น สถานประกอบการ คอนโดมิเนียม ชุมชนแออัด แคมป์ก่อสร้าง และตลาด ให้คลัสเตอร์วัยทำงานวิเคราะห์และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรง ทั้งมิติกฎหมาย แรงงานและอุตสาหกรรม และจัดทำแนวทางให้ชัดเจนสอดคล้องกันก่อนนำเสนอในศปก.ศบค.โดยนำมาเสนอใน EOC กรมอนามัยต่อไป | คลัสเตอร์วัยทำงาน |
| รับทราบ และอยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
2. จากการรายงานอนามัยโพล ข้อเสนอแนะ
3. ศูนย์สื่อสารสาธารณะและ HL ให้ Create Think Tank เพื่อตั้งคำถาม วิเคราะห์และสังเคราะห์ในการนำไปสื่อสาร | คลัสเตอร์วัยเรียน กลุ่มงาน/สำนักที่เกี่ยวข้อง ศูนย์สื่อสารสาธารณะ และHL |
| รับทราบและดำเนินการ ตามข้อเสนอแนะ | ||
3. Operation รายงานการบริหารจัดการศูนย์แรกรับและส่งต่อกระทรวงสาธารณสุข อาคารนิมิตรบุตรและโรงพยาบาลบุษราคัม ที่ประชุมรับทราบโดยขอให้สนับสนุนที่เป็นภารกิจกรมเต็มที่ และมีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการดังนี้ 1.ขอให้นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อที่ประชุมEOC กรมอนามัย ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 2.กรณีโรงพยาบาลบุษราคัมที่มีปัญหาไม่พบคลอรีนอิสระในน้ำเสีย ให้รายงานต่อ IC และแจ้งฝ่ายอาคารสถานที่ โดยมีการบันทึกแจ้งวัน เวลา และผู้รับแจ้ง ถ้าครบ 3 ครั้งแล้วยังไม่ดำเนินการให้ทำหนังสือจากกรมแจ้งให้ IC ได้ทราบ 3.ขอให้ Logistic จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ สนับสนุนการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม Logistic และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
| 1) สว.ได้ส่งทีมลงพื้นที่ดังกล่าว และรายงานที่ประชุมต่อไป
2.) หน่วยงานรับทราบ และ อยู่ระหว่างดำเนินการ
3) หน่วยงานรับทราบ | ||
4. การรายงานความคืบหน้าเงินกู้ ขณะนี้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาร่างเงินกู้และขอเอกสารประกอบโดยจะมีการชี้แจงในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ที่ประชุมรับทราบโดยมีจุดของกรมเป็นส่วนสนับสนุนบริการเดิม | กองแผนงาน |
| หน่วยงานรับทราบ | ||
5.การรายงานแผนสื่อสารสาธารณะ ข้อเสนอแนะ 1.เน้นการสื่อสารในหลายช่องทางเพื่อเพิ่มผู้เข้าชม 2.สืบเนื่องจากอนามัยโพล การสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ News(ข่าว) Data(ข้อมูล) Information (สารสนเทศ)และLive (สื่อผสม) ควรมีการผสมผสานระหว่างการสื่อสารทั้ง 4 รูปแบบ และ Experience | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
| รับทราบและดำเนินการ ตามข้อสั่งการ | ||
6.สรุปข้อเสนอหน่วยงานในภูมิภาคในสนับสนุนการปฏิบัติการในระดับพื้นที่ ข้อสั่งการ รับทราบข้อสรุปและเห็นชอบมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามเสนอ โดยมีประเด็นเพิ่มเติมดังนี้ 1.การตรวจสอบสถานประกอบการ setting การออกแบบการส่งเสริมให้มีความตระหนักปฏิบัติตามมาตรการ โดยมีการรับข้อร้องเรียนในช่องทางต่างๆ และต้องมี Unit ในการจัดการ 2.ให้นำข้อเสนอไปปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วมานำเสนอในรูปแบบของกรอบเวลาในที่ประชุม EOC กรมในครั้งต่อไป 3.Setting ที่ยังไม่ได้นำเสนอเป้าหมายคือ โรงแรม ศาสนสถานและร้านอาหารให้เร่งพิจารณาให้ชัดเจนและนำเสนอในที่ประชุม EOC กรมภายในสัปดาห์นี้ |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน
กองแผนงาน สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักผู้สูงอายุและสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ |
| หน่วยงานรับทราบ และ อยู่ระหว่างดำเนินการ | ||
7. อื่นๆ 1.ตลาดต้อง Review มาตรการทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาให้ชัดเจนทั้งระดับพื้นที่และความเสี่ยงในพื้นที่ 2.สถานประกอบการพิจารณามาตรการตามความเสี่ยงและมาตรการที่ประกาศและความเสี่ยงพื้นที่ต้องพิจารณาให้ครอบคลุม 3.ร้านอาหาร ต้องติดตามประมวลคำถาม วิเคราะห์สถานการณ์ประกอบกับมาตรการที่ต้องออกทั้งแบบคุมเข้มและอ่อนลง มองภาพรวมประเทศ 4.การมองในเชิงพื้นที่ที่ต้องมีการฉีดวัคซีน เช่นจังหวัดภูเก็ต การพิจารณาร่วมกับมาตรการป้องกันต่างๆ | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ |
| หน่วยงานรับทราบ | ||
1.1 มีมาตรการรองรับหาก Caregiver และ Care Manager เป็นผู้ติดเชื้อ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประสานหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานบริการปฐมภูมิ หน่วยงานในชุมชนในการจัดบริการฉีดวัคซีน COVID – 19 ให้กับผู้ดูแลและผู้สูงอายุติดเตียง | นพ. อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ
|
|
| ||
1.2 ให้ศูนย์อนามัยเปิดให้บริการฉีดวัคซีนเพื่อสนับสนุนตามแผนการฉีดวัคซีนของจังหวัดและเขต (Group Vaccination) และขึ้นอยู่กับความพร้อมของพื้นที่เป็นสำคัญ | ศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 |
|
| ||
2.1 นำผลการสำรวจอนามัยโพล ประเด็นความกังวลเรื่องการติดเชื้อ COVID – 19 ในครอบครัว จัดทำเป็น Key Message เพื่อสื่อสารต่อไป | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ
|
|
| ||
2.2 เพิ่มคำถามวัดความรู้ความเข้าใจ และความเชื่อของประชาชนต่อการฉีดวัคซีน รวมทั้งความกังวลและความต้องการของประชาชน เช่น กลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงที่มีความกังวล ต้องการฉีดที่บ้านหรือโรงพยาบาล เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการสื่อสารและการดำเนินงานต่อไป | ทีมอนามัยโพล
|
|
| ||
2.3 ให้นำหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมเป็นทีมจัดทำข้อคำถามอนามัยโพล | ทีมอนามัยโพล
|
|
| ||
3. การขับเคลื่อนการป้องกัน COVID-19 ในศาสนสถาน มีข้อสั่งการดังนี้ 3.1 วิเคราะห์นำเสนอข้อมูลการประเมินตนเองในแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID Plus โดยจำแนกศาสนสถานตามความเสี่ยงของพื้นที่ เช่น วัดที่มีคนนอกพื้นที่เข้ามาในพื้นที่ เพื่อกำกับติดตามการปฏิบัติตามมาตรการ 3.2 กำหนดมาตรการหรือแนวปฏิบัติของศาสนสถานให้สอดคล้องเขตพื้นที่ตามสถานการณ์ เนื่องจากในแต่ละพื้นที่สถานการณ์จะมีประเด็นที่แตกต่างกันออกไป 3.3 กำหนดมาตรการเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงในศาสนสถาน เช่น กลุ่มพระเถระสูงอายุโดยพิจารณาเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพและแนะนำให้มีการฉีดวัคซีน | สำนักอนามัยผู้สูงอายุ |
|
| ||
4. แผนการลงพื้นที่ตรวจประเมินตลาดในเขตกรุงเทพมหานคร เห็นชอบตามที่นำเสนอ และให้ข้อเสนอเน้นย้ำในเรื่องดังต่อไปนี้ 4.1 เน้นย้ำให้ทีมลงพื้นที่ต้องมีการป้องกันตนเองขณะลงพื้นที่ตรวจประเมินตลาดอย่างเคร่งครัด เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง และกำหนดให้ทีมลงพื้นที่ข้างต้น ต้องได้รับการฉีดวัคซีน COVID – 19 แล้ว 4.2 เจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่ให้สวมเสื้อกั้กกรมอนามัย และรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยบันทึกวัน เวลา และสถานที่ในการลงพื้นที่ทุกครั้ง เพื่อเป็นประวัติหากพื้นที่ดังกล่าวมีการแพร่ระบาดโรค COVID – 19 ขึ้น 4.3 จัดเตรียมข้อมูลแบบประเมินของกรมอนามัยทั้งในระบบ TSC+ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับแบบประเมินของกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการวางแผนควบคุมกำกับ และการสื่อสารความเสี่ยงร่วมด้วย 4.4 พิจารณาสถานที่เสี่ยง บริบทโดยรอบ และองค์ประกอบสำคัญของการเกิดโรคอื่นใด นอกเหนือจากตลาด เช่น ชุมชนแออัด แคมป์แรงงานก่อสร้าง ฯลฯ 4.5 บันทึกภาพระหว่างปฏิบัติงาน และพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน | ทีม Operation สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง |
|
| ||
5. เรื่องอื่นๆ 5.1 ให้ทีม STAG ของศูนย์อนามัยวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID – 19 ในพื้นที่ และวิเคราะห์จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่กับความสามารถในการควบคุมโรค เพื่อให้เห็นเส้นทางการเคลื่อนย้ายของประชากร และความเชื่อมโยงระหว่างสถานที่เสี่ยง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนเตรียมการจัดการป้องกันโรค COVID – 19 ได้ทันต่อสถานการณ์ และเตรียมจัดทำแผนการดำเนินงานระยะ 3 เดือนต่อไป ในกรณีที่เกิดการระบาดจากภายในครอบครัว | ทีม STAG ศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 |
|
| ||
1. จากผลการสำรวจอนามัยโพลประเด็นความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้พิจารณาปรับรูปแบบการนำเสนอกราฟผลการสำรวจ โดยพิจารณาการรวมกลุ่มของผลการสำรวจเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ แล้วศึกษารายละเอียดในประเด็นที่สนใจเช่นคนไม่ฉีดวัคซีนเพราะอะไร | คณะทำงานอนามัยโพล |
|
| ||
2. เพิ่มช่องทางการสื่อสารให้หลากหลายมากขึ้น เช่น การถ่ายทอดสดผ่านแพลตฟอร์มมากกว่า 1 แพลตฟอร์มพร้อมกัน (Facebook live และ chat live ใน YouTube) | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ สำนักคณะกรรมการผู้ทรงฯ (HL) |
|
| ||
3. จากการนำเสนอแผนการกระจายวัคซีน ที่มีประชุมมีมติข้อสั่งการ ดังนี้ 3.1 ให้ศูนย์อนามัยเตรียมความพร้อมเร่งฉีดวัคซีน ประสานงานกับทางจังหวัดเพื่อให้พิจารณาเป็นศูนย์ช่วยฉีดวัคซีน โดยมีเป้าหมายคือ บุคลากร ญาติพี่น้อง และ หน่วยงานที่เป็นเครือข่าย โดยเครือข่ายเป็นผู้ขอ ศูนย์อนามัยประสานงานและควรให้บริการฉีดวัคซีนที่หน่วยงานเครือข่าย 3.2 ส่วนกลางขอให้พิจารณาเครือข่ายที่เป็นกลุ่ม ทำตามแนวทางการนัดหมายผ่านองค์กรในข้อ 1 และ 3 ตามความเหมาะสม โดยมอบให้ นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ ประสาน นพ.โสภณ เมฆธนในการจัดหาวัคซีน 3.3 สำหรับเครือข่ายโรงงานอุตสาหกรรมต้องจัดหารายชื่อโรงงาน ประสานงานในระดับบนโดยใช้ Good Factory Practice เพิ่มเรื่องวัคซีน นำเรียนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบ เสนอที่ประชุมศปก.ศบค.เพื่อเป็นมติขับเคลื่อนดำเนินงาน | ศูนย์อนามัยทุกแห่ง
นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ / สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง นพ.บัญชา ค้าของ/ คลัสเตอร์วัยทำงาน |
|
| ||
4. จากการเสนอกรอบภารกิจการปฏิบัติการเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ในพื้นที่กทม. เห็นชอบตามกรอบโครงสร้างที่นำเสนอแต่ให้ใช้เฉพาะกล่อง STAG และ Operation เพื่อตอบข้อเสนอของกรุงเทพมหานคร โดยที่ประชุมมีมติข้อสั่งการ ดังนี้ 4.1 ภารกิจหลักของการปฏิบัติการในพื้นที่กทม. (1) การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis) ความสัมพันธ์และปัจจัยเสี่ยงการระบาดในพื้นที่ กทม. (2) ดำเนินการสนับสนุนการดำเนินงานของกรุงเทพฯ ตามการร้องขอเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ประเด็นเร่งด่วนที่กทม. ร้องขอ คือ การสนับสนุนทีมปฏิบัติการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อตรวจประเมินตลาด จำนวน 10 ทีม (ส่วนกลาง 8 ทีม และสสม. 2 ทีม) อย่างไรก็ตาม มอบนายแพทย์ดนัย ธีวันดา สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ร่วมหารือแนวทางการปฏิบัติการร่วมกับ กทม. 4.2 สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองมีบทบาทหน้าที่ในการเชื่อมประสานงานกับ Focal point กรุงเทพฯ 4.3 สำหรับประเด็นเรื่องชุมชนแออัด แคมป์คนงาน อื่นๆ ขอให้ STAG พิจารณามอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ | คณะทำงาน STAG คณะทำงาน Operation (นพ.ดนัย ธีวันดา สอน. สสม. ร่วมกับ กทม.) สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง STAG |
|
| ||
5.1 จากการกำหนดเป้าหมายการลงทะเบียนก้าวท้าใจ ให้พิจารณาจำนวนเป้าหมายของสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองให้เหมาะสมอีกครั้ง 5.2 จากข้อเสนอเพื่อพิจารณาการขับเคลื่อนโครงการก้าวท้าใจ มีข้อสั่งการ ดังนี้ (1) มอบทุกศูนย์อนามัย ขับเคลื่อนก้าวท้าใจผ่าน 4 setting และชมรมกีฬาในพื้นที่ (2) มอบคลัสเตอร์วัยเรียน ขับเคลื่อนในโรงเรียน (3) มอบคลัสเตอร์วัยทำงาน ขับเคลื่อนในสถานประกอบการ (4) จัดทำฐานข้อมูลการลงทะเบียนของผู้ประกอบการ food delivery และผลักดันให้กลุ่มข้างต้นได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงพร้อมกับลงทะเบียนก้าวท้าใจด้วย | กองกิจกรรมทางการเพื่อสุขภาพ
ทุกศูนย์อนามัย คลัสเตอร์วัยเรียน คลัสเตอร์วัยทำงาน นพ. ดนัย ธีวันดา และ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ |
| |||
ุ6. จากการประสานร่วมกิจกรรมเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานเปิด คณะกรรมการอำนวยการศูนย์บริหารจัดการการฉีดวัคซีนบริหารจัดการวัคซีนและการบริการฉีด กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบสถานที่ ขอให้ประสานกระทรวงคมนาคมในเรื่องความสำคัญที่อธิบดีกรมอนามัยต้องเข้าร่วมงานดังกล่าว | นพ. ดนัย ธีวันดา |
|
| ||
1.อนามัยโพล 1.1ให้ทุกหน่วยงานทั้งสายส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม สนับสนุนข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้ศูนย์สื่อสารสาธารณะใช้ในการจัดทำสื่อของกรมอนามัย 1.2 จัดตั้งทีมที่ประกอบด้วยอาจารย์/ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกกรมอนามัย เพื่อร่วมกำหนดขอคำถามอนามัยโพล | ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทีมอนามัยโพล |
| หน่วยงานรับทราบ
| ||
2.สรุปการเผยแพร่ข่าวกรมอนามัยรายวัน/แผนการสื่อสาร (19 พ.ค.64) 2.1 ให้บูรณาการสื่อของกรมอนามัยกับช่องทางต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลกรมอนามัยมากขึ้น เช่น Facebook LIVE / Youtube LIVE / Clubhouse และพัฒนาคนให้เป็นนักสื่อสาร content ที่น่าสนใจมากขึ้น 2.2 ให้มี unit เชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ ทั้งส่วนกลางและศูนย์อนามัย เพื่อนำข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น Thai Stop COVID+ จากหน่วยงานต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดทำสื่อของกรมอนามัย | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ |
| ดำเนินการแล้ว
ดำเนินการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ||
3.ข้อเสนอเป้าหมายในการขับเคลื่อน TSC+ 3.1 ให้มีการพิจารณาค่าเป้าหมายในแต่ละ setting ดังนี้ - ร้านสะดวกซื้อ ให้เลือกร้านสะดวกซื้อเจ้าหลักๆ ร่วมด้วย (ไม่ใช่เฉพาะแค่ 7-11) - โรงแรม ให้จัด priority เลือกที่มีความสำคัญ เช่น โรงแรมที่มีความสำคัญกับการท่องเที่ยว หรืออยู่ในจังหวัด ในแหล่งท่องเที่ยว - ศาสนสถาน เนื่องจากยังไม่ค่อยพบการระบาดจาก setting นี้ จึงให้ definition ให้ชัดเจน เช่น วัดในเมือง วัดในแหล่งท่องเที่ยว วัดที่มีกิจกรรมทางศาสนา รวมทั้งศาสนสถานที่มีกิจกรรมเสี่ยงต่อการระบาดของโรค - ร้านอาหาร ให้พิจารณาความครอบคลุม โดยเฉพาะร้านอาหารที่อยู่ในเมือง 3.2 ให้จัดทำรายชื่อสถานประกอบการในแต่ละ setting (ตามจำนวนค่าเป้าหมาย) 3.3 ให้กำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อน และหารือ สื่อสารกับ setting ต่างๆ ถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าระบบ TSC+ ด้วย 3.4 ให้กองแผนงานจัดทำหนังสือแจ้งค่าเป้าหมายสถานประกอบการแต่ละ setting ไปยังศูนย์อนามัย และ สสม.เพื่อขับเคลื่อนตามค่าเป้าหมาย | กองแผนงาน หน่วยงานเจ้าของ setting | รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการตามข้อสั่งการ พิจารณาทบทวนค่าเป้าหมาย setting เพื่อนำมารายงานที่ประชุม EOC ครั้งต่อไป | |||
4.รายงานการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานต่างด้าว (ศอช.) ให้กองแผนงานประสานกับ ศอช. เพื่อนำเอกสารมติการประชุม ที่ให้มีการเตรียมความพร้อมพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐระดับจังหวัด (Local Quarantine) เรื่องการก่อสร้างเตาขยะติดเชื้อ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเงินกู้ รวมทั้งให้ศึกษาเรื่องการทำประชาพิจารณ์ | ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบและแรงงานข้ามชาติ (ศอช.) | รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการประสานงาน | |||
5.Operation ให้ออกแบบกรอบงานและกลไกการทำงาน EOC ในพื้นที่กทม. โดยให้ sprit กลไก EOC กรมอนามัย กำหนด IC บัญชาการ และนำเสนอในที่ประชุม EOC กรมอนามัย เพื่อพิจารณาต่อไป | กองแผนงาน | หน่วยงานรับทราบ | |||
6.เรื่องอื่นๆ จากการประชุม BMW วันนี้ มีการรายงานเรื่องการเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนบางซื่อ โดยให้กรมอนามัยดูแลเรื่องระบบการจัดการขยะในศูนย์ฉีดวัคซีนบางซื่อ จึงให้สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ (เช่น ถุงขยะ ถังเล็ก ถังใหญ่) และจัดวางระบบการจัดการขยะติดเชื้อ โดยให้ติดสติ๊กเกอร์กรมอนามัยให้เห็นชัดเจน และให้ประสานกรมการแพทย์เรื่องวันเวลาเปิดศูนย์ฯ และให้สนับสนุนทีมลงพื้นที่ด้วย | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม |
| หน่วยงานรับทราบ | ||
1.1 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกรมอนามัย ใน Setting /ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ เรือนจำ ตลาด โรงงาน สถานประกอบการ ชุมชนและครอบครัว ให้เน้นการเฝ้าระวังและดำเนินการตามมาตรการ DMHTT 1.2 ประเด็นผู้ป่วยโรคโควิด -19 ที่เสียชีวิตคือ เด็กอายุ 2 เดือน ด้วยโรค Tetralogy of Fallot (TOF) เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว ในที่ประชุมมีข้อสั่งการ : มอบสำนักส่งเสริมสุขภาพ ดำเนินการประสานเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำข้อมูลวิชาการ เพื่อสื่อสาร เฝ้าระวังความเสี่ยง | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
| รับทราบ
| ||
2. วางแผนและสื่อสาร เสนอมอบทีม “เครือข่ายอนามัยโพล” จากศูนย์อนามัยร่วมสื่อสาร ประชาสัมพันธ์การตอบแบบสำรวจอนามัยโพล เพื่อให้มีข้อมูลที่ครอบคลุม และสะท้อนสถานการณ์ได้ครบทุกจังหวัด รวมทั้งนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในระดับเขต และระดับจังหวัดต่อการพัฒนามาตรการป้องกันโรค | กองประเมินผลกระทบ | ที่ประชุม : รับทราบและให้ปรับคำ “การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในการป้องกันโรค โควิด -19” ให้ประชาชนเข้าใจง่าย | |||
3. รายงานความก้าวหน้าของ HL เกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวกรมอนามัย รายวัน/แผนการสื่อสาร - ย้ำร้านอาหารพื้นที่แดงเข้ม คุมนั่งกินไม่เกิน 25% ส่วนร้านแบบบุฟเฟต์ งดให้ตักเอง - ระดมทุกศูนย์อนามัยจัดพื้นที่สนับสนุนให้บริการฉีดวัคซีน - 4 แนวทางดูแลเด็กเล็กเสี่ยงติดโควิด – 19 - คุมเข้ม Care Manager และ Caregiver ปฏิบัติตัวตามมาตรการ DMHTTA - อธิบดีกรมอนามัยรับมอบอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล PPE ณ ศูนย์การค้าแม็คโคร สาขาแจ้งวัฒนะ ที่ประชุม : รับทราบและให้นโยบายการฉีดวัคซีนเป็น 2 ประเด็นคือ 1.ดำเนินการให้เป็นไปตามกลไกของจังหวัด 2.เตรียมที่ตั้งไว้ถ้ามีโอกาสก็ดำเนินการตามเป้าหมาย | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ
ศูนย์อนามัยทุกแห่ง
|
| รับทราบ
| ||
4. รายงานการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ - ผลการประมินตนเองใน Thai Stop COVID Plus : สถานพัฒนา เด็กปฐมวัย ประเด็นที่ไม่ผ่านมาตรฐาน คือ ผู้ดูแลต้องผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการป้องกันควบคุมโรค สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งสพด.ได้จัดทำ หลักสูตรการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการป้องกันควบคุมโรค เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ประชุม : รับทราบ ขอให้มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการคิดวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องตามข้อเสนอของศูนย์อนามัยที่ 3 |
ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
กองการเจ้าหน้าที่ |
| รับทราบ | ||
5. จากการรายงานการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง - สำหรับหลักสูตร “สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านภัยโควิด” สำหรับโรงพยาบาลสนาม ให้ใช้เป็นต้นแบบและขยายผลให้กับศูนย์อนามัยเขตอื่น จากการนำเสนอมีข้อสั่งการและคำแนะนำ ดังนี้ 5.1 งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ควรมีการจัดการระบบข้อมูล บันทึกผลการดำเนินงาน (ประเมินผล ตรวจสอบ และถอดบทเรียน) 5.2 การจัดสรรงบกลางประเด็นกลุ่มวัย/กลุ่มเปราะบาง ทีมOperation ควรดำเนินการ 2 ด้าน คือ 1) ปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือตามภารกิจจัดรูปแบบทีมเป็นแบบผสมผสานระหว่างสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนัก/กองที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับสำนักเน้น สุขาภิบาล สุขอนามัยส่วนบุคคล HP กลุ่มวัย และการช่วยเหลือสนับสนุนสิ่งของเพื่อให้เขาสามารถดูแลกันเองได้ โดยพิจารณาขอบเขตภารกิจ เรื่องที่จะทำ วิธีการ และผู้รับผิดชอบ เป้าหมายชุมชนแออัด ตลาด แคมป์คนงานก่อสร้าง ร้านอาหาร (กรณีจำกัดคน 25%) 2) Design Knowledge กำหนด/วางแผนการดำเนินงาน 5.3 การถอดบทเรียน จาก State /Home Quarantine พื้นที่ชุมชนแออัด หรือมิติการดำเนินงานเชิงพื้นที่ |
ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทีมOperation/สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม /สำนักส่งเสริมสุขภาพ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทีมOperation/สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง |
| |||
1. สรุปข้อสั่งการและรายงานการประชุม EOC กรมอนามัย วันที่ 16 พฤษภาคม 2564 | Liaison | - | - | รับทราบ | |
2. สรุปสถานการณ์ COVOID -19 จาก PHEOC กระทรวงฯ (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) | กองแผนงาน | - | - | รับทราบ | |
3.2 สรุปข้อสั่งการ PHEOC กระทรวงฯ - ไม่มีข้อสั่งการถึงกรมอนามัย - มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) ให้ สป. สื่อสารให้ประชาชนทราบเรื่อง ปิดรับการลงทะเบียนฉีดวัคซีนทาง “หมอพร้อม” แล้ว ซึ่งจะเปิดให้ Walk in เป็นการฉีดแบบปูพรม Principal Vaccine โดยเริ่มวันที่ 7 มิ.ย. 2564 โดยจัดสัดส่วนหมอพร้อม 50 : รพ 30 : Walk in 20 (ให้หน้างานปรับตามสถานการณ์ ถ้าจองคิวจากหมอพร้อมมาน้อยก็รับเพิ่มสัดส่วนของ Walk in หาก Walk in มาแล้วคิวเต็ม ให้ลงทะเบียนจองคิวไว้ในวันถัดไป) 2) ผู้เสียชีวิตวันนี้ 25 ราย เป็นเพศชาย 15 ราย หญิง 10 ราย (อายุ 33 – 86 ปี) ปฏิเสธโรคประจำตัว 5 ราย นอกนั้นมีโรคประจำตัวซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดสมอง ภาวะอ้วน โรคหัวใจ ไต มะเร็ง โรคปอดเรื้อรัง โดยผู้เสียชีวิตติดเชื้อจากการสัมผัสสมาชิกในครอบครัวและที่ทำงาน อาศัย/เดินทางไปในพื้นที่ระบาด ไปสถานที่คนแออัด มีอาชีพเสี่ยง (ขับรถรับจ้าง) 3) ยังพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในชุมชน ตลาด โรงงาน สถานที่ทำงาน โดยเฉพาะใน กทม. และปริมณฑลพบมีการระบาดเพิ่มขึ้นในเรือนจำ ชุมชนแออัด แค้มป์ก่อสร้าง 4) เสนอเร่งดำเนินมาตรการองค์กร DMHTT อย่างเข้มข้น (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารรายงานการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ที่ประขุม รับทราบ โดยมีข้อเสนอแนะจากรองฯ สราวุฒิ ว่าในส่วนของมาตรการ DMHTT โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมอนามัย โดยเฉพาะเรื่องการสวมหน้ากาก มาตรการร้านอาหาร Setting ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง คลัสเตอร์ต้องตามงาน ซึ่งขณะนี้เราตามหลังสถานการณ์หมด ทั้งที่เราเคยผ่านระลอกก่อนหน้ามาแล้วและมองเห็นความเสี่ยงอยู่ก่อนแล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำกระบวนการป้องกันไว้เลย ทั้งที่ปีก่อนเราได้ดำเนินการ (Action) นำหน้าเหตุการณ์ไปค่อนข้างมาก เช่น มาตรการสำหรับร้านตัดผม สนามกอล์ฟ กีฬา การล้างตลาด การร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ปัจจุบันเหมือนคอยรอรับข้อสั่งการ ทั้งที่จริงเรามีคณะกรรมการทำงานมีคนไปฝังตัวอยู่ใน ศบค.ชุดเล็ก ช่วยเขาคิด/ทำเพื่อให้มีส่วนของเราไปอยู่ร่วมในงานนั้นๆ ออกไปพร้อมกัน แต่ตอนนี้กลับเป็นออกตามหลังเขาทำให้เกิดความลักลั่น และต้องมาตามแก้ไขทั้งมาตรฐาน ข้อกำหนด วิธีการต่างๆ ดังนั้นต้องไปเชื่อม (Plug In) เป็นส่วนหนึ่งกับคณะกรรมการชุดนี้ซึ่งมีกรมควบคุมโรคและส่วนกลางอยู่ ตรงนี้เป็นกระบวนการของสายบน นอกจากเรื่องมาตรการที่เราออกไปแล้วอีกเรื่องคือ การใส่/ถอดหน้ากากที่มีคำแนะนำออกมาหลากหลายแนวทางและสื่อสารออกไปผิด ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องจัดการและสื่อสารออกไป เมื่อส่วนกลางไปเชื่อมแล้ว ส่วนภูมิภาคต้องรับลูกด้วยเพื่อจะให้ขับเคลื่อนไปก่อนได้เพราะมองเห็นภาวะที่จะต้องเกิดเหตุการณ์เสี่ยงในคลัสเตอร์ต่างๆ อยู่แล้วและสามารถนำแผนเผชิญเหตุมาตอบโต้ได้อย่างทันท่วงที ***ข้อสั่งการ *** 1. ให้ STAG คาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือนจากนี้ ไปถึงสิ้นปีงบ 64 ไปจนถึงสิ้นปีปฏิทิน (ระยะที่การฉีดวัคซีนได้มากพอ) โดยดำเนินการคาดการณ์ใน 3 มิติคู่ขนานกันไป คือ 1) ในมิติสถานการณ์การระบาด 2) ในมิติสถานการณ์ที่อาจมีการผ่อนคลายทั้งในเชิงพื้นที่ เชิงประเด็น และ 3) มิติงานของกรมที่ต้องเคลื่อนอย่างไร (ถ้ามองสถานการณ์ได้ชัดจะเห็นเป็นโอกาสในการทำงานของเราในขณะเดียวกับที่ช่วยงานเขาด้วย = ช่วยงานเขาแต่ได้งานเรา เช่น กรณีผู้สูงอายุ ถ้ามองออกจะเห็นว่าผู้ที่ถูกกระทบ คือ คนติดบ้าน – ติดเตียง ซึ่งเป็นงานของเรา เพราะฐานข้อมูล CM+CG อยู่ที่เรา ดังนั้นเราต้องทำให้ชัด แต่ถ้ามองไม่ได้ชัดเจนจะเห็นโอกาสกลายเป็นภัยคุกคามที่คิดว่าทำให้ไม่ได้ทำงานของเรา) 2. ต้องทำงานกับกลไกที่มีอยู่ให้เป็น เช่น กลไก = ศบค.เล็ก ศบค. EOC – กระทรวง หรือเวทีระหว่างกระทรวงฯ เราต้องรู้เครื่องมือ รู้กลไกเหล่านี้ และทีมเลขาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องถือเป็นโอกาสในการ Empower คนของกรมให้รู้ด้วย (= ฝึกคนของเราให้เข้าใจกระบวนการเหล่านี้ ต้องมองสถานการณ์ให้ออก คาดเดาสถานการณ์ได้ อย่างน้อยต้องทำงาน Smart ขึ้น เป็นระบบมากขึ้น ขับเคลื่อนเร็วขึ้น ไม่ปล่อยตามยถากรรม ดังนั้นประเด็นที่เป็นปัญหาบ่อยๆ ต้องยกมาพัฒนาเชิงระบบ ตัวอย่างเช่น Thai Stop Covid ซึ่งเมื่อสถานประกอบการเข้ามาประเมินมากขึ้น สุดท้ายระบบจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ) 3. เมื่อนำเสนอขึ้นไปประเด็นต้องชัด (มาตรการหลัก มาตรการเสริม มาตรการจำเพาะ) และเสนอแล้วต้องนำมาขับเคลื่อนต่อพร้อมกับติดตามกำกับด้วย โดยการ Feed Back และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน (ต้องมีข้อมูลไปรายงานเพื่อให้เขาสั่งการได้ ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามข้อมูลเชิงปริมาณ) ถ้าทำได้จะเป็นโอกาสในการดึงข้อมูลเข้ามา โอกาสในการ Lead ประเด็นที่ต้องการ แต่ถ้าไม่ทำก็เกิดปัญหา ไม่กล้าเสนอหรือเสนอแต่ประเด็นไม่ชัด เสนอแล้วไม่ขับเคลื่อนต่อ เช่น เรื่องหน้ากาก ถ้าออกเป็นคำแนะนำก็สามารถออกไปได้เลยแล้วหน่วยอื่นก็จะเอาไปประกาศใช้ตามเอง แต่ถ้าทำเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดจะเป็นไปไม่ได้เพราะมีรายละเอียดมาก จะมีปัญหาในเรื่องสภาพการบังคับ ทำให้ต้องมีข้อยกเว้นมากมาย หรือตัวอย่างเรื่อง มาตรการเว้นระยะห่างในร้านอาหาร ให้ปฏิบัติเหมือนกันหมด ไม่ต้องมีข้อยกเว้นสำหรับครอบครัวเดียวกัน = ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ ไม่ต้องใช้ดุลพินิจ โดยให้เหตุผลว่า ละอองฝอยน้ำลายจากการพูดคุยในโต๊ะอาหารฟุ้งกระจายไปโต๊ะอื่นด้วยไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะโต๊ะของครอบครัวเดียวกัน จึงต้องรับผิดชอบต่อคนอื่นที่เข้ามาใช้บริการในร้านด้วย ดังนั้น ทีมการขับเคลื่อนต้องซักซ้อม เพราะตอนนี้เราทำงานไปและพัฒนาไปด้วย ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการขับเคลื่อน | Liaison ทีม STAG หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | - | - | รับทราบ รับไปดำเนินการ | |
3.3 รายงานอนามัยโพล (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) - ข้อเสนอ 1) เพื่อการสื่อสาร: - ให้เน้นย้ำคำแนะนำการสวมหน้ากากที่ถูกต้อง - สร้างความเข้าใจแก่อาสาสมัครและประชาชนไม่ให้เชื่อ Fake News และให้ทราบถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคโควิด – 19 2) เพื่อการวางแผน - ให้ปรับคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับครอบครัว/ชุมชน เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ ในประเด็นการแยกรับประทานอาหาร เว้นระยะห่าง แยกของใช้ส่วนตัว - ย้ำการลดการรวมกลุ่มในชุมชน เช่น การดื่มกิน การรวมกลุ่มจับจ่ายซื้อของ - ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนประเมินความเสี่ยงตนเองโดย Thai Save Thai ที่ประขุม รับทราบ โดยประธานชื่นชมการทำงานของทีมอนามัยโพล และให้ข้อสังเกตในประเด็นเรื่องวัคซีนว่า ผลการสำรวจของอนามัยโพลมีความใกล้เคียงกับผลที่ สป. จ้างสำรวจ แสดงถึงความน่าเชื่อถือได้ ข้อสั่งการ 1. จากผลสำรวจในประเด็น ความต้องการฉีดวัคซีนของประชาชน เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาทำต่อซึ่งเป็นประโยชน์ในเรื่องการนำมากำหนดการวางแผนการฉีดวัคซีนให้ตรงกับประชาชนที่ต้องการฉีดวัคซีน (ตามที่รัฐจะให้เป็นการ Walk in แทนการจองผ่าน หมอพร้อม) ให้ทีมอนามัยโพลรับข้อสังเกต ไปปรับปรุงเพิ่มเติม 2. ประเด็นการสวมหน้ากาก เมื่อเปลี่ยนคำถามถึงการสวมหน้ากากของคนอื่นเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นภาพการปฏิบัติจริง จากผลการสำรวจจะเห็นว่า คนสวมหน้ากากถูกต้อง 68.2% ในขณะที่สวมไม่ถูกต้องหรือไม่สวมรวมกัน 31.8% จึงควรวิเคราะห์ให้ลึกถึงโอกาสที่จำนวนที่ไม่ถูกต้องนี้ไปเกิดที่ไหน เพราะถ้าไปเกิดในพื้นที่สีเข้มจะเป็นสิ่งที่น่ากังวล ให้ HL และศูนย์สื่อฯ ดึง Message ที่ได้จากอนามัยโพล ในเชิงลึกมากขึ้นและออกสื่อภายในสัปดาห์นี้ 3. HL และศูนย์สื่อสารฯ ควรมี Think Tank เช่นเดียวกับ อนามัยโพล โดยนำรายละเอียดของข้อมูลจากทีม Think Tank ของอนามัยโพล มาดำเนินการสื่อสารต่อ และเมื่อ Develop ไประยะหนึ่งให้นำทั้งสองทีมมารวมกัน มีการแลกเปลี่ยนระหว่างทีม Think Tanks ด้วยกัน ทั้งนี้ รองฯ สราวุฒิ ได้แจ้งว่าได้มีการประชุมทีม HL กับศูนย์สื่อสารฯ โดยจะบูรณาการข้อมูลระหว่าง 2 ส่วน จาก RRHL กับที่อนามัยโพลชี้เป้า จะนำมาจัดการให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างไร โดยมี 2 ส่วน คือ 1) การ Operation 2) การกำกับ ติดตาม ประเมินผล โดยใช้ทีมผู้พิทักษ์อนามัย โดยสัปดาห์หน้าจะนำเสนอผลคืบหน้า |
ทีมสื่อสาร สำนักส่งเสริมสุขภาพ ทีมอนามัยโพล ศูนย์สื่อสารฯ + HL |
| |||
3.4 รายงานความก้าวหน้าของทีม Operation/ Logistic (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) ที่ประขุม รับทราบ ข้อสังเกต การที่ ศปก. Swab ตรวจเชื้อแบคทีเรียเป็นสิ่งดีมาก แต่ต้องคำนึงว่าการพบแบคทีเรียแสดงถึงมีการปนเปื้อน แต่เนื่องจากไวรัสจะอยู่ได้ต้องอาศัยในสิ่งมีชีวิต การที่จะ Imply ผลที่พบแบคทีเรียถึงไวรัสนั้น ต้องเอา Swab นั้นมาทำ PCR ต่ออีก เพื่อดูว่าการที่พบแบคทีเรียทำให้มีโอกาสน่าจะเป็นที่จะพบไวรัสด้วยหรือไม่ เท่าไร เพราะการที่พบอาจเป็นซากไวรัสที่ตายแล้ว ซึ่งไม่มีความสามารถทำให้ติดโรคได้ ข้อสั่งการ - ให้ กผ. สล. สว. กค. ดูแลในส่วนของกรมฯ ส่วนกลางที่ไปสนับสนุนการดำเนินการของ รพ.นิมิบุตรและบุษราคัม ตามภารกิจของกรม (เท่านั้น) โดยอย่าให้การสนับสนุนขาดตอน เพราะจะกระทบต่อการทำงานของเขารวมถึงภาพลักษณ์ของกรมเราด้วย แต่ถ้าการขอสิ่งสนับสนุนนั้นไม่ได้อยู่ในภารกิจของกรมก็ไม่สามารถให้การสนับสนุนได้ เว้นแต่มีผู้บริจาคเข้ามาที่กรมฯ ดังนั้น หากไม่มีสิ่งของที่จะสนับสนุนให้ได้แล้วต้องแจ้งให้ทั้งสองแห่งทราบ นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดสถานพยาบาลลักษณะนี้เพิ่มขึ้นอีก การช่วยกลุ่มเปราะบาง Setting ต่างๆ ที่เป็นภาคีเครือข่าย ให้ สล. สว. กผ. ดูแลการจัดวัสดุอุปกรณ์จากงบกลางเดิมและที่ได้ใหม่อย่าให้ขาดช่วง รวมถึงการลงพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการทำงานของพื้นที่ช่วง มิ.ย. – ก.ค.นี้ ให้ประสานพื้นที่ภูมิภาคที่ต้องจัดหาของให้เตรียมแผนและกระบวนการจัดหาด้วย ที่สำคัญต้องทำฐานข้อมูลกลางไว้ที่กรมฯ ด้วย เพื่อจะได้รู้ว่าของอยู่ที่ไหนบ้าง ที่ไหนขาดเหลือจะได้ดึงมาทดแทนกันได้ทันที | ศปก. / สว. กผ. สล. สว. กค. |
| รับทราบ รับไปดำเนินการ Logistic ได้ดำเนินการจัดทำแผนและจัดซื้อเวชภัณฑ์เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุน รพ.สนามอาคารนิมิบุตร/รพ.บุษราคัม และประสาน ศอ.4 ในการเปิด รพ.สนามสี่มุมเมือง จำนวน 800 เตียง | ||
4.1 - 4.2 รายงานการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ COVID – 19 ของ ศอ.2 และ ศอ.12 (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) ที่ประขุม รับทราบ ข้อสั่งการ 1. เนื่องจาก ศอ. ไม่ใช่หน่วยหลักในการให้บริการวัคซีน ดังนั้น ให้รับกลุ่ม Walk in (เชื่อว่าประชาชนจะ Walk in มาที่เรามากกว่า เพราะไม่ต้องรอนาน) 2. หากได้รับอนุญาตให้บริการฉีดวัคซีนได้ ให้ดำเนินการฉีดให้เครือข่ายหน่วยงานในพื้นที่ เช่น ให้ ศธ.ที่ทำงานให้เรา โดยให้ทำ Walk in เข้ามา จะได้เครือข่ายที่ช่วยกัน เราช่วยเขา – เขาช่วยเรา 3. ให้ทำ Group Vaccine มาเป็นกลุ่มองค์กร สถานประกอบการ เครือข่ายชมรมผู้ประกอบการต่างๆ 4. การทำอนามัยโพลเพื่อไม่ให้ซ้ำซาก ประชาชนเบื่อตอบ ตามที่ศอ.เสนอให้มีการประสานกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลางสายบน สั่งการลงไปพื้นที่นั้น เมื่อเขาทำแล้วจะต้องมีการคืนข้อมูลให้เขาด้วย และต้องมีการติดตาม ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องที่รับคำสั่งไปทำ และต้องช่วยสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานเขาด้วย 5. การประเมิน Thai Save Thai ตัวแบบประเมิน ให้ รองบัญชา รวมหมอระบาดมาคุย VDO Conference กัน 6. ให้ทีมเลขารวบรวม ประมวล ข้อมูล ปัญหา ข้อเสนอแนะจากทุก ศอ. แยกกลุ่ม ประเภท การดำเนินการแก้ไข อันไหนทำได้ทำเลย อันไหนที่ต้องมอบให้ใคร หรือต้องปรับระบบอะไร ให้รายงานมา |
ศอ.ทุกเขต (เว้น ศอ.8) รองฯ บัญชา ทีมเลขา | - | - | รับทราบ | |
5.1 เป้าหมายการลงทะเบียน Thai Stop Covid Plus (รายละเอียดขอให้ศึกษาจากเอกสารการประชุมที่แจ้งเวียนในกลุ่มไลน์ “ทีม SEhRT”) ที่ประชุม มีข้อคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ ข้อสั่งการ 1. ต้องตรวจสอบจำนวนที่มีอยู่จริงของทุก Setting ก่อนปรับปรุงข้อมูลจำนวนให้เป็นปัจจุบัน แล้วนำมากำหนด Priority ว่าใครจะเป็นกลุ่มหลัก จะทำประเภทไหนก่อน แล้วจึงค่อยมากำหนดเป้าหมาย 2. ให้ ศอ. นำเข้าข้อมูลในระบบ TSC ให้ได้ก่อน ถือเป็นโอกาสในการทบทวนจำนวน Setting เป็นการสำมะโนและหาโอกาสในการทำงานร่วมกับเครือข่าย ศอ. ต้อง Contact กับ 5 เสือของจังหวัดให้ได้ 3. เป้าหมาย - โรงเรียน ต้องให้ได้เป้าหมายตามจำนวนที่มีอยู่จริง (อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 80% ถึงจะยอมรับได้ เพราะเรามีความร่วมมือที่ดีต่อกันอยู่แล้ว) โดยเฉพาะโรงเรียนที่เสี่ยงสูง เช่น ร.ร.มัธยม ร.ร.ในเมือง - สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ทำหนังสืออ้างอิงหน่วยงานภาพใหญ่และเจาะไปที่จุดเลยซึ่งมี 2 ส่วน คือ จากส่วนกลาง จากศูนย์อนามัยด้วย และจากจังหวัดด้วย - ตลาดประเภทที่ 1 ต้องครบ 100% ที่ไหนมีปัญหาให้ทำหนังสือขึ้นมา เพราะอยู่ภายใต้กฎหมาย สธ. - ห้างสรรพสินค้า = 100% ส่วนใหญ่อยู่ในเมือง มี Chain ดังนั้นกำหนดให้ทุกห้างต้องทำ ห้างใดทำให้ทำข่าวประชาสัมพันธ์ให้ว่ามีการประเมินความเสี่ยงแล้วผ่านจึงสามารถดำเนินการได้ ส่วนที่ไม่ทำการประเมินเราไม่สามารถบอกได้ว่าเขาไม่มีความเสี่ยงจะทำให้เขาอยู่เฉยไม่ได้ โดยให้ทำหนังสือลงไปก่อน - ร้านสะดวกซื้อ = 100% ให้เชิญบริษัท เช่น CP, Family Mart ฯลฯ ใครไม่มาเราจะชี้ว่ามีความเสี่ยง เพราะถือว่าเราไม่มีข้อมูล - ขนส่ง =100% เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐกำกับทั้งหมด - ท่องเที่ยว เป้าหมายตามที่กำหนดไว้ - MICE เป้าหมายตามที่กำหนดไว้ - ร้านอาหาร ตามกฎหมายต้อง กำหนด 100% ไว้ก่อนแล้วค่อยทอนเป็นเป้า จะได้รู้ความครอบคลุมการลงทะเบียน - ศาสนสถาน ตอนนี้ความเสี่ยงยังไม่สูงมากให้ไปดูตามความเป็นจริงแล้วค่อยจัด Priority ว่าเลือกตรงไหน แล้วค่อยมากำหนดเป้าใหม่ ซึ่งจะคล้ายสถานประกอบการ ส่วนสถานที่ดูแลผู้สูงอายุ ให้ไปดูตัวเลขมาใหม่ รวมถึง Setting ที่เหลือ ทั้งหมดนี้ให้ไปทำการบ้านมาใหม่ | ทุกศูนย์อนามัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | - | - | รับทราบ | |
เรื่องอื่นๆ 6.1 ผอ. กองประเมินฯ เสนอรายงานผลการประชุมหารือเรื่อง แนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูล CCTV วิเคราะห์การสวมหน้ากากด้วย AI-Masks ร่วมกับอาจารย์ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็น Pilot Study เล็กๆ โดยจะขอข้อมูลจากกล้อง CCTV ที่เป็นตัวแทนภาค โดยภาคเหนือรอประสานกับ ศอ.1 ภาคอีสานใช้ของ ศอ.7 ภาคกลางใช้ของกรมอนามัย โดยสัปดาห์นี้เป็นการประสานงานและเตรียมแผนดำเนินการ สัปดาห์หน้าจะเริ่มเก็บข้อมูลวันที่ 24 พ.ค. เป็นเวลา 5 วัน โดยเก็บ 2 ช่วงละ 1 ชั่วโมง คือ ช่วงเช้า (8.00 – 9.00 น.) และช่วงเย็น (16.30 – 17.30 น.) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แลกเปลี่ยนกัน (โดยคำนึงถึงการไม่ละเมิดสิทธิ์ต่างๆ) ที่ประขุม รับทราบ | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ | - | - | รับทราบ | |
6.2 สำนักโภชนาการรายงานเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้ไป Advocate และเชื่อมโยงหวานน้อย โดยเครือข่ายหวานน้อยได้เข้าร่วมรณรงค์การฉีดวัคซีนแล้ว ส่วนกินเหลือ อยู่ระหว่างกำลังดำเนินการ ที่ประขุม รับทราบ | สำนักโภชนาการ | - | - | รับทราบ | |
6.3 งบประมาณเพิ่มเติมในการขอจัดสรรงบ พรก.เงินกู้ ข้อสั่งการ 1) การเปิดให้บริการฉีดวัคซีน รัฐจะไม่ได้รับการสนับสนุนค่าฉีด 20 บาท (ให้เฉพาะ รพ.เอกชน) เนื่องจากรัฐจะได้จากงบกลางและจากเงินกู้ ดังนั้นให้กองแผนของบฯ ลงทุนและดำเนินการให้ทุกศูนย์ (เว้น ศอ. 8) ในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ เวชภัณฑ์ PPE 2) ให้ขอเงินให้ ศอ. เพื่อ Subsidize ในเรื่อง ค่าตอบแทน/ค่าเสี่ยงภัยแก่บุคลากรที่ไปปฏิบัติงาน ดังนั้นให้ กจ. และรองฯที่ดูแล ศึกษานิยามให้ดี และศึกษาถึงข้อมูลความคุ้มครองตาม ม.41 และ ม.42 ของสำนักงานหลักประกันฯ รวมถึงระเบียบของ สป.สธ. กรณีได้รับผลกระทบ (ติดเชื้อ) จากการปฏิบัติงาน ซึ่งในส่วนของงานบริการเราไม่มีปัญหาแล้ว | กองแผนงาน กจ. และรองฯ ที่ดูแล | ||||
1. ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี รายงานสถานการณ์ COVID – 19 เขตสุขภาพที่ 8 โดยมีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามที่เพียงพอ และมีการตรวจประเมินตามมาตรฐาน 8 ด้านของ LQ AQ OQ HQ ตรวจคลอรีนในน้ำ โคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร จัดทำคู่มือตรวจประเมิน สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทำความสะอาด ตรวจล้างตลาด สนับสนุนบุคลากรฉีดวัคซีน จัดกิจกรรมสร้างสุขภาพ และสื่อสารการใช้ TSC และ Anamai Poll นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์มูลฝอยติดเชื้อและให้ข้อเสนอแนะในเขต และคืนข้อมูลให้เขต/จังหวัด - ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา รายงานสถานการณ์ COVID – 19 เขตสุขภาพที่ 9 โดยมีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามที่เพียงพอ โดยมีการบูรณาการงานป้องกันการแพร่เชื้อร่วมกับเขต พื้นที่ และเครือข่าย ในรูปแบบคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เน้นการสร้างความรอบรู้ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ สนับสนุนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ประชาสัมพันธ์ TSC TST ก้าวท้าใจ ประเมิน เฝ้าระวังกลุ่มเปราะบาง ให้ข้อเสนอแนะ และเตรียมความพร้อมเมื่อพื้นที่ร้องขอ ทั้งนี้ ยังมีการร่วมบริการฉีดวัคซีน ประธานเน้นย้ำ ให้ส่วนกลางเร่งสร้างกลไกการสื่อสารเครื่องมือของกรมอนามัยโดยจัดทำหนังสือเสนอเป็นข้อสั่งการ บูรณาการ ประสานงาน โดยให้ผ่านเวที PHEOC กระทรวงสาธารณสุข ศปก. ศบค. หรือการ MOU ในรูปแบบต่าง ๆ และเมื่อเป็นมติหรือข้อสั่งการจากกระทรวงแล้ว ให้ทีมเลขานุการ รองอธิบดีกรมอนามัย สำนัก/กองส่วนกลาง ศูนย์อนามัย ผู้รับผิดชอบแต่ละประเด็นเร่งการขับเคลื่อนทำหนังสือสื่อสารไปยังเขตสุขภาพ/จังหวัดต่อไป | ทีมเลขานุการ รองอธิบดีกรมอนามัย สำนัก/กองส่วนกลาง ศูนย์อนามัย |
| |||
2. ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 23 ประเด็น มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน ในร้านจำหน่ายอาหารหรือ เครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหาร และเครื่องดื่มในร้าน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ โดยจำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้านได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนที่นั่งปกติ ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีมาตรการคัดกรองผู้เกี่ยวข้อง การจัดระเบียบผู้เข้าใช้บริการ และการเว้นระยะห่างตามคำแนะนำและมาตรการที่ทางราชการกำหนด ที่ประชุมมีการอภิปรายเพื่อให้เข้าใจตรงกันระหว่างกรมอนามัย ประชาชน และร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม สรุปว่า จำกัดจำนวนผู้นั่งบริโภคในร้านได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนที่นั่งปกติ นั้น ทุกกรณี ทุกความสัมพันธภาพของผู้มาใช้บริการ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการเว้นระยะห่าง และไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนที่นั่งปกติ ซึ่งสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ต้องเร่งการสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข เร่งจัดทำหนังสือราชการถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สมาคมภัตตาคาร ร้านอาหาร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าใจข้อกำหนดและบทลงโทษหากไม่ดำเนินการตามมาตรการ | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข |
| |||
3.การฉีดวัคซีน COVID – 19 ประธานให้ศูนย์อนามัย สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ดำเนินการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเป้าหมายและสนับสนุนพื้นที่ เครือข่ายที่แจ้งความต้องการวัคซีน เพื่อเป็นการผ่อนคลายการใช้ชีวิต และลดความเสี่ยงการติดเชื้อ | ศูนย์อนามัย 1 – 12 สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง |
| |||
1.1 จากสถานการณ์การติดเชื้อในสถานประกอบการไปสู่ครอบครัว ได้มีการหารือภาคีเครือข่ายโดยกลุ่มวัยทางานแล้วนั้น ให้จัดทารายละเอียดนาเสนอใน ศปก.ศบค. เพื่อให้ที่ประชุมเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทาหนังสือแนบรายละเอียดจัดส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ศูนย์อนามัยและสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองสามารถทางานในพื้นที่และจังหวัดได้ง่ายขึ้น 1.2 ขอให้ประมวลประเด็นที่มีความจาเพาะ ปัญหาพื้นที่ ตามข้อเสนอแนะที่มีต่อกอง/สานัก/กรม ให้ทาหนังสือสั่งการมอบหน่วยงานส่วนกลางเป็นเจ้าภาพในประแต่ละประเด็นนั้นโดยบูรณาการหน่วยงานอื่น แล้วปรับตามข้อเสนอจัดทาเป็นแนวทาง แนวปฏิบัติเพื่อให้ศูนย์อนามัยได้ดาเนินการตามความเหมาะสมตามพื้นที่หรือเหมาะสมตามสถานการณ์ 1.3 ถอดบทเรียนดาเนินการ Good Factory Practice ของสถานประกอบการ จังหวัดสมุทรสาคร ในสถานการณ์โควิด-19 โดยจัดทาเป็นหนังสือ และ Info graphic เพื่อให้หลายหน่วยงานร่วมทางาน | สานักส่งเสริมสุขภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คลัสเตอร์วัยทำงาน
|
| |||
1.4 ให้ศูนย์อนามัยทุกแห่งและสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองสนับสนุนและเปิดให้บริการจุดฉีดวัคซีนตามแผนงานเขตสุขภาพและจังหวัด ตามสถานที่ตั้งของศูนย์อนามัย โดยเน้น 4 มิติ o ฉีดบุคลากรหน่วยงานและบุคคลใกล้ชิดและคนในครอบครัว o การฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ o ให้ประสานช่วยเหลือภาคีเครือข่าย จัดกลุ่ม setting เข่น กลุ่มร้านอาหาร ตลาด ฯลฯ บริการฉีดวัคซีน เพื่อเป็นเครื่องมือในการให้เข้าลงทะเบียน Thai Stop Covid และเป็นแรงจูงใจในการทางานร่วมกับกรมอนามัย o เป้าหมายการฉีดวัคซีนภาคีเครือข่ายทั้งส่วนกลางและภูมิภาค คือฉีดให้มากที่สุด ทาให้ความสัมพันธ์กับภาคีเครือข่ายกระชับขึ้นและงานบรรลุเป้าหมาย 1.5 ศูนย์สื่อสารสาธารณะให้สื่อสารในประเด็นกรมอนามัยปรับงานบริการให้เป็นการสนับสนุนต่อการฉีดวัคซีนเพื่อให้ประชาชนโดยรอบหรือภาคีเครือข่ายได้รับทราบ สาหรับภายในกรมอนามัยต้องสร้างกระแสการฉีดวัคซีนให้เป็นเรื่องผลประโยชน์ต่อสังคมไม่ใช่บุคคล | ศูนย์อนามัยทุกแห่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง
|
|
| ||
2. จากการนำมาตรการร้านอาหารเข้าศปก.ศบค.เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ขอให้สรุปประเด็นมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันให้ลงทะเบียนใน Thai Stop Covid โดยพิจารณาแยกอะไรก่อนหลัง ที่สำคัญคือ 1) ตลาด 2) ร้านอาหาร 3) สถานประกอบการ 4)โรงเรียน 5) ครอบครัว(กลุ่มเปราะบาง ใช้มติ ศปก.ศบค.เป็นโอกาสในการทำงาน แจ้งทางพื้นที่รับผิดชอบ ต้องนำมติมาขับเคลื่อนต่อให้เกิดประโยชน์) | กองแผนงาน | ||||
3. เรื่องการใช้ AI ติดตามการสวมหน้ากาก AI Mask กองประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ ประธานเห็นชอบในหลักการ มีข้อเสนอแนะและ ข้อสั่งการ ดังนี้ 3.1 ควรพิจารณา 1) เรื่อง Privacy และ 2) เรื่องเทคนิคและประโยชน์ที่จะได้รับ 3.2 ให้ใช้กล้องของกระทรวงสาธารณสุข(จุดรอยต่อกรมกับสำนักงานปลัดกระทรวง) และภาคละ 1 แห่ง โดยพิจารณาจานวนคนที่เดินไป จำนวนมาก แล้วค่อยขยายไป setting เสี่ยง เช่น ตลาด ฯลฯ | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ||||
4.1 STAG วิเคราะห์สถานการณ์ในรอบ 3 เดือน 6 เดือน 9 - 12 เดือนในมิติการควบคุมโรค คุมเข้มมากในบางพื้นที่ คุมเข้มกลาง และระดับปกติ การผ่อนกิจการตาม setting วิถีชีวิต มิติการควบคุมโรค มิติการป้องกันและการใช้โอกาสผลักดันงานกรมอนามัยที่ชัดเจน 4.2 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม Operation และ Logistic ปฏิบัติงานที่ศูนย์นิมิตบุตรและโรงพยาบาลบุษราคัม ด้านขยะ สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย สิ่งของสนับสนุนจากกรมอนามัย ยังต้องติดตามการดำเนินงานต่อให้พื้นที่อื่น นำไปประยุกต์ใช้มี Gap สำหรับส่วนกลางและศูนย์ | STAG
|
| |||
1.สรุปสถานการณ์ COVID -19 จำนวนผู้ป่วยวันนี้ 2,073 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 183 ราย รวม 2,256 ราย มีจำนวนผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมทั้งสิ้น 96,050 ราย มาจากต่างประเทศ 3,437 ราย ติดเชื้อในประเทศ 92,613 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่มในวันนี้ 30 โดยพบผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง มีแนวโน้มทรงตัว ทั้งกรุงเทพฯ รวมปริมณฑล และต่างจังหวัด | รับทราบ | หน่วยงานรับทราบ | |||
2.Anamai Poll - ประเด็นการฉีดวัคซีนและการประเมิน Thai Save Thai กระทรวงศึกษาธิการได้มีการนำข้อเสนอในการประชุม EOC แล้ว ดังนี้ (1) ให้ บุคลากรทางการศึกษา/ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ประเมิน Thai Save Thai โดยจะนำเสนอข้อมูลในครั้งหน้า (2) ให้บุคลากรทางการศึกษา/ครู ได้รับการฉีดวัคซีน (3) ให้บุคลากรทางการศึกษา/ครู ได้รับการตรวจ COVID -19 แบบ Rapid test | รับทราบ | หน่วยงานรับทราบ | |||
3.รายงานความก้าวหน้าทีม Operation และ Logistic มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ - ให้มีการเตรียมความพร้อมของทีม Operation เพื่อจัดเวรปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสนามบุษราคัม โดยเริ่มจากสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม แล้วจัดทีม นักวิชาการจาก สำนัก/กอง อื่นๆ หมุนเวียนกัน เพื่อปฏิบัติงานในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันที่ รพ.สนาม - ให้กองแผนงานประสานกองคลังในการโอนงบประมาณไปยังสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ทั้งนี้ กองคลังได้ดำเนินการเสนอขออนุมัติกรมแล้ว | ทีม Operation กองแผน / กองคลัง สสม. / สว. |
หน่วยงานรับทราบ
กองแผนงานรับทราบและดำเนินการแล้ว | |||
4.รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานศูนย์อนามัยที่ 4 มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ - ขอให้จัดทำหนังสือมอบเป้าหมายจำนวน Setting หลัก ลงใน Thai Stop Covid Plus ให้กับศูนย์อนามัยทุกแห่งขับเคลื่อนในเชิงปริมาณ โดยพิจารณา Settingหลักที่เร่งด่วนก่อน เช่น ตลาด ร้านอาหาร โรงเรียน เป็นต้น เลือกการกำหนดเป้าหมายในเป้าหมาย เช่น ตลาดประเภท 1 ร้านอาหารที่ผ่านการอบรม) และจะดำเนินการติดตามจากเป้าหมายที่กำหนดให้กำหนด - มอบศูนย์อนามัยทุกแห่ง ผลักดันและขับเคลื่อน Thai Stop Covid Plus ตามเป้าหมาย Setting หลักที่ได้รับมอบหมาย หากมีอุปสรรคการดำเนินงานขอให้รายงานให้กรมทราบ - ขอให้นำเสนอความก้าวหน้าโครงสร้าง Thai Stop Covid Unit พร้อมทั้ง บุคลากร งบประมาณ ในที่ประขุม EOC กรมต่อไป - จากข้อเสนอของศูนย์อนามัยที่ 4 มอบให้สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมพัฒนาการเฝ้าระวังอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์ความรู้ในประเด็นใหม่ พร้อมทั้งการพัฒนาบุคลากร และการขับเคลื่อนนโยบายผ่านหน่วยงานอุตสาหกรรม - ปรับแนวทาง มาตรการใน Thai Stop Covid Plus ให้เป็นปัจจุบัน - ศูนย์อนามัยที่ 5 รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 |
กองแผนงาน/ทีมThai STOP Covid/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อนามัยทุกแห่ง
ทีม Thai Stop Covid/กองแผนงาน/ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี |
|
|
หน่วยงานรับทราบ และอยู่ระหว่างดำเนินการ
หน่วยงานรับทราบ
หน่วยงานรับทราบ และอยู่ระหว่างดำเนินการ
หน่วยงานรับทราบ
หน่วยงานรับทราบ หน่วยงานรับทราบ | |
1. จัดทำแนวทางคำแนะนำการฉีดวัคซีนของหญิงตั้งครรภ์ และนำเสนอในที่ที่ประชุม PHEOC กระทรวงสาธารณสขครั้งต่อไป | สำนักส่งเสริม | ||||
2. สื่อสารเน้นย้ำการสวมหน้ากากที่ถูกต้องและสวมตลอดเวลา ทั้งการสวมหน้ากากเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นในอาคารและเมื่อไปในที่สาธารณะเพื่อลดการแพร่เชื้อโรค ลดการเดินทางไปสถานที่เสี่ยงและไม่ปกปิดไทม์ไลน์ของตนเองหากตรวจว่าติดเชื้อ | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | ||||
3. รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานทีม Operation และ Logistics มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะดังนี้ 3.1 ปรับรูปแบบการรายงาน โดยกำหนดเป้าหมาย การดำเนินการตามเป้าหมาย และสิ่งที่ยังไม่ได้ดำเนินการ มาตรการแก้ไขปัญหา เน้นการดำเนินงานเพื่อเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นๆ นำไปใช้งานได้ทันที 3.2 จัดทำผังรายการวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในการขับเคลื่อนปฏิบัติการ และทำแผนคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อประเมินสถานการณ์ที่ควรเป็น มานำเสนอ |
ทีม Operation
ทีม Logistic |
|
| ||
4. รายงานความก้าวหน้าการสื่อสารสาธารณะ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 4.1 วิเคราะห์ Position การสื่อสารของกรมอนามัย และคู่แข่งขัน รวมทั้งคิดกลยุทธ์การสื่อสารที่น่าสนใจ 4.2 เป็นแกนหลักในการดูการสื่อสารภาพรวม สามารถนำเสนอให้เห็นช่องทางและจำนวนการสื่อสารของทุก Platform ดิจิทัลกรมอนามัย 4.3 เชื่อมโยงการสื่อสารร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกกรม เช่น รายการข่าวเช้าช่อง 3 ของสรยุทธ์ สุทัศนจินดา | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ / ทีม HL | ||||
5.รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน ศอ. 10 และ ศอ.11 มีข้อสั่งการและข้อเสนอแนะ ดังนี้ 5.1 คิดกลไกการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการของกรมอนามัยผ่านผู้ตรวจราชการและผู้ว่าราชการจังหวัด 5.2 แจ้งข้อมูลปัญหาเรื่องนโยบายและมาตรการของกรมอนามัยที่ไม่สามารถขับเคลื่อนในพื้นที่ได้ ให้รองบัญชารับทราบ 5.3 การนำเสนอของ ศอ. ที่เหลือ ให้นำเสนอตามกรอบที่กำหนด (ประเด็นขับเคลื่อนสำคัญ / ข้อเสนอแนะ / การสนับสนุนช่วยเหลือจากส่วนกลาง) เน้นสั้น กระชับ | กองแผนงาน ศอ.10 / ศอ.11 ศอ.1-9, ศอ.12 | ||||
1.จากนโยบายการฉีดวัคซีนแบบปูพรม (Mass vaccination) ขอให้เร่งพิจารณาจัดทำข้อเสนอเป้าหมายประชาชนในกลุ่มอาชีพเสี่ยง หรือกลุ่มคนในสถานประกอบการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภารกิจกรมอนามัยที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน เช่น เจ้าหน้าที่ในร้านอาหาร ตลาด เป็นต้น | นพ.ดนัย ธีวันดา สำนักส่งเสริมสุขภาพ และสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | ||||
2.จากผลการสำรวจ Anamai poll ให้มีการจัดทำข่าวแจกหรือการสื่อสารเรื่องการสวมหน้ากากสำหรับพื้นที่ชนบท มีปัจจัยเสี่ยงใดก่อให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้น เช่น พฤติกรรมการดื่มเหล้า เล่นพนัน เป็นต้น | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | ||||
3.เห็นชอบข้อเสนอของคณะทำงานปฏิบัติการ (Operation) เรื่องการขอรับการสนับสนุนกำลังคนเพื่อปฏิบัติภารกิจในการเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลสนามบุศราคัม ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 3 เมืองทองธานี ในวันที่ 13 - 14 พฤษภาคม 2564 นี้ โดยให้หน่วยดำเนินการระดมอาสาสมัครและบรรจุชุด DOH Personal Hygiene สำหรับผู้ป่วย พร้อมทั้งปรับเพิ่มจำนวนชุดและวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวให้เพียงพอต่อการใช้งานของผู้ป่วยอย่างน้อย 14 วัน | สำนักเลขานุการกรม และสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม | ||||
4.จากการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน Thai Stop COVID Plus เพื่อยกระดับสถานประกอบการประเภทโรงงาน มีมติและข้อสั่งการ ดังนี้ 4.1 ให้คำนึงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างกันและสัมพันธ์กับมาตรการและเศรษฐกิจที่จะขับเคลื่อนในแต่ละพื้นที่ด้วย 4.2 ขับเคลื่อนให้มีการนำไปใช้ (Implement) ได้จริง โดยให้จัดทำข้อเสนอประเด็นข้างต้นต่อการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์COVID – 19 (ศปก.ศบค.) ให้การรับรองต่อไป | สำนักส่งเสริมสุขภาพ กองแผนงาน | ||||
1. ขอให้ติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน ตามข้อสั่งการที่ยังไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ | Liaison | ||||
2. ขอให้วิเคราะห์ความเชื่อมโยงและแนวโน้ม (trend) ระหว่าง ผู้เสียชีวิต ผู้ป่วย และ setting โดยพิจารณาจากปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เช่น โรคประจำตัว เป็นกลุ่มวัยใด และเกี่ยวข้องกับ setting ใด เพื่อชี้เป้าเรื่องของพฤติกรรมของกลุ่มวัย และ intervention ที่เหมาะสม ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้วสื่อสารให้ประชาชนทราบ และติดตามผลการสื่อสารด้วย | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ | ||||
3.1 ขอให้จัดเตรียมรูปแบบ ทีม และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติการเก็บตัวอย่างน้ำเสียในแต่ละครั้ง และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติการเก็บตัวอย่างน้ำเสียของโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ นำเสนอในการประชุมครั้งถัดไป 3.2 ศึกษาระบบการดำเนินงานของศูนย์แรกรับและส่งต่อ เพื่อจัดทำ ข้อปฏิบัติ หรือ protocol รองรับศูนย์แรกรับและส่งต่อแบบชุมชน เพื่อวางบนแพลตฟอร์ม Thai Stop Covid Plus รวมถึงจัดทำแนวทางปฏิบัติในการจัดตั้งศูนย์แรกรับและส่งต่อ และงบประมาณ เพื่อให้ศูนย์อนามัยนำไปใช้ในพื้นที่ กรณีจำเป็นต้องเปิดศูนย์แรกรับและส่งต่อ นำเสนอในการประชุมครั้งถัดไป 3.3 เร่งดำเนินการจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการน้ำเสีย การจัดการ สิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยติดเชื้อ นำเสนอในการประชุมครั้งถัดไป | ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม |
| |||
4. ขอให้รายงานสถานการณ์ ผลการดำเนินงาน และบทบาทของศูนย์อนามัยที่จะขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ วันละ 2 ศูนย์ โดยครั้งแรกเป็นศูนย์อนามัยที่ 10 และ 11 ในวันพฤหัสบดีที่ 13 พ.ค.2564 | ศูนย์อนามัย | รับทราบ | |||
1.รายงานความก้าวหน้า Thai Stop COVID Plus มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 3.1 ให้พิจารณารายละเอียด ขมวดประเด็น เพื่อชี้มาตรการให้มีความชัดเจน รวมทั้งจัดทำข้อเสนอสำหรับเสนอให้ ศปก.ศบค. รับทราบและพิจารณาต่อไป 3.2 ให้หารือร่วมกับศูนย์อนามัย และ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ในการกำหนดกลยุทธ์ วิธีการ ที่จะทำให้ผู้ประกอบการ เข้ามาประเมินตนเองใน Thai Stop COVID Plus เพิ่มมากขึ้น และให้นำเสนอในการประชุม EOC กรมอนามัย ต่อไป 3.3 การเพิ่มสุ่มตัวอย่างตรวจน้ำเสียขอให้ดำเนินการได้เต็มที่ สำหรับในการประเมินตลาดขอให้แยกตลาดประเภทที่1 เพื่อให้สามารถประเมินความครอบคลุมในการดำเนินงาน ถ้าหากประเมินแล้วตลาดไม่ผ่านเกณฑ์ ก็เสนอให้จังหวัดสั่งปิดตลาดนั้น ถ้าจังหวัดจะเปิดตลาดจังหวัดก็ต้องรับผิดชอบเอง และการกำหนดมาตรการ แนวทาง ขอให้พิจารณามาตรการแนวทางของร้านอาหารให้มีความชัดเจนมากขึ้น |
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
ศูนย์อนามัยทุกแห่ง
นายแพทย์ดนัย ธีวันดา และผู้ทรงที่เกี่ยวข้อง/สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ |
|
รับทราบและดำเนินการจัดทำภาพรวมโดยทีมเลขาฯกำหนดรูปแบบและประเด็นในการประชุม conference ร่วมกันกำหนดวันประชุมช่วงสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้า
หน่วยงานรับทราบ อยู่ระหว่างการดำเนินการตามข้อสั่งการ | ||
2.รายงานความก้าวหน้า ทีม Operation มีข้อสั่งการ - ให้ประสานกับรพ.สนาม เมืองทองธานี ซึ่งคาดว่าจะมีการเปิดดำเนินการวันที่ 13 พ.ค.64 และจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเดินทางไปตรวจความเรียบร้อย ดังนั้นจึงขอให้มีการจัดทีมงานในการเข้าร่วมปฏิบัติการทุกครั้ง | ทีม Operation | รับทราบ ได้ดำเนินการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ในการลงพื้นที่และจัดเตรียมทีมแบ่งเป็น 2 ทีม คือ ทีมนิมิบุตรและทีมบุษราคัม | |||
3.การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในรพ.สนาม และ Hospitel จังหวัดเชียงใหม่ และการดำเนินงานในพื้นที่ รพ.สนามเฉพาะกิจศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่คือเพื่อสนับสนุนมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 - ให้ศูนย์อนามัยทุกแห่ง นำรูปแบบของศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ไปปรับใช้ตามสถานการณ์ | ศูนย์อนามัยทุกแห่ง | หน่วยงานรับทราบ | |||
4.เรื่องอื่นๆ - ขอให้คาดการณ์สถานการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค. - ก.ค.64 และกำหนดกลยุทธ์ มาตรการ และนำเสนอในการประชุม EOC กรมอนามัย ในสัปดาห์หน้า | ทีม STAG | รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการตามข้อสั่งการ | |||
1. เร่งดำเนินการวิเคราะห์และสรุปประเด็นมาตรการแนวทางสำหรับร้านอาหารในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคโควิด-19(COVID-19) | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | ||||
2. รายงานการดำเนินงานศูนย์ดูแลแม่และเด็กที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 2.1 รวบรวมและติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละศูนย์อนามัยเขต ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ 2.2 ขอให้นำระบบงานและการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19(COVID-19) ของศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ และเป็นต้นแบบในการดำเนินงานในพื้นที่ของศูนย์อนามัยอื่นต่อไป 2.3 ทุกศูนย์อนามัย ดำเนินการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 2.4 มอบสำนักส่งเสริมสุขภาพ รวบรวมและประมวลผลภาพรวมของประเทศ พร้อมรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะ - บริหารจัดการภายใต้ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก และขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่าน MCH Board - ประสานภาคีเครือข่ายในการจัดสัมมนา On Line (พุธที่ 12 พฤษภาคม 2564) เพื่อถอดบทเรียนและหาข้อสรุปในการดำเนินงาน มิติการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพและเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป |
ศูนย์อนามัยที่ 1-12 สสม. กองแผนงาน
สำนักส่งเสริมสุขภาพ
|
|
| ||
3. รายงานความก้าวหน้าทีม Operation ศูนย์แรกรับและส่งต่อ กระทรวงสาธารณสุข อาคารนิมิบุตร มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 3.1 ประเด็นการจัดการขยะ ส้วม สิ่งปฏิกูล และการทำความสะอาด ให้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์/สิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ พร้อมกำกับติดตามการดำเนินงานเป็นระยะๆ | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม / สสม. | ||||
4. 4.1 วิเคราะห์ คาดการณ์สถานการณ์ ความเสี่ยง และผลกระทบทางสุขภาพของกลุ่มวัยในช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ฯลฯ เพื่อกำหนดมาตรการในการขับเคลื่อนงานภารกิจกรมอนามัย ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ | STAG ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ||||
1.1 พิจารณาผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายของคนทำงานใน setting ต่างๆ ที่เดินทางไปต่างจังหวัด ซึ่งมีโอกาสนำเชื้อไปติดในพื้นที่ภูมิภาคและเมื่อกลับมาทำงานมีโอกาสนำเชื้อกลับมาติดในที่ทำงาน 1.2 สถานการณ์ระบาดขณะนี้ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบคือ กลุ่มเปราะบางในกลุ่มวัยต่างๆ และเป็นพื้นที่ชุมชนแออัด ดังนั้นการจัดการจึงยุ่งยาก มอบ STAG พิจารณาศึกษาและประสานกับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น | STAG | ||||
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมการตั้งรพ.สนาม(บุษราคัม) ที่เมืองทองธานี เนื่องจากคาดว่าในการดำเนินการตรวจเชิงรุกชุมชนแออัดในกทม.จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ในขณะที่รพ.มีปัญหาในการรองรับผู้ป่วยระดับสีเหลืองและสีแดง จำเป็นต้องผ่องถ่ายผู้ป่วยระดับเหลืองออกจากรพ.ขนาดใหญ่และโรงเรียนแพทย์ จึงต้องเร่งรัดให้ สธ.เร่งดำเนินการ | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม , ศอ.4 | ||||
3.1 เนื่องจากการมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบมีหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องดูแลอยู่แล้ว ในส่วนที่กรมฯ ทำเป็นสิ่งแสดงน้ำใจในการดูแลสุขภาพของกลุ่มวัยเท่าที่จะช่วยได้ ดังนั้นให้เร่งรวบรวมสิ่งของและดำเนินการจัดมอบของตามกลุ่มวัย 3.2 เนื่องจากสถานการณ์ระบาดที่เพิ่มขึ้นในชุมชนของกทม.ซึ่งมีผู้สูงอายุได้รับผลกระทบอย่างมาก จึงให้สำนักอนามัยผู้สูงอายุซึ่งดูแลกลุ่มวัยสูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง และ CM+CG ทำการวิเคราะห์และชี้ประเด็นที่กรมจะต้องพิจารณาและตัดสินใจดำเนินการ โดยให้นำเสนอรายงานต่อที่ประชุมในสัปดาห์นี้หรือภายในสัปดาห์หน้า | Logistic
| ||||
4. ติดตามเฝ้าระวังความเครียดของบุคลากรกรมอนามัยเป็นระยะ และดูแลขวัญกำลังใจโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งที่เป็นผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสี่ยงสูง | กองการเจ้าหน้าที่ | ||||
5.1 ให้ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ TSC และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางระบาดวิทยาที่นำสู่การไปชี้นำให้คมขึ้น เช่น การที่ร้านไม่เข้ามาประเมิน ร้านที่ประเมินแล้วไม่ผ่าน มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ สิ่งที่ต้องชี้นำด้วยคือ พื้นที่ที่เสี่ยง จำนวนร้านเมื่อเทียบกับการเข้ามาประเมิน ชี้นำให้คนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต้องเข้ามาดำเนินการ | สอน. | ||||
1. สรุปข้อสั่งการจากประชุม EOC กรมอนามัย ในประเด็นสำคัญ | รับทราบ | รับทราบ | |||
2. สรุปสถานการณ์โควิด – 19 จาก PHEOC กระทรวง จำนวนผู้ป่วยวันนี้ 2,044 ราย และมีข้อสั่งการจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้ – ให้กรมการแพทย์ประชุมหารือเตรียมแผนเพิ่มเตียงระดับ 3 ร่วมกับ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผู้บริหารโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน และโรงพยาบาลบุษราคัม – ให้ผู้ตรวจราชการพิจารณาควบคุม กำกับ ติดตามให้สานักงานสาธารณสุขจังหวัดรับสืบหาสาเหตุ กรณีมีผู้สงสัยว่าการเสียชีวิตมาจากการฉีดวัคซีนโควิด – ให้ผู้ตรวจราชการที่รับผิดชอบเขตกรุงเทพมหานครประสานความร่วมมือกับทีมบริหารของกรุงเทพมหานครเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขเข้าช่วยปฏิบัติการเพื่อการป้องกันและลดการแพร่ระบาดเชื้อโควิด – 19 ในกรุงเทพมหานคร และค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยงให้เร็วที่สุด ที่ประชุม EOC กรมอนามัย ขอให้วิเคราะห์ข้อมูลเชิง Out Put เปรียบเทียบการใช้ Thai Stop Covid Plus ในสถานประกอบการโรงงานระหว่างสมุทรสาคร กับสมุทรปราการกับผลของการระบาดโควิด – 19 นำเสนอที่ประชุม ศบค.ต่อไป | รับทราบ คลัสเตอร์วัยทำงาน สำนักส่งเสริมสุขภาพ |
|
| ||
3. จากผลการสำรวจอนามัยโพล ประเด็นร้อยละการสวมหน้ากากของประชาชนภาพรวมและเมื่อไปใช้บริการขนส่งสาธารณะ (17 เม.ย.– 7 พ.ค.64) จึงเสนอให้วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการสำรวจการสวมหน้ากากก่อนและหลังจังหวัดประกาศมาตรการสวมหน้ากาก 100% เพื่อดูแนวโน้ม และเน้นย้ำให้มีการสื่อสารการป้องกันตนเองเมื่อใช้บริการขนส่งสาธารณะ | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ศูนย์สื่อสารสาธารณะ | รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | |||
4. ความก้าวหน้ากล่อง Operation พบปัญหา การเกิดฝ้าที่แว่นตาของกลุ่มแม่บ้านทำความสะอาดที่สวมหน้ากากและแว่นขณะทำงาน ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ จึงแนะนำการแก้ไขโดย 1) ล้างแว่นตาด้วยสบู่ ช่วยลดการเกาะของไอน้ำ 2) พับขอบหน้ากากอนามัยบริเวณโครงลวดตรงดั้งจมูกเข้าด้านในและกดให้แนบสนิทกับหน้า จากนั้นค่อยสวมแว่นตาทับหน้ากากอนามัย | รับทราบ | รับทราบ | |||
5. ความก้าวหน้ากล่อง Logistic โดยกองแผนงานได้ประสานกับสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมให้จัดทำแผนผังการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ให้ศูนย์อนามัยดำเนินการสนับสนุนในโรงพยาบาลสนามต่างๆ | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม | ||||
6. การมีเพศสัมพันธ์ในสถานการณ์การระบาดเชื้อโควิด – 19 โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ได้บูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายจัดทำเนื้อหา “คำแนะนาการมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างสามีภรรยา/คู่รัก เพื่อการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อโควิด – 19” ซึ่งจะสื่อสารเผยแพร่โดยภาคีเครือข่าย ที่ประชุมให้มีการปรับถ้อยคำที่สื่อเข้าใจง่าย และใส่หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อเพื่อสอบถามเพิ่มเติมในเวลาราชการ พร้อมทั้งให้สื่อเรื่อง ไม่มีผลกระทบต่อเด็กในท้องที่เกิดจากการตั้งครรภ์ในสถานการณ์โควิด – 19 แต่ให้ดูแลสุขภาพและสังเกตอาการควบคู่ไปด้วย | สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ | ||||
7. การยกระดับความรอบรู้และการสื่อสารสุขภาพในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด – 19 ซึ่งที่ประชุมให้มีการปรับข้อเสนอ เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาเห็นชอบตามข้อเสนอ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนในทุกภาคส่วน | HL | ||||
8. เรื่องอื่นๆ ข้อสั่งการและแนวทางปฏิบัติงานช่วงวันหยุด 1. ขอให้นำประเด็นขยะติดเชื้อนำเสนอเชิงประเด็นในที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุข โดยต้อง Update ข้อมูล และพิจารณาว่าจะชี้ประเด็นอะไรให้ที่ประชุมเห็นชอบ เสนอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินการต่อ ผ่านคณะกรรมการต่างๆ ในพื้นที่ เช่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเผา เป็นต้น 2. ขอให้นำเรื่องการออกกำลังกาย โภชนาการ จัดเตรียมเป็น Package การส่งเสริมสุขภาพในการกักตัวอยู่ 14 วัน ในโรงพยาบาลสนาม รวมทั้งจัดเตรียมแนวทางปฏิบัติด้านเพศสัมพันธ์ต้องให้ชัดเจน 3. วันหยุดราชการ 3 วัน มอบ นพ.ดนัย ธีวันดา Standby และส่วนกลางมอบทีมสายสิ่งแวดล้อม สำหรับพื้นที่มอบศูนย์อนามัยในกรณีที่รัฐมนตรีลงพื้นที่ในงานที่เกี่ยวข้องกับกรมอนามัย และมอบสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำติดตามเรื่องเกี่ยวกับกฎกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงกับ Thai Stop Covid | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กองกิจกรรมทางกาย สำนักโภชนาการ สำนักส่งเสริมสุขภาพ สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ นพ.ดนัย ธีวันดา สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยทุกแห่ง สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | ||||
1. จากการรายงานอนามัยโพล ให้ข้อเสนอแนะดังนี้ 1.1 จุดประสงค์ของอนามัยโพล ใช้ในการวางแผนและการสื่อสาร ในการสื่อสารต้องจับประเด็นที่เป็นปัญหาหรือความสนใจของสังคมแล้วนำมาโยงกับมาตรการ แนวทางของกรมอนามัย 1.2 มอบให้คลัสเตอร์วัยทำงานจับประเด็นของกิจกรรมเสี่ยงของวัยทำงานในสถานประกอบการเพื่อนำมาสื่อสาร | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คลัสเตอร์วัยทำงาน | ||||
2. รายงานความก้าวหน้า Operation การบริหารจัดการศูนย์แรกรับและส่งต่อกระทรวงสาธารณสุข อาคารนิมิตรบุตรและโรงพยาบาลบุษราคัม(เมืองทองธานี) ข้อสั่งการ 1.ให้สำนักเลขานุการกรมและ Logistic จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม 2.การตรวจวิเคราะห์มอบศูนย์ห้องปฏิบัติการและดูแลการตรวจเฝ้าระวังน้ำเสีย โดยใช้งบกลาง 3.ศูนย์สื่อสารสาธารณะวางยุทธศาสตร์วางกลุ่มเป้าหมายสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนโดยรอบและพิจารณาแนวทางขั้นตอนการสื่อสารร่วมกับจังหวัดนนทบุรี 4.เห็นชอบสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ที่ดำเนินการจัดหาแม่บ้าน 4 คนต่อวัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป | สำนักงานเลขานุการกรม Logistic ศูนย์ห้องปฏิบัติการ ศูนย์สื่อสารสาธารณะ สำนักงานเลขานุการกรม กองแผนงาน กองคลัง | ||||
3. ความก้าวหน้า Logistic ที่ดำเนินการที่โรงพยาบาลบุษราคัม(เมืองทองธานี) ค่าใช้จ่ายเรื่องการทำความสะอาด การจัดการขยะ วัสดุอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ และวัสดุอุปกรณ์ป้องกัน มติที่ประชุม 1. เห็นชอบตามที่เสนอทั้งเรื่องมอบหมายงาน มอบหมายหน่วยงานและการจัดทรัพยากรตามที่เสนอรวมถึงงบประมาณ 2. ประสานเรื่องแม่บ้านให้ชัดเจน | สำนักงานเลขานุการกรม กองแผนงาน กองคลัง | ||||
4. คำแนะนำส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนามโดยมีคำแนะนำ ดังนี้ 4.1. ต้องแปลงจาก Health Need เป็น Patient Demand ของผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ ลงนำไปปฏิบัติจริงแล้วปรับระหว่างดำเนินงาน สำหรับการใช้เครื่องวัดออกซิเจนให้เป็นการคัดกรองเบื้องต้น ไม่ได้นำมาใช้ในการวินิจฉัย 4.2 สำหรับการดำเนินงานในโรงพยาบาลนอกสังกัดนอกกรมอนามัย ควรดำเนินการที่โรงพยาบาลสนามจังหวัดระยองหรือชลบุรี เป้าหมายเป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการ (สีเขียว) จัดทำPackage ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามแต่ละพื้นที่จะจัดสถานที่ให้ สามารถทำกิจกรรมหมู่ได้ ควรใช้หลักเว้นระยะห่าง ใช้เวลาไม่นาน สารคัดหลั่งไม่กระเด็น | คลัสเตอร์วัยทำงาน (สำนักส่งเสริมสุขภาพ) | ||||
5. ปันน้ำใจ/ปันสุขแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบางในชุมชน โดยตั้งตู้สนับสนุนที่โรงอาหารกรมอนามัย ข้อสั่งการ -พิจารณาเพิ่มช่องทางการช่วยเหลือในหลายรูปแบบ เช่น เสียงตามสาย หนังสือประชาสัมพันธ์ เดินประชาสัมพันธ์ รูปแบบดิจิทัล | สำนักงานเลขานุการกรม | ||||
6. รายงานความก้าวหน้างบกลาง โควิด-19 ข้อสั่งการ 6.1 ในรายการที่มีความชัดเจนให้เตรียมความพร้อม เตรียมเอกสารให้พร้อม รายการต้องชัดเจน เมื่อได้งบประมาณต้องพร้อมดำเนินงาน เช่น เตาเผาขยะติดเชื้อ การปรับปรุงอาคาร เป็นต้น 6.2 รายการวงเงิน 5 แสน ให้ศูนย์อนามัยประชุมเพื่อเขียนรายละเอียด Spec และราคาที่เหมาะสมไม่แตกต่างกันมาก โดยให้กองคลัง กองแผนงาน Stand by เมื่อมีคำถามในการเขียนรายละเอียด Spec 6.3 สำหรับวงเงินที่มีจำนวนมากมอบรองอธิบดีที่รับผิดชอบหน่วยงาน กองแผนงาน กองคลัง พิจารณาอย่างปราณีตเพื่อให้ได้งบประมาณตามเป้าหมาย | กองแผน กองคลัง ศูนย์อนามัยทุกแห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ||||
1. สรุปสถานการณ์ COVID -19 ซึ่งมีเหตุการณ์การระบาดในชุมชนแออัดขนาดใหญ่ เช่น ชุมชนคลองเตย มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ – ควรทำมาตรการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้มีการบริหารจัดการป้องกันการระบาดของ COVID – 19 ในชุมชนที่ยังไม่พบการระบาดของ COVID – 19 | รับทราบ | รับทราบ | |||
2. เห็นชอบ Anamai Poll ประเด็นแนวทางการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในการป้องกันโรค COVID – 19 มีข้อสั่งการ ดังนี้ 2.1 ศูนย์อนามัยรับไปดำเนินการต่อแนวทางแผนการดำเนินงาน Anamai Poll (General และ Sentinel) สนับสนุนและติดตามเครือข่ายเฝ้าระวังระดับจังหวัด นำข้อมูล Anamai Poll ไปใช้วิเคราะห์หรือนำไปใช้ประโยชน์ในระดับเขต | ศูนย์อนามัยทุกแห่ง | ||||
2.2 ขอให้หน่วยงานส่วนกลางนำข้อมูลจากผลสำรวจอนามัยโพลนำไปใช้วิเคราะห์ วางแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง 2.3 ขอให้มีการปรับเปลี่ยนประเด็นการแสดงความคิดเห็นหรือด้านพฤติกรรม สำหรับในกลุ่ม Sentinel เพื่อลดการ Bias ของข้อมูล 2.4 ควรนำผลอนามัยโพลที่ได้ในแต่ระยะๆ มาช่วยในการคาดการณ์ การพยากรณ์ การกระตุ้น เป้าหมายการดำเนินงาน 2.5 การดำเนินงานควรมีบุคลากรหลาย Gen และเครือข่ายที่มีหลายสาขา เพื่อให้ได้มุมมองหลายมิติ | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ | รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | |||
3. รายงานความก้าวหน้าทีม Operation และ Logistic มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 3.1 เร่งดำเนินการในการหาคนทำงานที่ศูนย์แรกรับและส่งต่อ ณ อาคารนิมิบุตร สำหรับที่ รพ.สนามบุษราคัม ชาเลนเจอร์เมืองทองธานี ให้เตรียมการระบบงานที่เป็นแนวทางปฏิบัติ ทรัพยากรโดยสำรองเผื่อขยายจำนวนเตียงของโรงพยาบาล กระบวนการในการจัดหาให้ดำเนินการได้เลย แล้วรายงานความคืบหน้าต่อไป 3.2 วางระบบงานที่เจ้าหน้าที่สามารควบคุมและปฏิบัติได้จริง โดยมี 2 ประเด็นประกอบการพิจารณา คือ 1) การป้องกันแพร่กระจายเชื้อ 2) การใช้ชีวิตจริง 3.3 ขอให้สำรวจข้อมูลระบบสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม และการจัดการใน รพ.สนาม นำมาเสนอต่อไป | นพ.ดนัย ธีวันดาสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมืองกองแผนงาน กองคลัง | นำเสนอในที่ประชุม EOC เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 64 | |||
4. รายงานความก้าวหน้า HL มีข้อเสนอแนะและข้อสั่งการ ดังนี้ 4.1 ให้จัดทำแผนการดำเนินงานโดยเพิ่มเป้าหมายและความท้าทายของการเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายใน Social media เช่น Facebook นำมาเสนอภายใน 1 สัปดาห์ | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ HL
| อยู่ระหว่างดำเนินการใน จะนำเสนอในสัปดาห์ต่อไป | |||
4.2 ปรับเปลี่ยนวิธีเล่าเรื่อง รูปแบบการสื่อสารให้น่าสนใจ และเชื่อมโยง Social Media ซึ่งกันและกันเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายจากแต่ละฐานของ Social Media ต่างๆ สร้างคนให้สามารถเล่นได้หลายบทบาท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่น่าสนใจเช่นเจ้าหน้าที่ใน รพ.สนาม 4.3 พิจารณารูปแบบสื่อในประเด็น Drama ประกอบด้วย Strategy Creativity Colorful | |||||
5. มาตรการในการจัดกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ในช่วงการระบาดของ Covid – 19 เห็นชอบในหลักการและดำเนินการได้เลย โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 5.1 ให้มีการปรับการใช้ถ้อยคำในการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมาย 5.2 ให้ปรับวิธีเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารในทางนโยบาย การสื่อสารสาธารณะ และผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจตรงกัน สามารเล่าได้อย่างเข้าใจและส่งต่อได้ทันที 5.3 ให้ดำเนินการที่ศูนย์อนามัยที่ 6 หรือ รพ.สนาม ที่ให้ความร่วมมือ | Cluster วัยทำงาน | ||||
1.1 การวิเคราะห์สาเหตุการตายในสถานการณ์โควิด-19 ให้ครอบคลุมมิติสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มวัยต่างๆ เพื่อนำไปใช้ขับเคลื่อนงาน | Cluster กลุ่มวัย | รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | |||
2. แนวทางใส่หน้ากากฯ ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามคำแนะนำและข้อเสนอของ ศบค. ชุดเล็ก ขอให้พิจารณาจัดทำเป็น Versionย่อย นำเอาไปประกอบด้านกฎหมายแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยเชิญศูนย์กฎหมายสาธารณสุขเข้าร่วมพิจารณาด้วย | กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพศูนย์กฎหมายสาธารณสุข | ||||
รายงานความก้าวหน้าทีม Operation และ Logistic | สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม /
กองแผนงาน ศอ. ทุกแห่ง | รับทราบ อยู่ระหว่างดำเนินการ | |||
รายงานความก้าวหน้ามาตรการป้องกัน COVID-19 ใน Food Delivery | สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำศูนย์สื่อสารสาธารณะ | ||||
เรื่องอื่นๆ |
สำนักส่งเสริมสุขภาพ /
ทีม Liaiason | ||||
1.สืบเนื่องจากการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฯ กระทรวงสาธารณสุข (PHEOC) เกี่ยวกับประเด็นผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งมีโรคประจำตัว : โรคออทิสติก ขอให้ประสานภาคีเครือข่าย เพื่อหา Solution ในการจัดทำมาตรการ/คำแนะนำเกี่ยวกับโรคออทิสติก ในสถานการณ์ระบาด COVID-19 | นพ.สมพงษ์ ชัยโอภานนท์ สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ | รับทราบ | |||
2.ติดตามความก้าวหน้าแนวปฏิบัติการใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า 1.1 ประเด็น (ร่าง) คำแนะนำการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในสถานที่สาธารณะ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมประเด็นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสวมหน้ากากแบบต่างๆและให้นำเสนอ ศบค. ชุดเล็ก ในวันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เห็นชอบในหลักการ เพื่อพิจารณามอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำคำแนะนำฯไปเป็นแนวทางในการควบคุมกำกับประชาชนสวมหน้ากาก | กองประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพ | หน่วยงานรับทราบ | |||
3.จากการเสนอผลการสำรวจอนามัยโพล มีข้อแนะนำและข้อเสนอ ดังนี้ 3.1 ให้เร่งดำเนินการ สื่อสาร Key Message สร้างความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อลดความรู้สึกกังวล และเข้าใจแนวทางปฏิบัติในการทำพิธีฌาปนกิจศพของผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 3.2 ให้นำเสนอการออกแบบการจัดทำอนามัยโพล การจัดทำคำถาม (โพลปกติ และ sentinel) โดยให้นำเสนอในวันพุธที่ 5 พฤษภาคม 64 | ศูนย์สื่อสารสาธารณะ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กองประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพ | รับทราบ ศส.ดำเนินการแล้ว รับทราบ กป. ดำเนินการแล้ว | |||
4.ประเด็นอื่นๆ 4.1 จากการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพปอดในผู้ติดเชื้อนั้น ขอให้หาเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพของปอดเพื่อเป็นการประเมินก่อนและหลังการจัดกิจกรรมนั้น 4.2 ขอให้มีการสื่อสารถ่ายทอดอารมณ์จากการได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในระยะเวลา 14 วันของผู้ติดเชื้อในรพ.สนาม รวมทั้งสื่อสารผลการวิจัยที่พบว่าการออกกำลังกายสำหรับคนที่ฉีดวัคซีนจะเพิ่มภูมิต้านทานมากขึ้น ให้ศูนย์สื่อรีบสื่อสาร | กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ
ศูนย์สื่อสารสาธารณะ/HL กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ |
|
| รับทราบ กองกิจฯ ดำเนินการแล้ว
รับทราบ ศส.ดำเนินการสื่อสารดังกล่าว เรียบร้อยแล้ว | |
5.ติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการ ในการประชุม EOC กรมอนามัย - คำแนะนำสำหรับประชาชนผู้ที่มีภาวะอ้วน ในสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 - การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ/สิ่งปฏิกูล ในสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 - ทบทวนมาตรการและแนวทางปฏิบัติสำหรับร้านอาหาร - กรอบการขับเคลื่อน HL ในภาพกระทรวงสาธารณสุข - การจัดการภาวะเครียด/ความวิตกกังวลของบุคลากรกรมอนามัย - แนวปฏิบัติการบริหารจัดการ Cohort Word / โรงพยาบาลสนาม - คำแนะนำ/แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและกิจกรรมทางกายของประชาชน ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด 19 ผ่านแพลตฟอร์มก้าวท้าใจ | ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง | หน่วยงานรับทรา | |||
1. ความก้าวหน้าแนวปฏิบัติการใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า 1.1 ประเด็น (ร่าง) คำแนะนำการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในสถานที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) - ปรับ (ร่าง) คำแนะนำการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าฯ ตามข้อแนะนำของ PHEOC กรมควบคุมโรค และผู้ทรงคุณวุฒิ และให้นำเสนอ ศบค. ชุดเล็ก ในวันอังคารนี้ 1.2 ประเด็นประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากแบบต่างๆ - ทบทวนความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นของข้อมูลประสิทธิภาพการสวมหน้ากากแต่ละประเภท แหล่งที่มาหรืออ้างอิง ต้องชัดกว่าใช้ในกรณีใดสำหรับคนและกิจกรรมใดที่เหมาะสม แต่ยังยืนยันการใช้หน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยชั้นเดียว - วิเคราะห์การสวมหน้ากาก 2 ชั้น มีข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ ข้อด้อย หรือข้อจำกัดอย่างไร โดยแนะนำให้เป็นทางเลือกให้ใช้ในกรณีลักษณะอย่างไรได้บ้าง ถ้าจะสวมหน้ากาก 2 ชั้นให้ถูกต้อง ต้องสวมหน้ากากอนามัยชั้นแรก และสวมทับด้วยหน้ากากผ้าอีกครั้ง ทั้งนี้ ให้เสนอ PHEOC กระทรวงฯ ในวันพรุ่งนี้ 1.3 เอกสารนำเสนอหรือร่างคำแนะนำต่างๆ (word/power point/pdf) ให้ปรากฏสัญลักษณ์ที่แสดงว่าเป็น draft ในเอกสาร ระบุหน่วยงานที่ทำ เวลาที่ทำ เพื่อป้องกันการนำไปใช้หรือเผยแพร่โดยไม่ถูกต้อง | กองประเมินผลกระทบ ต่อสุขภาพ | ||||
2. ความก้าวหน้ามาตรการควบคุมการระบาดในร้านอาหาร 2.1 วิเคราะห์ความเสี่ยง/ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในร้านอาหาร รวมถึงทบทวนคำแนะนำแนวทางการปฏิบัติที่ดีในต่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ไต้หวัน หรือจากองค์การอนามัยโลก/US.CDC และนำมาปรับใช้ 2.2 ทบทวนมาตรการและแนวทางปฏิบัติสำหรับร้านอาหาร โดยต้องให้ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติได้จริง 2.3 ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ กำกับ และบังคับใช้กฎหมาย ควบคู่กับการออกมาตรการและแนวทางปฏิบัติฯ | นพ.ดนัย ธีวันดา สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ | ||||
3. ความก้าวหน้าในการจัดทำคำขอสนับสนุนงบประมาณเงินกู้ - รับทราบคำขอสนับสนุนงบประมาณเงินกู้โครงการยกระดับหน่วยบริการกรมอนามัยรองรับการระบาดของโรค COVID-19 งบประมาณ 224.8475 ล้านบาท ในประเด็นของ Robot ต้องพิจารณา จำนวน ราคาที่เหมาะสมการกำหนดคุณลักษณะที่ตรงกับประโยชน์ที่ใช้ในการดำเนินงาน | กองแผนงานและทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง | ||||
4. การใช้ Application Line ในการแจ้งเตือน - ให้จัดทำบันทึกและแจ้งเวียนทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ OC เพื่อรับทราบแนวทางการรับทราบข้อสั่งการผ่าน Application Line | กองแผนงานและทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง | ||||
5. ประเด็นอื่นๆ 5.1 ขอให้ผู้บริหารทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ OC กรมอนามัย Stand By ในช่วง 7.30-9.00 น. ของทุกวัน โดยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ หมั่นตรวจสอบ Application Line เนื่องจากอาจมีข้อสั่งการจาก PHEOC เพื่อรับทราบคำสั่งฯ และรับปฏิบัติต่อไป 5.2 ประเมินความเครียดของเจ้าหน้าที่กรมอนามัยเนื่องจากการเร่งรัดการปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด -19 โดยแบ่งเจ้าหน้าที่เป็น 3 กลุ่มคือ 1)กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยงข้องกับ OC กรมอนามัย 2)กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือที่เกี่ยวข้องกับการบริการในกลุ่มเสี่ยง/ผู้ติดเชื้อ 3)กลุ่มผู้ปฏิบัติงานภารกิจปกติ | ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง
นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ กองการเจ้าหน้าที่ |
|
| รับทราบ
| |
1. ให้กรมอนามัยทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ดำเนินการเรื่องการฉีดวัคซีนของบุคลากรในหน่วยงาน(ตามความสมัครใจ) โดยส่วนภูมิภาคให้ประสานสสจ. ทั้งนี้ ให้พิจารณาเรื่องความเสี่ยงจากการปฏิบัติงานและผลกระทบจากการติดเชื้อในที่ทำงานร่วมด้วย | รองฯ อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ | รับทราบ ดำเนินการตามข้อสั่งการ | |||
2. รายงานการเฝ้าระวังความวิตกกังวลของบุคลากร กรมอนามัย 2.1 จากผลสำรวจความวิตกกังวลของบุคลากรกรมอนามัย จึงให้ทุกหน่วยงานรับทราบ และสื่อสารให้บุคลากรในหน่วยงานใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังทั้งในที่ทำงานและนอกที่ทำงาน | รับทราบ ดำเนินการตามข้อสั่งการ | ||||
3.1 กรณีมีกลุ่มเปราะบาง เช่น หญิงตั้งครรภ์ เด็ก ผู้สูงอายุติดเตียง | สำนักส่งเสริมสุขภาพ | รับทราบ | |||
4. แนวปฏิบัติการใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ให้ปรับปรุงเนื้อหา | รองฯ ดนัย ธีวันดา | ||||
5. การยกระดับประสิทธิภาพการบริหารงาน EOC กรมอนามัย | กองแผนงาน | รับทราบ ดำเนินการตามข้อสั่งการ | |||
6. ให้ทุกคลัสเตอร์ ใช้ภาคีเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ ที่มีอยู่ ทั้งภาคสาธารณสุขและนอกภาคสาธารณสุข เป็นกลไกในการทำงานร่วมกัน ผ่านการหารือ/ประชุมเพื่อให้เกิดข้อสรุปและมาตรการที่รอบด้าน ทุกมิติ และเป็นการแสดงถึงการเป็นผู้นำในงานนั้นๆ | ทุกคลัสเตอร์ | รับทราบ |